ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ขอนิสัย

๘ ธ.ค. ๒๕๕๕

 

ขอนิสัย
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ข้อ ๑๒๑๑. เนาะ

ถาม : ๑๒๑๑. เรื่อง “สงสัยในวินัย”

กระผมมีความสงสัยเรื่องวินัย ถ้าโยมโดนจีวรที่พับไว้ ต้องให้โยมนำประเคนไหมครับ เพราะเห็นพระองค์อื่นบอกว่าต้องประเคน

ตอบ : สงสัยเรื่องวินัย ถ้าเรื่องวินัยนะ เวลาพระบวชใหม่ ถ้าพระบวชใหม่ เวลาหลวงปู่มั่นนะเวลาท่านสอนพระท่านให้พระเป็นปะขาวก่อน พอเป็นปะขาวก่อนต้องฝึก ต้องหัด ต้องอุปัฏฐากพระ พออุปัฏฐากพระมันจะเข้าใจว่าอะไรถูก อะไรผิด แล้วอุปัฏฐากพระจนเย็บผ้าได้ ตัดผ้าได้ ตัดผ้าได้ ย้อมผ้าได้ท่านถึงจะให้บวช ถึงเวลาให้บวชถ้าตั้งใจบวช แต่ถ้าบวชเป็นประเพณีท่านก็อนุโลมอยู่เหมือนกันว่าให้บวช

ทีนี้พอให้บวชมาแล้ว ถ้ามีการศึกษา การศึกษานะ การศึกษาของเรานี่เราศึกษาจบแล้วเราถึงมาทำงาน ทำงานเสร็จแล้วเราถึงลางานมาบวช ทีนี้เราก็ว่าเรามีการศึกษาแล้ว แต่มันเป็นเรื่องการศึกษาทางโลก ถ้าเรื่องการศึกษาทางโลกแล้ว พอเข้าไปบวชแล้ว เห็นไหม พระบวชใหม่ สิ่งที่ทนได้ยากคือทนคำสอน พระบวชใหม่ทนคำสอนไม่ได้ เพราะอะไร? เพราะพระบวชใหม่ก็เข้าใจอยู่มีการศึกษาทางโลก พอศึกษาทางโลกด้วยคิดแบบโลกไง ถ้าคิดแบบโลก พอบวชเข้าไปแล้ว ธรรมวินัยเขามีประเพณีของเขา

ถ้ามีประเพณีของเขานะ อย่างเช่นเรื่องผ้า ผ้านี่ถ้าคนอื่นมาโดนต้องประเคนไหม? ไม่ต้องหรอก ทำไมต้องประเคน เวลาพระบวชใหม่ บวชเสร็จแล้วบริขารเขาต้องทำพินทุ อธิษฐานเป็นของบุคคล พินทุ อธิษฐานเป็นของบุคคลนะ ทำให้เสียสี แล้วอธิษฐานเป็นของบุคคล นี้เป็นของบุคคลนั้นน่ะ เป็นของบุคคลแล้วมันก็ใช้ไปจนกว่า ทีนี้เรื่องผ้ามันจะมีปัญหาอย่างเดียว ปัญหาที่ว่าเวลามันขาดครองไง คำว่าขาดครองหมายความว่าอรุณขึ้น แล้วผ้านี่ไม่อยู่ใกล้ตัวเรา ถ้ามันขาดครองไปแล้วเราต้องเสียสละ

นี่ไงถ้าคำว่าเสียสละไปแล้ว เวลาเสียสละไปแล้ว เสียสละผ้า แล้วถึงจะปลงอาบัติ ถ้าไม่เสียสละผ้าปลงอาบัติไม่ตก เสียสละผ้าไปก่อน ผ้านี่เสียสละไปเลย คือว่าเสียสละ พอเสียสละไปแล้ว เสียสละให้พระองค์ใดองค์หนึ่ง พระองค์ใดองค์หนึ่งรับไว้แล้ว พระองค์นั้นต้องปลงอาบัติ ปลงอาบัติเสร็จแล้วพระองค์นั้นจะคืนผ้านั้นให้ พอคืนผ้านั้นให้ต้องทำพินทุ อธิษฐานใหม่ คือเริ่มต้นใหม่

ฉะนั้น ในสมัยพุทธกาล เวลาเขาเสียสละผ้าองค์ใดองค์หนึ่ง พระองค์นั้นไม่ยอมคืน เขาเสียสละแล้วก็เอาไปเลย เอาไปเลยก็ไปฟ้องพระพุทธเจ้าอีก เรื่องการเสียสละผ้า เรื่องวินัยแต่ละข้อนี่นะ เพราะว่าพระพุทธเจ้าบัญญัติวินัยไปแล้ว นี่บังคับใช้กับสงฆ์ทั้งหมด สงฆ์ทั้งหมดบางคนเห็นแก่ตัว บางคนเขาเรียกว่าไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เอื้อเฟื้อในธรรมวินัย ไม่เข้าใจในธรรมวินัย แล้วก็ตีความไปของตัว พระพุทธเจ้าก็บัญญัติแล้วบัญญัติเล่า

ฉะนั้น ผ้านี้ต้องประเคนไหม? ไม่ต้องประเคน ถ้าพูดถึงเราบวชแล้ว เราพินทุ อธิษฐานเป็นของเราแล้วไม่ต้องประเคน เพราะของไม่ได้ฉัน ของจะประเคนของต้องฉัน นี่ของถ้าจะล่วงลำคอเข้าไป ล่วงทวารปากเข้าไปต้องประเคน ถ้าไม่ประเคน ของๆ เขา เราไปฉันของเขาโดยไม่ประเคนเป็นอาบัติปาจิตตีย์ทุกคำกลืน เว้นไว้แต่น้ำกับไม้สีฟันที่ไม่ต้องประเคน นอกนั้นต้องประเคนหมด แต่ผ้าเราไม่ได้ฉัน ผ้านั้นไม่ได้กิน ไม่มีใครกินผ้า

