เทศน์เช้า

รู้แท้-รู้เทียม

๒๑ ก.พ. ๒๕๔๒

 

รู้แท้-รู้เทียม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์เช้า วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

แก้เวทนาอย่างไร เขาบอกให้แก้เวทนาอย่างไร เพราะว่าเขาพยายามสู้กับเวทนามามากแล้ว แล้วก็แก้มาตลอด แล้วเขาก็แก้ของเขามา ความรู้ธรรมะ แต่เป็นฉลากยาไง ความรู้ธรรมะแต่เป็นความรู้เทียมไง บอกว่าเขาทำอยู่ แล้วพอดีไปเจอในประวัติหลวงปู่มั่น ว่าหลวงปู่มั่นนี่ท่อประปากับน้ำประปามาพร้อมกัน มันเป็นอันเดียวกันใช่ไหม

แต่ถ้าการพิจารณาเห็นไหม น้ำประปากับท่อประปานี่มันคนส่วนกัน ร่างกายกับจิตใจมันคนละส่วนกัน ร่างกายคือท่อประปา น้ำประปาคือใจ ใจนี่มันไปรับรู้เป็นอารมณ์เดียวกันคือเพ่ง เพ่งเข้าไปทั้งหมด เพ่งเฉยๆ รับรู้ว่าน้ำประปามาตามท่อประปานี่คือการเพ่ง การรับรู้เห็นไหม รับรู้แบบธรรมะไหม แต่ถ้าการวิปัสสนาต้องแบบว่า ท่อน้ำประปานี่มันเป็นท่อ มันไม่รับรู้อะไรหรอก น้ำประปาที่มาตามท่อนั้นมันจะเป็นประโยชน์เพราะเราเอามาใช้ดื่มกินใช่ไหม แต่ท่อประปานั้นมันเป็นประโยชน์สำหรับการเอาน้ำมา

ร่างกายนี้ไม่เป็นประโยชน์หรือ? เป็น แล้วใจล่ะ คือว่ากายกับใจมันคนละส่วนกัน เราบอกว่าพิจารณาอย่างนั้นไง การพิจารณาคือแยกส่วนว่าที่มันเจ็บอยู่ เวทนานี่เกิดเพราะอะไร กิริยาการนั่งนั้นมันเจ็บเพราะอะไร เพราะจิตไปรับรู้ใช่ไหม ถ้าเวทนาอันนั้นมันเป็นความจริง เราลุกจากพื้นที่ไปมันต้องเป็นกับเราไป เช่น เราเป็นแผลหรือเป็นฝี เวลามันปวดอยู่ เราจะอยู่กิริยาไหนมันก็ปวด แต่ไอ้ที่เวทนาที่มันเป็นอยู่เพราะเวลาเรานั่ง เราลุกไปมันก็หายไป จริงไหม มันเป็นอุปาทานในใจ มันไม่ใช่เป็นความจริง ถ้าเป็นความจริงมันต้องเป็นแผลแบบนั้น

คือว่าให้วิปัสสนาไง ให้แยกแยะไง นี่คือการวิปัสสนา ไม่ใช่เพ่งอยู่อย่างนั้น เขาก็เข้าใจว่าการเพ่งนั้นคือวิปัสสนาแล้วไง แล้วไปเจออยู่ในประวัติหลวงปู่มั่น ว่าหลวงปู่มั่นเอ็ดพระองค์หนึ่งว่าการเพ่งอยู่อย่างนั้นน่ะผิด แต่การศึกษามานี่คือว่าเขารู้อยู่ อ่านตำรามาใช่ไหม แต่เวลาทำ การเพ่งนี่เขานึกว่าเป็นวิปัสสนา นี่ถึงบอกว่านั้นเป็นความรู้เทียม แต่ก็รู้อยู่ แต่เทียม ของเทียมไง เราจำมานี่ของเทียม แต่ต้องเกิดขึ้นจากการสัมผัสโดยตรง ประสบการณ์โดยตรง คือใจนั้นประสบกันนั้นคือของจริงไง นี่ธรรมะแท้มันถึงแก้ทุกข์แท้ๆ ได้ไง ธรรมะเทียมๆ ก็แก้ทุกข์เทียมๆ

