ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ด้วยเคารพบูชา

๑๕ ธ.ค. ๒๕๕๒

 

ด้วยเคารพบูชา
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

โยม ๑ : การทำสมาธิฮะอาจารย์ และทำไปผมก็..พอนั่งสมาธิไป แล้วก็..ปลงเกี่ยวกับอสุภะอสุภังร่างกายนี้ฮะ แล้วก็มีความรู้สึกพอปลงได้ก็..เวลาออกมาใช้ชีวิตปกติทั่วไป ก็รู้สึกว่าปล่อยวางได้บ้าง จากที่เยอะๆ ก็เห็นความตายเป็นเรื่องธรรมดา ปกติก็กลัว เดี๋ยวนี้ก็เฉยๆ แล้วก็ปล่อยวางได้เยอะ อย่างนี้..แล้วก็จิตใจก็ไม่ส่งออกไปข้างนอกล่ะฮะอาจารย์ มีสมาธิบ้าง แต่ผมไปฟังตรงที่อาจารย์บอกว่า “ธรรมะตัดแปะ” อันนี้ใช่ธรรมะตัดแปะหรือเปล่าครับ

หลวงพ่อ : ใช่..“ธรรมะตัดแปะ” ไอ้คำว่าตัดแปะของเรานี่คือว่า พวกนั้นเขาไม่รู้เรื่องอะไรเลย ถ้าธรรมะตัดแปะ หมายถึงว่า เราไม่ได้ตัดแปะ แต่มันเป็นการพัฒนาการของมัน ธรรมะตัดแปะ หมายถึงว่า คนเข้าใจผิดไง ธรรมะตัดแปะ เขาเข้าใจไปผิด แต่เขาไปศึกษาธรรมะของคนอื่นมา เหมือนเราไปลอกเลียนเขามา ตัดแปะเลย แต่ของเราไม่ได้ตัดแปะ คำว่า ตัดแปะ คือว่า เขาเข้าใจผิด คนเข้าใจผิด มันเจตนาของเรานะ ถ้าเจตนาเราทำสิ่งใดผิดไป เราทำอะไร เป้าหมายเราผิด มันก็ผิดหมดแหละ

แต่ถ้าเป้าหมายเราถูกใช่ไหม เราทำก็ผิด เพราะมันยังไม่จบ ถ้าเป้าหมายเราถูก เราจะไปข้างหน้า แต่ตอนนี้มันจะเป็นอย่างนี้ไปก่อน ไม่เป็นไร มันต้องเป็นอย่างนี้ด้วย เราถึงบอกว่า “คนเราเริ่มมาจากศูนย์ คนเราเริ่มจากการไม่เป็นทั้งนั้น พระพุทธเจ้าเริ่มจากไม่เป็น เพราะว่าเริ่มจากไม่เป็นจะให้มันถูกหมด มันไม่ถูกหรอก” “สติปัฏฐาน ๔” เห็นไหม เราบอกสติปัฏฐานที่ปฏิบัติผิดหมด ไอ้นี่เขาบอกสติปัฏฐาน ๔ คนนั้นถูก คนนั้นผิด ผิดทั้งนั้นล่ะ!

โยม ๑ : อาจารย์ครับ แล้วพอผมนั่งได้ นั่งและปลงได้แล้วก็ปล่อยวาง มันก็ได้สมาธิอยู่ แล้วเราจะนำเอาสมาธิตรงนี้มาใช้อย่างไรครับ

หลวงพ่อ : “สมาธิ” คือ ความสงบใจ สมาธิ ถ้าเราได้สมาธิ สมาธินี่เป็น..เราได้สมาธิ เราทำเพื่อความสงบ ความสงบนี้คือความสุข ความสุขนี้มันก็เป็นความสุขแล้ว มันก็ได้ “ผล”แล้ว วิบาก ผลนี้มาจากไหน ผลนี้มาจากที่เราทำทั้งนั้น ต่างๆ ที่เราพิจารณานั้น แล้วผลมันเกิดจากนั้น แล้วทำอย่างไรต่อไป ก็ทำไปด้วยผล ผลมันไม่ใช่เหตุใช่ไหม เราต้องสร้างเหตุสิ มาเพื่อให้ผลมันลึกขึ้น ให้ผลมันดีขึ้นไง นี่..ที่มันไม่ตัดแปะ ไม่ตัดแปะตรงนี้ไง แต่ถ้าตัดแปะนะ มันจะไม่มีผลเลย

โยม ๑ : มันก็จะอยู่อย่างนั้น หรือฮะ

หลวงพ่อ : ไม่ใช่.. มันจะไม่มีผลเลย

โยม ๑ : ไม่มีผลเลยใช่ไหมฮะ

หลวงพ่อ : ตัดแปะจะมีผลไหม

โยม ๑ : ไม่มีผลครับ มันก็หลุดไป

หลวงพ่อ : “ตัดแปะ” คือ ที่เราตัดของเขามาแปะ เราจะรู้อะไรล่ะ “ตัดแปะ” หมายถึงว่าขี้โกง ไปตู่เอาสมบัติของคนอื่นมาเป็นของเรา ทั้งๆ ที่เราไม่มีอะไร แต่นี่เราพิจารณาไป เรามีความสงบไหม มี.. มีความสุขไหม มี..เห็นไหม มันไม่ใช่ตัดแปะ เราบอกที่ไม่ใช่ตัดแปะเพราะอะไร เพราะทำแล้วมันได้ผลตามแต่อัตภาพไง ผลนี่ไม่ใช่ว่าจะได้ผลเท่ากันหมดนะ แม้แต่สมาธิก็ไม่เท่ากัน แล้วคนปฏิบัติไปแล้วนะ ทุกคนที่ปฏิบัติ นั่งอยู่นี่ ๔-๕ คนนี่ “ปฏิบัติ” จะไม่มีใครตัดแปะเหมือนกันได้หมดเลย ไม่มีทาง ของใครของมัน