ฉะนั้น ไม่มีใครกินผ้าไม่ต้องประเคน ผ้านั้นไม่ต้องประเคน ทีนี้เวลาพระองค์อื่นไปโดน ไปโดนแล้วเขาบอกว่าต้องประเคน ไม่มี ไม่ผิดธรรมวินัย ไม่มี แต่ แต่มันมีนะมันมีเรื่องความเคารพ ความเคารพ ความอ่อนน้อม การลงใจ นี่สมัยหลวงปู่มั่นนะ เวลาหลวงปู่มั่น หลวงตาท่านพูดอยู่ว่าเวลาท่านอุปัฏฐาก เราจะเข้าไปในกุฏิหลวงปู่มั่น เราจะเข้าไปทางเท้าของท่าน ท่านนอนอยู่ที่ไหน พระเข้าไปจะไม่เดินไปทางศีรษะของท่าน แล้วไปเก็บกลด เก็บกลดแล้วพับที่นอน นี่การเคารพบูชา

ทีนี้การเคารพบูชา เพราะ เพราะหลวงปู่เจี๊ยะเป็นคนอุปัฏฐากผ้าของหลวงปู่มั่น หลวงตาท่านบอกอยู่ ท่านบอกว่าเราเห็นหลวงปู่เจี๊ยะท่านเป็นเจ๊ก ท่านเป็นเจ๊ก นี่เสียงเอะอะโวยวาย เสียงเอ็ดตะโร เสียงดังทำนองนั้นแหละ แต่เวลาหลวงตาท่านบอกว่าใครอยู่ใกล้หลวงปู่มั่น ถ้าไม่มีสติ ไม่มีปัญญา อยู่ใกล้หลวงปู่มั่นไม่ได้หรอก แล้วหลวงปู่เจี๊ยะท่านเป็นผู้อุปัฏฐากผ้าของหลวงปู่มั่น ท่านอุปัฏฐากหลวงปู่มั่นมาหลายปี

ฉะนั้น เวลาหลวงปู่เจี๊ยะท่านอุปัฏฐากผ้าหลวงปู่มั่น ท่านจะเก็บ ท่านจะพับ ท่านจะทำของท่านเรียบร้อยมาก แล้วใครจะไปโดนผ้าหลวงปู่มั่นไม่ได้ ถ้าใครไปใกล้ผ้าหลวงปู่มั่น หลวงปู่เจี๊ยะบอก แน่ะๆๆ ท่านจะไม่ยอมเลยล่ะหลวงปู่เจี๊ยะนี่ เพราะอะไร? เพราะท่านเคารพบูชาหลวงปู่มั่น การเคารพบูชานั้นเป็นเรื่องหนึ่ง แต่การบอกว่าผิดวินัย ไม่ผิดวินัยนั้นมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ฉะนั้น ถ้าเราเป็นผู้บวชใหม่ใช่ไหม? เราก็บอกว่ามันไม่ผิดวินัย มันจะเป็นไรไป มันจะเป็นไรไปมันไม่มีผู้อาวุโส ไม่มีภันเต ไม่มีผู้สูง ผู้ต่ำ ไม่มีครูบาอาจารย์ ไม่มีเรา ไม่มีพ่อ มีแม่ มีลูก มีหลาน มันมีพ่อ มีแม่ มีลูก มีหลาน มันเคารพบูชากันด้วยคุณธรรมของท่าน ถ้าการเคารพบูชากัน หลวงปู่เจี๊ยะท่านจะไม่ให้ใครแตะผ้าหลวงปู่มั่นเลย ถ้าท่านอุปัฏฐากอยู่ เพราะท่านรักษาผ้าหลวงปู่มั่น แล้วพอหลวงปู่เจี๊ยะท่านถ่ายให้หลวงตา หลวงตาก็เป็นผู้ดูแลผ้าหลวงปู่มั่น

หลวงตาท่านบอกเองว่าท่านเป็นผู้อุปัฏฐากผ้าหลวงปู่มั่น ผ้าผืนไหน ผ้าชิ้นไหนท่านเป็นคนเก็บ คนพับ เป็นคนเอาไปให้ แล้วเวลาหลวงปู่มั่นท่านเอาผ้าอาบของท่าน เอาผ้าห่มของท่าน ของหลวงปู่มั่นท่านเอาผ้าห่มของท่านไปบังสุกุลให้กับหลวงตาที่กุฏิหลวงตา หลวงตาท่านบอกว่าก็ผ้าผืนนี้ผมพับอยู่ทุกวัน ก็ผ้าผืนนี้ผมเป็นคนเก็บ คนรักษา คนพับอยู่ทุกวัน ทำไมผมจะจำไม่ได้ แล้วหลวงปู่มั่นท่านเอาผ้าที่ท่านใช้แล้วไปบังสุกุลไว้ที่นอนของหลวงตา ให้หลวงตาได้ใช้ห่มผ้าห่ม เพราะหลวงตาท่านใช้ผ้า ๓ ผืน ท่านไม่ใช้ผ้าห่มไง

นี่หลวงปู่มั่นท่านเอาผ้าห่มของท่านไปบังสุกุลให้ ไปวางไว้ที่นอนของหลวงตา ให้หลวงตาได้ห่มผ้าห่มนั้น หลวงตาท่านบอกว่าถ้าเป็นผ้าผืนใหม่ ท่านเอาผ้าผืนใหม่มาท่านก็กลัวเราจะไม่ใช้ ทีนี้พอเป็นผ้าของหลวงปู่มั่นเราก็ต้องสนองคุณ คือท่านยอมใช้ผ้าห่มผืนนั้นของหลวงปู่มั่น นี่ที่เขาเคารพบูชากัน มันไม่เกี่ยวกับว่ามันต้องประเคน มันจะผิดวินัยหรือไม่ผิดวินัย มันไม่ใช่ ฉะนั้น ถ้าเราศึกษามาเราก็ศึกษาทางวิชาการ เราก็ต้องบอกว่าที่มาที่ไปสิ มันจะอาบัติอะไร มันจะผิดอะไรมันก็ต้องว่ามาสิ

ฉะนั้น คนที่เขาทำให้ เขาทำด้วยความเคารพบูชาอาจารย์เขาหรือเปล่า? ถ้าเขาเคารพบูชาอาจารย์ของเขา เขาไม่ให้ใครแตะหรอก แล้วไม่ให้ใครเข้าไปใกล้ด้วย เพราะอะไร? เพราะเขาเคารพบูชาของเขา เขารักษายิ่งกว่าชีวิตนะ เวลาคนเคารพบูชากัน ชีวิตนี้เขาเสียสละให้ได้ทั้งนั้นแหละ ฉะนั้น กรณีอย่างนี้มันเป็นอีกกรณีหนึ่ง

ฉะนั้น ถามว่า

ถาม : สงสัยเรื่องวินัย ผ้านี่ต้องมีการประเคนไหม? ต้องอะไรไหม?