นี่อธิบายตรงนี้ให้เขาฟังไง ธรรมะจริงก็เกิดขึ้นปัจจุบัน สิ่งที่รู้มานั้นไม่ผิด แต่เทียม เทียมหมายถึงว่า เราจำมามันไม่ใช่ประสบการณ์ของเรา แล้วมันเป็นการเพ่งเห็นไหม แล้วให้เขาแยก เกิดขึ้นจากอุปาทานของใจ มันไปเกาะเกี่ยวว่าอาการอันที่เจ็บนั้นเป็นเรา แล้วพูดถึงวิปัสสนาจนถ้าเรากำลังไม่พอนะ เข้าใจตามความเป็นจริง ถ้าไม่ขาดมันจะเกิดอาการชา อาการว่าเวทนาสักแต่ว่าเวทนา ความรู้สึกที่รับรู้เวทนาสักแต่ว่ารู้เวทนา มันไม่ขาดกัน มันจะชาๆ ชาๆ อยู่ ชาๆ นี่เขาเรียกว่าสักแต่ว่าเวทนา

แต่ถ้ามีความรู้ ปัญญามันวิปัสสนานะ ภาวนามยปัญญาจนตามความเป็นจริง มันจะขาดออกจากกัน เวทนาเป็นเวทนา จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ อารมณ์เป็นอารมณ์ไง ความรู้สึกที่ว่าน้ำกับท่อน้ำนี่แยกกออกจากกันเลย แล้วไอ้ความสุขอันนั้นเป็นผลไง ผลจากวิปัสสนาเห็นไหม ผลนี้เกิดขึ้นมาจากเหตุ เหตุคือการวิปัสสนานั้นไง อาการของใจนั้นเป็นผล แต่การเพ่งอยู่แล้วมันปวดนั้นเป็นผล อาการที่วิปัสสนาจนหลุดออกไปน่ะความสุขน่ะ เพราะมันจะหลุดออกไปจากความทุกข์ที่ทุกข์อยู่นี่ หลุดออกไปเลย หลุดออกไปจิตมันเป็นอิสระของตัวเองไง

สัญญาความจำได้หมายรู้ จำได้ว่าใครเป็นใคร คนอื่นเขาเป็นอะไรอยู่นี่ เราไม่ค่อยเดือดร้อนเท่าไหร่ แต่ถ้าคนในตระกูลของเราเป็นอะไรไปนี่ เราจะมีความกระทบกระเทือนมากเลย เห็นไหม นั่นป็นเพราะว่าเราไปรับรู้อันนี้ นี่มันถึงว่าเป็นอุปาทานยึดไง แต่ถ้าเป็นคนอื่นทำไมเราไม่ค่อยเดือดร้อนล่ะ แต่ไอ้นี่มันเป็นเราเลยนี่ เป็นจิตกับกายเลย เป็นเราจริงๆ เลย แล้วก็แก้ไม่ได้ด้วยเพราะอะไร เพราะมีอวิชชาความไม่รู้ ไม่รู้หมายถึงว่ามันรู้ก็รู้เจ็บ มันไม่รู้ก็ด้วยปัญญา

เราถึงบอกเขาอย่างนี้นะ บอกเขาว่า ถ้าพิจารณาไปมันเป็นความรู้คือสัญญา เขาเข้าใจตรงนี้ ถ้าเป็นสัญญาคือความรับรู้ตรงนี้ อันนั้นเป็นโลกียะ ยิ่งพิจารณาก็ยิ่งเจ็บ ต้องถอยกลับมาทำใจให้สงบก่อน การทำใจให้สงบ แล้วออกมาวิปัสสนามันจะเข้าใจเป็นปล้องๆ ไป อันนั้นมันเป็นวิปัสสนาเพราะมันมีสมาธินี้เป็นฐานไง ถ้าไม่มีสมาธิเป็นฐานนี่มันคือเราคิด (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)