ตอบ : ไม่มีหรอก มันไม่มี เพราะวินัยไม่ได้ว่าอย่างนั้น เพราะการรักษาผ้าต้องบุคคลคนนั้นเป็นเจ้าของผ้า เป็นผู้รักษาผ้า ถ้าเป็นผ้าของเรา ผ้าครองของเรา ผ้า ๓ ผืนเราก็ต้องเป็นคนรักษาเอง ผ้าของพระองค์ไหนก็ต้องรักษาผ้าของพระองค์นั้นเอง แล้วโยมเขามีผ้าหรือเปล่า? โยมเขามีแต่เสื้อผ้า เขาไม่มีผ้าจีวรหรอก โยมเขามีแต่ชุดเสื้อผ้าของเขา เขาก็รักษาเสื้อผ้าของเขา นี่มันอยู่ที่การรักษาไง

ฉะนั้น อย่างที่ว่านี่เพราะว่าพระเขาถามมาว่าสงสัย ทีนี้สงสัย เวลาผู้นำเขาว่าขอนิสัยๆ ถ้ามาขอนิสัยครูบาอาจารย์ ถึงจะได้นิสัยอย่างนี้มา นิสัยครูบาอาจารย์ท่านจะบอก ท่านจะฝึก ท่านจะสอน ท่านจะเอาชีวิตท่านเป็นหลักเลย ท่านจะดำรงชีวิตของท่านเหมือนคำสอน แล้วเราก็ดูแบบอย่างอย่างนั้นเลย เห็นไหม นี่พระกรรมฐานๆ เขาอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ เขาศึกษาวินัยโดยการปฏิบัติเลย แต่ถ้าเราศึกษาเราไปศึกษาในพระไตรปิฎก ศึกษาในนวโกวาท ศึกษามาแล้วก็งง ทำอย่างไร ทำอย่างไร? แต่ของเราเวลาอยู่กับครูบาอาจารย์ ถ้าผิด ผิดก็หงายท้อง แล้วมันจำแม่น ถ้าผิดนี่เปรี้ยงหงายท้องเลย พอหงายท้อง อู้ฮู จำจนตาย อ๋อ อย่างนี้ผิด อย่างนี้ได้หรือไม่ได้

ฉะนั้น

ถาม : ผ้าต้องประเคนไหม?

ตอบ : ไม่ต้อง แต่ทำไมพระเขาต้องให้โยมประเคนล่ะ? อันนั้นโยมประเคน พระถ้าทำอะไรที่มันเกินเลยไปมันก็ไม่ถูกต้องทั้งนั้นแหละ ฉะนั้น เรามาถือเคร่ง ถือเกร็งกันอย่างนั้นมันไม่มีหรอก ผ้าไม่ต้องประเคน เฉพาะผ้าของพวกเรานะ ผ้าของเรา ผ้าของพระไม่ต้องประเคนหรอก แต่ถ้าเป็นผ้าของครูบาอาจารย์ที่เขาเคารพ เขารัก เขาเทิดทูน เขารักษาของเขา หัวใจของเขา นี่เราต้องมองถึงหัวใจของเขา ธรรมและวินัย วินัยคือข้อบังคับ แต่ธรรมนี่มันเกิดจากความผูกพัน เกิดจากความรัก ความผูกพันระหว่างอาจารย์กับศิษย์ ถ้าอาจารย์กับศิษย์ ศิษย์ที่ไหนเขาก็เคารพครูบาอาจารย์ของเขา เขารักษายิ่งกว่าชีวิตของเขานะ

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าต้องประเคนหรือไม่ต้องประเคนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง มันไม่ต้องประเคน ไม่ต้องประเคนเพราะมันไม่ขาดประเคน มันไม่ต้องประเคน ไม่มีองค์ของการประเคน แต่การถือ การเคารพบูชานั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แล้วถ้ามีมันก็มีเรื่องการขาดครองเท่านั้นแหละ

๑. เรื่องการขาดครอง

๒. ผ้าขาด ผ้าขาด ถ้าล่วงราตรีเราไม่เห็นเราต้องปะ ต้องชุน ต้องปะ ต้องชุนมันก็ขาดไปแล้ว

ผ้านะถ้าแม้แต่เมล็ดถั่วเขียว หรือเลือด หลังเลือดถ้ามันทะลุ นี่แสดงว่าผ้าขาดครองแล้ว ถ้าเราไม่เห็นนะ ถ้าเราเห็นวันนั้นแล้วเราไม่ได้เย็บ อรุณขึ้นผ้านั้นถือว่าขาดครอง ขาดครองต้องเสียสละ ถ้าเสียสละแล้ว นี่เสียสละให้พระพระต้องคืนให้ เพราะเขาไม่ใช่เสียสละให้ เขาเสียสละเป็นการปรับโทษตัวเอง ปรับโทษตัวเองว่าตัวเองสะเพร่า ทำให้ผ้าครองขาดจากครอง นี่เสียสละไป มันเป็นเพราะวัตถุนั้นเป็นต้นอาบัติ เขาเรียกว่าวัตถุนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ตัวพระเองเป็นปาจิตตีย์

นิสสัคคิยปาจิตตีย์เกิดจากตรงนี้ ต้องเสียสละของสิ่งนั้นถึงจะปลงอาบัติตก ถ้าปลงอาบัติเสร็จแล้วพระนั้นจะคืนผ้าให้ เมื่อก่อนถ้าเราเถรตรงนะ ก็เขาให้เรามาแล้วก็เป็นสิทธิของเรา เราก็เอาไปเลย มีในพระไตรปิฎกเราเคยดูอยู่ นี่มีพระบางองค์ พอเขาเสียสละผ้าไม่คืนให้เจ้าของ ไปเลย พระองค์นั้นไปฟ้องพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็บังคับ กรณีนี้มันมีอยู่ในพระไตรปิฎก

ฉะนั้น เวลาเราบวชไป ๓ เดือน บวชไป ๑๐ วัน ๒๐ วัน กรณีอย่างนี้ยังไม่เกิดกับเราหรอก เพราะผ้าเรายังไม่เก่า ยังไม่ชำรุด แต่ถ้าพระที่บวชมาตลอดชีวิต ๓ ปีมันจะผุหมด ผ้าจีวรใช้ ๒ ปีกว่า ๓ ปีไม่เกินนั้น ถ้าเกินนั้นผ้าจะผุแล้ว ผุแล้วผ้าฝ้ายมันปะไม่อยู่หรอก มันจะขาดหมด ฉะนั้น เวลาขาดหมดเขาเปลี่ยนผ้า ถ่ายผ้ามันจะเกิดกรณีอย่างนี้ขึ้นมา

ฉะนั้น เราไปบวชใหม่ เราไปดูแล้วเราก็สงสัย สงสัยแล้วก็ไม่ถามอาจารย์ที่บวชเนาะ สงสัยแล้วทำไมมาถามในเว็บไซต์เนาะ สงสัยไม่ถามคน มาถามเหล็ก มาถามเครื่องไง สงสัยต้องถามคนสิ มาถามเหล็กได้อย่างไร? คอมพิวเตอร์มันก็เป็นเหล็กใช่ไหม? สงสัยก็ถามคน ถามอาจารย์ของตัวแล้วขอนิสัยไง ถ้าได้นิสัยแล้วก็จบ

กรณีนี้เรื่องผ้า เรื่องอะไร นี่วินัยนะอยู่ที่คนเอื้อเฟื้อและไม่เอื้อเฟื้อ ถ้าไม่เอื้อเฟื้อก็เห็นเป็นของเล็กน้อย ไม่เป็นไรๆ แล้วเวลาปฏิบัติก็ปฏิบัติไม่ได้ผล ทำไมเราปฏิบัติไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ คนเราจิตใจไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จิตใจไม่เปิดกว้าง ทำอะไรก็ไม่ประสบความสำเร็จหรอก แต่จิตใจคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นะ อะไรผิด อะไรถูกจิตใจมันอ่อนน้อม จิตใจควรแก่การงาน การปฏิบัติสิ่งใดๆ มันก็จะเป็นประโยชน์กับเรา มันจะเป็นคุณงามความดีไง

ฉะนั้น อันนี้แบบว่าสงสัยเรื่องวินัย อันนี้สงสัยเรื่องตัวเอง

ข้อ ๑๒๑๒. เนาะ

ถาม : ๑๒๑๒. เรื่อง “รู้สึกอึดอัดในใจ”

สวัสดีค่ะ หนูรู้สึกอึดอัดใจเหลือเกิน จิตใจไม่เป็นสุขเลย เพราะว่าหนูไม่ชอบเพื่อนในภาคที่เรียนด้วยกัน คือเขาทำตัวไม่ดี (ในสายตาหนู) แล้วหนูก็รู้สึกไม่ถูกชะตากับเขา ถามว่าเขาทำอะไรให้หนูเดือดร้อนหรือเปล่า? เขาไม่ได้ทำอะไรให้ แต่เราไม่ชอบเขา รู้สึกว่าเขาจะทำอะไรให้รู้สึกขัดหู ขัดตา เขาทำตัวไม่ดี มันไม่ใช่เรื่องของเรา อันนี้หนูทราบค่ะ แต่เวลาเห็นเขาทำแบบนั้นแล้วหนูยิ่งไม่ชอบๆๆ มากขึ้นไปเรื่อยๆ ค่ะ หนูเลยอึดอัดที่ต้องเป็นแบบนี้ อยากทำใจให้สงบ ไม่ไปดิ้นเร้าๆ เรื่องของเขา แต่ว่าหนูพยายามอย่างไรมันก็อดไม่ได้ค่ะ หลวงพ่อ หนูอยากให้หลวงพ่อช่วยชี้แนะ หนูจะได้ปรับปรุงจิตใจที่คิดไม่ดีแบบนี้หน่อย ขอบคุณหลวงพ่อมากค่ะ

ตอบ : ความจริงทุกคนรู้สึกตัวหมดเลย หนูก็รู้ว่ามันไม่ดี หนูอยากจะปรับปรุงจิตใจของหนู แต่หนูทำไม่ได้ค่ะ (หัวเราะ) มันก็อึดอัดแต่ตัวเองค่ะ กรณีอย่างนี้มันกรณีเรื่องของเวร ของกรรม เรื่องของเวร เรื่องของกรรมนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมมาเป็นพระโพธิสัตว์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมมาเป็นพระโพธิสัตว์ จะมาตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เทวทัตก็มาเกิดเป็นลูกพี่ลูกน้อง เทวทัตเองก็มาเกิดเป็นลูกพี่ลูกน้องขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกบวชหมดแล้ว เห็นไหม นี่ออกบวช ในตระกูลทุกตระกูลต้องมีลูกหลานออกไปบวชกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่พระเทวทัตก็ออกมาด้วยองค์หนึ่ง ถ้าออกบวชมาด้วยองค์หนึ่ง พระนันทะ พระต่างๆ ออกบวชราชกุมาร ๖ องค์ ๕ ทั้งอุบาลีออกบวชไง นี่มันก็ออกบวช

เราจะบอกว่าเรื่องเวรเรื่องกรรมมันมีของมัน เรื่องเวรเรื่องกรรม ถ้าเรื่องเวรเรื่องกรรมนะ แต่เวลาเรื่องเวรเรื่องกรรม พอเวลาเทวทัตมาบวชแล้ว นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดูแลทั้งนั้นแหละ แล้วเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดูแล นี่ความเห็นของเขาไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร? เป็นพระอรหันต์ เป็นศาสดา เป็นครูเอกของโลก เป็นผู้สั่งสอนทั้งหมด แต่เทวทัตอึดอัดขัดข้องไปหมดเลย เทวทัตว่าพระพุทธเจ้าสอนผิด พระพุทธเจ้าสอนไม่ดี เทวทัตจะปกครองสงฆ์ เทวทัตจะขอพระพุทธเจ้าเลยว่าจะปกครองสงฆ์

แล้วถ้าเทวทัตปกครองสงฆ์ ด้วยความเห็นผิดของเทวทัตนะ นี่เพราะเทวทัตที่ทำอยู่นั้นเพราะอะไร? เพราะมารมันครอบงำใจของพระเทวทัตหมดเลย พระเทวทัตตอนมาบวชใหม่ๆ ทำฌานโลกีย์ได้ เหาะเหินเดินฟ้าได้ แปลงร่างเป็นงูไปพันศีรษะอชาตศัตรูได้ นี่เขาก็ทำของเขาได้ ปกติเขาก็ว่าเขาเป็นคนดีนั่นแหละ แต่ด้วยเวรด้วยกรรม เห็นไหม ด้วยเวรด้วยกรรม เพราะว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชาติที่ผ่านมาเป็นพระเวสสันดร เทวทัตถ้าย้อนไปก็เป็นชูชก เป็นอะไร นี่มันสร้างเวรสร้างกรรมกันมาทั้งนั้นแหละ

ถ้าสร้างเวรสร้างกรรมกันมา แต่ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเ พระราชกุมารออกบวชนี้เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา เป็นพระอรหันต์แล้ว นี่รู้ทั้งนั้นแหละ แล้วก็บอกว่าถ้ารู้อย่างนั้นทำไมให้เทวทัตบวช ทำไมไม่กันเทวทัตไว้ตั้งแต่แรกเลย ไม่ให้บวชๆ ทำไมปล่อยให้เทวทัตบวชเข้ามา ให้เทวทัตมาสร้างเวรสร้างกรรม นี่เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ทุกคนมีเวรมีกรรมมาทั้งนั้นแหละ ฉะนั้น สิ่งที่มันมีเวร นี่กรรม เห็นไหม กรรมเก่า กรรมใหม่ เขามีกรรมของเขามาอย่างนั้น เขาคิดของเขาอย่างนั้น

ฉะนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประคองมาทั้งนั้นแหละ ประคองสิ่งนี้มา แต่เทวทัตก็ทำของเขาด้วยเต็มไม้เต็มมือนะ เวลาเทวทัตก็ทำกรรมของเขาเต็มไม้เต็มมือ แต่เขาได้คิด เขาได้คิดเขาจะมาขอขมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม แล้วก็ส่งข่าว คนมาบอกว่าจะมาขอขมา แล้วก็บอกพระมาตลอดว่ามาถึงไหนแล้ว พระก็รีบมาบอกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเรื่องมันเกิดขึ้นมามันกระทบกันรุนแรงไปมากเลย แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกกับพระบอกว่า

“เทวทัตมาหาเราไม่ได้หรอก เทวทัตไม่ได้พบเราอีกแล้ว” ไม่มีใครเชื่อ

“มาหาได้อย่างไร? มาถึงปากประตูอยู่แล้ว ก็จะเข้าวัดอยู่แล้ว เทวทัตเดินมาอยู่เรื่อยๆ”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “เทวทัตจะไม่เห็นเราหรอก เทวทัตจะไม่ได้พบเราหรอก”

คนก็ยังไม่ได้คิดนะ พอมาถึงปากประตูเทวทัตลงก่อน จะลงมาชำระล้างร่างกาย จะทำความสะอาดก็จะมาเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลงจากแคร่ไปธรณีก็สูบไปเลย สูบไปเลย เอาคติธรรมอันนี้มาเตือนใจเรา เห็นไหม เอาคติธรรมอันนี้มาเตือนใจเรา เอามาเตือนใจเราซะ เพราะหนูก็บอกอยู่แล้วว่า

“เขาไม่ดีในสายตาหนู แต่เขาก็ไม่ทำอะไรเสียหายหรอก แต่หนูไม่ชอบๆๆ”

เราไปมองเขาผิดเอง เขาจะดี เขาจะชั่วมันก็เรื่องของเขา ถ้าคนเขาดี กรรมเขาดีเขาจะคิดสิ่งที่ดีๆ ของเขา เขาทำของเขา ชีวิตจิตใจของเขา ก็เวรกรรมของเขา เรานี่เป็นลูกศิษย์กรรมฐานเสียเอง แล้วเราก็บอกเราเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเสียเอง เราก็รู้อยู่ว่าเราไม่ชอบเขา เขาทำไม่ดีในสายตาของเรา แต่เขาก็ไม่ทำ นี่เพราะคำถามเขาถามมาอย่างนี้หมด เขาก็ไม่ทำอะไรเสียหาย แต่เขาทำไม่ดีในสายตาของเรา ถ้าในสายตาของเราก็ความรู้สึกของเราไง

ถ้าความรู้สึกของเรา แล้วความรู้สึกของเรา เวลาไม่พอใจ ในสายตาของเราเราไม่พอใจ แล้วเราก็มาทุกข์ร้อนของเราเอง แล้วจะแก้อย่างไร? นี่ให้หลวงพ่อชี้นำ ชี้นำก็ดูสิ ดูเทวทัต เทวทัตจะขอปกครองสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เทวทัตจะขอให้พระทำตามที่เทวทัตต้องการ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เคยให้เทวทัตเลย

“เทวทัต แม้แต่พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา เรายังไม่ให้ปกครองสงฆ์ แล้วเธอมีดีอะไรเท่ากับพระสารีบุตร เท่าพระโมคคัลลานะ”

อันนี้ก็เหมือนกัน เอาคติธรรมอย่างนี้มาสอนตัวเอง อันนี้ก็เหมือนกัน เรามีดีแค่ไหน เราถึงบอกว่าเราไม่ชอบเขา แล้วเรามีดีแค่ไหน เอาคุณงามความดีอย่างนี้ เอาความกระทบกระเทือนอย่างนี้เข้ามาชำระล้างในใจของเรา ถ้าเข้ามาชำระล้างในใจของเราได้ เห็นไหม ชำระล้างใจของเรา รักษาตัวเราเอง รักษาใจของเรา เรื่องของเขาเป็นเรื่องของเขา เขาจะดี เขาจะชั่ว กรรมเก่า สิ่งที่ทำกันมาแล้วถึงได้มาเกิดร่วมกัน เราปฏิเสธไม่ได้

กรณีอย่างนี้มันเป็นกรณีของวัยรุ่นไง อยู่โรงเรียนนี้ไม่ชอบหน้าเพื่อนก็ย้ายโรงเรียน อยู่โรงเรียนนี้ไม่ชอบหน้าเพื่อนก็ย้ายโรงเรียน แล้วย้ายโรงเรียนพ่อแม่เดือดร้อนตายเลย ไม่มีโรงเรียนไหนที่เอ็งจะชอบใจ รักคนไปหมดมันไม่มี สงสัยต้องไปเรียนดาวอังคาร ต้องส่งไปเรียนดาวอังคารมันจะได้ไม่เจอใครเลยไง แต่ถ้ามันเจอใคร นี่มันเป็นปัญหาสังคม กรรมเก่า กรรมใหม่นะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าคนที่เกิดมานี่เราไม่เคยเป็นญาติ เป็นพี่ เป็นน้องกันมา เราไม่เคยสร้างเวรสร้างกรรมกันมาในโลกนี้ไม่มีเลย เพราะจิตใจนี้เวียนตายเวียนเกิดมาในวัฏฏะ ไม่มีที่จบ ไม่มีที่สิ้น

ฉะนั้น สิ่งที่มันเวียนตายเวียนเกิดกันมามันเป็นอดีตใช่ไหม? มันเป็นกรรมเก่า แล้วกรรมเก่าเราจะไปแก้ไขตรงไหนล่ะ? แต่ถ้าเป็นกรรมใหม่ กรรมใหม่ก็กรรมปัจจุบันนี้ ถ้าเราไม่ชอบหน้าเขา นี่เขาบอกให้เราช่วยชี้แนะ เราช่วยชี้แนะ เรายกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระเทวทัตมาเป็นตัวอย่างเลย แล้วเราเอาตัวอย่างนี้สอนเรา แล้วถ้าสอนเราได้ อันนี้มันจะเป็นประโยชน์กับเรา

ฉะนั้น อันนั้นเป็นปัญหานั้น นี่ปัญหานี้นะ ปัญหาอันแรกเรื่องอาบน้ำ จบ ไม่ต้องพูดถึงมัน ทีนี้เรื่องอาบน้ำจบแล้วมันก็เรื่องภาวนา ถ้าเรื่องภาวนานะ สิ่งที่เคยภาวนาได้ นี่เวลาจิตที่เมื่อก่อนมันภาวนาได้ วิธีแก้ไขใช่ไหม สิ่งที่ภาวนาได้มันมีแสงมีสิ่งใดก็แล้วแต่ที่มันเกิดต่อเนื่องนะ

ถาม : ๑. เวลาภาวนา จิตคิดแต่เรื่องนี้ แก้ไขอย่างไรก็ไม่หาย อยากให้หลวงพ่อช่วยบอกวิธีแก้ไขด้วย

ตอบ : วิธีแก้ไขแล้วก็กลับมาพุทโธ กลับมาพุทโธให้มันสงบเข้ามา สิ่งที่เวลาเราทำความผิด อริยวินัยเราทำความผิดพลาดสิ่งใดไว้ แล้วเราได้ขอโทษขอโพยมันก็จบแล้วล่ะ ไม่อย่างนั้นเวลาพระเป็นอาบัติขึ้นมา พระปลงอาบัติ ปลงอาบัติไปแล้ว นี่ปลงอาบัติคือเริ่มต้นใหม่ กรรมมันไม่จบหรอก กรรมก็คือกรรม แต่ปลงอาบัติแล้วมันแบบว่าขอโทษขอโพยกันแล้ว ทีนี้ว่าสาธุ สุทุ คือจะไม่ทำอย่างนั้นอีก จะไม่ทำสิ่งใดอีก แล้วก็ภาวนาต่อไป ไม่อย่างนั้นภาวนาไม่ลงหรอก

อย่างเช่นถ้าพระเป็นอาบัตินะมันวิตกกังวลแต่เรื่องนั้น ถ้าวิตกกังวลเรื่องนั้นนะเราปลงอาบัติแล้ว จบ พอจบแล้วนะ จบแล้วมันสะอาดบริสุทธิ์ไหม? จบแล้วก็คือจบ จบแล้วเวรกรรมก็คือเวรกรรม แต่เราเริ่มต้นใหม่ๆ เริ่มต้นใหม่ก็ภาวนาใหม่ มันจะไปตัดนิวรณธรรม นิวรณธรรมมันกางกั้นไม่ให้จิตลงสมาธิไง นิวรณธรรมมันกั้นทุกอย่างเลย นิวรณ์คือความวิตกกังวล ความลังเลสงสัย ความต่างๆ มันมีในใจคนทั้งนั้นแหละ

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าเราทำผิดแล้วก็คือทำผิดไป มันเป็นจังหวะ โอกาส มันเป็นสิ่งที่กระทบอันนั้นจบไปแล้ว จบไปแล้ว มันเป็นอย่างนี้ทั้งนั้นแหละ คนเรามันมีความเข้าใจผิด มันมีความเห็นผิด มีต่างๆ แล้วถ้าเราปรับให้มันถูกมันก็จบ จบแล้ว

ถาม : ๒. ข้อสองนี้ผมขอถามตอนที่ยังภาวนาได้ เวลาภาวนาตอนเกิดอาการมีแสง เหมือนคลื่นเป็นดวงวงกลมพุ่งออกมาจากหน้าผาก จากดวงใหญ่สู่ดวงเล็กต่างๆ สภาวะแบบนี้คืออะไร? และจะทำอย่างไรต่อไปเพื่อให้การภาวนานี้ก้าวหน้าขึ้น

ตอบ : ถ้าแสงอะไรมันเกิดขึ้น เราพุทโธไว้เฉยๆ คำว่าแสงอะไรเกิดขึ้นนะมันเป็นการชักนำให้เราอยากรู้ อยากเห็น ฉะนั้น แสงเกิดขึ้น นี่แสงเกิดขึ้น ถ้าจิตมันสงบแล้วบางทีมันมีแสง ถ้ามีแสงขึ้นมา คนที่มีแสงก็มีแสง ทีนี้เราภาวนาไปเรากำหนดพุทโธ พุทโธ แสงนั้นมันจะหายไป แสงนั้นจะหายไปเพราะเราภาวนาเพื่อความสงบของใจ เราไม่ได้ภาวนาเอาแสง

ถ้าภาวนาเอาแสงนะ พระอาทิตย์มันส่องมานี่แสงทั้งนั้นแหละ แล้วพระอาทิตย์มันส่องมามันได้อะไรขึ้นมา? มันไม่ได้อะไรหรอก แต่ทีนี้พอจิตเราสงบเราเห็นแสง พอเราเห็นแสงจิตมันภูมิใจไง เรารู้ เราเห็น อย่างเช่นเราได้สมบัติสิ่งใดเราก็ว่าเราได้ใช่ไหม? แล้วเวลาแสงอาทิตย์มาอย่ากางร่มสิ ไปยืนกลางแดดเลย แสงมานี่แสงของฉัน ทำไมเวลาเจอแดดวิ่งหนีหมดเลย ทำไมไม่เอาล่ะ? เพราะมันไม่ใช่ของเรา แต่เวลาจิตมันเห็นแสงทำไมมันไปชอบล่ะ? จิตมันจะเห็นแสง นี่เวลาภาวนาดีจิตมันสงบแล้วแสงมันพุ่งออกไป

เราจะบอกว่าถ้าเราเอาแสงเป็นตัวตั้งนะเดี๋ยวเราจะเสียใจ เพราะแสงนี้มันจะไม่อยู่กับเราตลอดไปหรอก แสงนี้มันมาชั่วคราว มันเป็นอนิจจัง มันเกิดขึ้นเดี๋ยวมันก็แปรปรวน ถ้ามันแปรปรวนไปแล้วนะเราไม่ทุกข์ตายหรือ? ทำไมเราเอาชีวิตนี้ไปแขวนไว้กับสิ่งนั้นล่ะ? แสงถ้ามันจะเห็นนะ ถ้าจิตมันดีมันจะเห็น แต่พอเห็นแล้วเราจะพัฒนา คือว่าเราให้จิตสงบ พอจิตแล้วแสงนั้นมันจะหายไป เพราะจิตสงบแล้วไปออกรู้แสง มันอยู่แค่นั้นแหละมันส่งออก

จิตรับรู้ การรับรู้คือการส่งออก ถ้าจิตมันไม่ส่งออกมันรับรู้ไม่ได้ จิตจะไปรับรู้อะไรมันส่งออกมารับรู้สิ่งนั้น แต่ถ้าจิตไม่สงบมันจะเห็นแสงไหม? นี่ถ้าจิตสงบมันจะเห็นแสง มันก็จะรับรู้อยู่แค่นี้ใช่ไหม? จะภาวนาจะย้ำอยู่กับที่ใช่ไหม? แต่พอมันเห็นแสง อ๋อ มันเห็นแสงมันก็ตื่นเต้น มันเป็นประสบการณ์ไง พอรู้แล้ว เห็นแสงแล้วเราจะไม่พัฒนา เราจะอยู่แค่แสงนี้

ฉะนั้น ถ้าเราปล่อยแสง ปล่อยแสงจิตจะเป็นอิสระเข้ามา นี่ถ้าเรากำหนดแล้ว ไม่ต้องไปตาม พอไปตาม เดี๋ยวดวงเล็ก ดวงใหญ่ไม่มีวันจบหรอก นี่เขาเรียกว่านิมิตมันออกรู้ ถ้าออกรู้มันก็เป็นประโยชน์ ไม่ใช่เป็นประโยชน์หรอก มันเป็นการบอกว่าจิตมันพัฒนาขึ้นมา จากปกติเราไม่เห็นอะไรเลย แล้วพอไปเห็นแสง เราเห็นแสงกับจิตสงบเราจะเอาอะไร? ถ้าจิตสงบใช่ไหมเรากำหนดพุทโธของเราไป มันสงบเข้ามา พอสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ตรงนี้ต่างหากสำคัญ

ถ้าจิตสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาใช้ในอะไร? ปัญญามันก็ใช้แยกแยะ แยกแยะในชีวิต ในความขุ่นข้องหมองใจ ในใจที่ทุกข์ๆ อยู่นี่ ใจที่พูดถึงเรื่องน้ำ เรื่องอาบน้ำ เราพิจารณาไปสิ อ้าว มันเสียหายตรงไหนล่ะ? เราทำเสียงดังไหม? ทำ แล้วหลวงพ่อพูดถูกไหม? ถูก แล้วมันผ่านไปแล้ว ผ่าน อ้าว แล้วมันมีอะไรเหลือล่ะ? มันไม่มีอะไรอยู่แล้ว มันจบไปแล้ว อ้าว เสียงดังก็เสียงดังจริงๆ อ้าว เสียงดังจริงๆ หลวงพ่อมาดู ก็มาดูจริงๆ อ้าว หลวงพ่อพูดก็หลวงพ่อพูดจริงๆ ก็พูดแล้ว พูดมันก็คือการสื่อ การสอนใช่ไหม

ดูสิเวลาหลวงปู่มั่นท่านเทศน์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ขึ้นมาก็เทศนาว่าการมา นั่นก็เพื่อสั่งสอน พอสั่งสอนแล้วก็คือจบ สั่งสอนแล้วจบ เพียงแต่ว่าผู้ที่รับการสั่งสอนนั้นจะได้พัฒนาหรือไม่พัฒนา พอสั่งสอนไปแล้วนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดถึงอริยสัจ เรามาปฏิบัติแล้วอริยสัจจะเกิดกับเราไหม? ในหัวใจเราจะเป็นจริงขึ้นมาไหม? ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมามันก็เป็นประโยชน์ของเรา ถ้ามันไม่เป็นจริงขึ้นมาเราก็ขวนขวายของเรา

สิ่งที่มันเป็นจริงก็เป็นจริง ถ้าจิตสงบแล้วเอาตัวนี้มาพิจารณา พิจารณาว่ามันผิดพลาดเพราะอะไร? มันผิดพลาดเพราะว่าหนึ่งเราชะล่าใจ ผิดพลาดเพราะว่าเสียงลม เสียงอะไรมันพัดพาสิ่งนี้ไป นี่สิ่งนี้มันผิดพลาด แล้วมันก็แก้ไข พอแก้ไขไปแล้วมันก็จบ นี่พูดถึงถ้าจิตสงบแล้วเอามาพิจารณานะ ถ้าพิจารณาแล้วมันจบไง มันไม่มีปัญหาอย่างนี้ แล้วพอมาพิจารณา ถ้ามันละเอียดเข้าไปมันพิจารณาถึงชีวิต พิจารณาถึงการเกิด

สิ่งที่เป็นปัญหาที่สุดของพวกเรานี่นะคือการเกิดและการตาย เกิดขึ้นมา เห็นไหม เกิดขึ้นมาถึงมีเรา แล้วต้องตาย แต่ถ้าพิจารณาตรงนี้แล้วนะ นี่มันตายแล้วมันจะไม่เกิด ถ้ามันจะไม่เกิดอีก ไม่เกิดอีกมันก็จะไม่มีการเกิดและการตาย มันไม่มีการตาย เพราะไม่มีการเกิดอีก ไม่มีสิ่งใดๆ เลย แต่ถ้ายังมีการเกิด แล้วจิตนี้มันต้องเกิด จิตที่มันมีปัญหาอยู่นี้เพราะมันต้องเกิด มันไม่มีที่สิ้นสุดหรอกมันต้องเกิด ในเมื่อมีเหตุ มีปัจจัยมันต้องเกิดแน่นอน ถ้านี้มันเกิดแน่นอน ตอนนี้เรามีสติปัญญาอยู่นะ เราพยายามทำของเราอยู่ ตอนนี้เกิดดี

เกิดดีคืออะไร? เกิดดีคือเรากำหนดพุทโธ พุทธานุสติเรากอดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ เรากอดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไว้ ชีวิตของเรามันก็จะไม่ไหลไปตามกระแสโลก นี่เกิดอย่างนี้เกิดดี เกิดในการกระทำ กำหนดพุทโธ นี่เกิดดับๆ ในใจ กำหนดพุทโธ พุทโธเรารั้งใจของเราไว้ สิ่งนี้มันเป็นประโยชน์กับเรา

ถ้าเป็นประโยชน์กับเรา นี่ถ้ามันเกิด เกิดอะไร? เกิดธรรม ถ้ามันประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันจะมีศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมา ถ้ามีศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมามันก็จะไปแก้ไข แก้ไขอวิชชา พอแก้ไขอวิชชา ตัณหาความทะยานอยากอยู่ในหัวใจ อนุสัยที่นอนมากับใจ ถ้ามันแก้เหตุปัจจัยนี้หมด เห็นไหม นี่เป็นธรรมธาตุๆ มันจะเกิดอีกไหม? ถ้ามันไม่เกิดอีกมันก็จบ ถ้ามันไม่เกิดอีก มันไม่เกิดมันก็ไม่มีสิ่งใดๆ เลย นี่เหตุสำคัญของเราคือการเกิดและการตาย

ทีนี้การเกิดและการตายมันผลของวัฏฏะ เวลาคนที่เขามีสติปัญญานะ สิ่งนี้มันเป็นผลของวัฏฏะ ผลของวัฏฏะมันเหมือนกับที่ว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติคือวัฏฏะ ธรรมชาติคือวัตถุธาตุ ธรรมชาติคือสภาวะ ธรรมชาติคือการหมุนเวียนไปโดยธรรมชาติ นี่ธรรมชาติ ธรรมะเหนือธรรมชาติ ถ้าเราจะทำของเราเหนือธรรมชาตินะ นี่ผลของวัฏฏะคือผลการเวียนตายเวียนเกิด ฉะนั้น เวียนตายเวียนเกิด ผลของวัฏฏะแต่ก็ยังมีบุญ บุญพาเกิดกับบาปพาเกิดนะ ถ้าบาปพาเกิด เกิดมาแล้วมันไม่เชื่อสิ่งใด เกิดมาแล้วมันก็ขวางโลกไปตลอด แต่ถ้าบุญพาเกิด เราเกิดมาแล้วเรายังมีโอกาส มีการกระทำของเรา

นี่ผลของวัฏฏะ แล้วเอาผลของวัฏฏะนั้นมาประพฤติปฏิบัติ เอาผลของวัฏฏะนั้นมาแก้ไขจิตใจของเรา นี่ถ้ามันแก้ไขจิตใจของเรา ถ้าเราภาวนาขึ้นมาได้มันมีธรรมโอสถ ธรรมโอสถ เห็นไหม นี่ธรรมโอสถ ถ้ามันเกิดปัญญาญาณขึ้นมามันจะเกิดธรรมารส รสชาติของธรรม จิตมันสงบมันเห็นแสงเราก็ได้รสชาติอันหนึ่ง รสชาติที่จิตได้สัมผัสเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก แล้วถ้าเกิดรสชาติของปัญญา เกิดรสชาติของภาวนามยปัญญา เกิดรสชาติของมรรคญาณ เกิดรสชาติๆ จนถึงที่สุด สิ้นรสสิ้นชาติ สิ้นหมดเลย ถ้าเราตั้งใจของเรา เราทำอย่างนั้นจะเป็นประโยชน์กับเรา

ฉะนั้น สิ่งที่ทำมาแล้ว สิ่งที่ปฏิบัติมาแล้วเป็นประโยชน์กับเราก็เป็นประโยชน์กับเรา สิ่งที่มันผ่านไปแล้วให้ผ่านกันไป จบสิ้นกันไปเนาะ เอวัง