แล้วพอไปปฏิบัตินี่ นั่งคนละ ๑๐ นาทีเท่ากัน บางคนสงบ บางคนไม่สงบเลย บางคนสงบมาก สงบน้อย เห็นไหม เพราะนี่คือผลของมัน ถ้าผลของมันตามความเป็นจริง ไม่ใช่ตัดแปะ ตัดแปะอย่างเรา เรานั่งอย่างพวกที่นั่ง ๕ นาที ๑๐ นาทีได้ความสงบกัน เราก็อวดว่าเรานั่งบ้าง เราก็นั่งบ้าง แล้วพอเรานั่งไป ได้ไม่ได้ เขาสงบ กูก็สงบบ้าง ทั้งๆ ที่กูไม่มีอะไรเลยนะ นี่ “ตัดแปะ”

โยม ๑ : อันนี้ผมคิดได้ พอสงบแล้วผมยังคิดได้

หลวงพ่อ : คิดได้

โยม ๑ : ครับ.. ก็ถือว่าไม่ตัดแปะใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : ไม่ตัดแปะ เพียงแต่ว่า เราเริ่มต้นการภาวนาขึ้นไปไง ต้องทำบ่อยๆ แล้วทำอย่างไรต่อไปๆ กลับไปสร้างเหตุ ออกไปพิจารณา อย่างนี้พิจารณาได้ แล้วมันปล่อยวางเข้ามา พอพิจารณาครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ไม่ได้แล้ว ไม่ได้หรอก

โยม ๑ : ครับ..ใช้ไม่ได้ครับ

หลวงพ่อ : เพราะอะไร เพราะว่าอาหารกินทุกวันน่ะ “มันเบื่อ” อาหารมันก็ต้องกินทุกวัน แต่ทีนี้ของเรา แต่ถ้าพุทโธ พุทโธ ถ้ามันออกพิจารณาได้ก็พิจารณา ถ้าพิจารณาไม่ได้ก็กำหนดพุทโธ พุทโธนี้ตัวหลัก พุทโธนี่เขาทำอะไรก็แล้วแต่ พอทำอะไรไม่ได้ก็กลับมาที่พุทโธ พอพุทโธพอมันชินชาพุทโธแล้ว ออกไปพิจารณา ออกไปใช้ปัญญา ปัญญาอย่างนี้เป็นสมถะหมด เราพูดไว้บ่อยมากว่า “ปัญญาอบรมสมาธิๆ” ปัญญาที่ใช้ตรึกในธรรมมันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันยังไม่เป็นปัญญาฆ่ากิเลส ไม่เป็นวิปัสสนาหรอก

ถ้าเป็นวิปัสสนานะ มันจะสะเทือนหัวใจนี้มาก เพราะมันต้องได้จุดนี้ก่อน เราจะพูดถึงการเปิดบัญชี การตั้งบริษัททุกทีเลย ถ้าเราเปิดบัญชีเราตั้งบริษัทเราจะสามารถโอนเข้าออก หรือเราสามารถมีผู้รับผลประโยชน์ได้ คือ “ตัวสมาธิคือตัวจิต” แต่ถ้าเรายังไม่มีตัวนี้ขึ้นมา เหมือนกับเราไม่มีบัญชี เราต้องได้เงินสดกันนะ เราไม่มีบัญชี เราต้องจ่ายเงินสดก่อน แต่ถ้าเรามีบัญชีขึ้นมา เราโอนเข้าบัญชีได้หมด ไม่ต้องอะไร โอนเข้าบัญชีได้หมดเลย นี่ก็เหมือนกันพอเรามีจิตขึ้นมามีตัวสมาธิ ตัวสมาธินี่คือตัวจิต

โยม ๑ : ครับ..ผมมีสมาธิแล้ว ผมก็ลองมากำหนดพุทโธดูฮะ แล้วผมก็กำหนดตรงนี้ พอกำหนดไปสักพักหนึ่ง บางทีวันนี้กำหนดได้ อีกวันกำหนดไม่ได้ เปลี่ยนไปกำหนดลมหายใจบ้าง สับไปสับมาอย่างนี้

หลวงพ่อ : ไม่ได้..

โยม ๑ : ได้ไหมครับ

หลวงพ่อ : ไม่ได้..ถ้าพูดถึงใช้ปัญญานี่ ปัญญาได้ ปัญญาเราคิดใคร่ครวญอย่างที่ว่า อะไรก็ได้ พอเป็นสมาธิ ปัญญามันเป็นความคิด เพราะปัญญาเห็นไหม ตัวนี้คือตัวบัญชี ตัวนี้คือ ตัวฐีติจิต คือตัวภพ ความคิดคือลอก ผลไม้กับเปลือก ผลไม้ เวลาเราซื้อผลไม้ เปลือกผลไม้ ผลไม้คือมันรักษาเนื้อผลไม้ไว้ นี่คือ ขันธ์ ๕ คือ ความคิดของสามัญสำนึก เราควบคุมไม่ได้ ไอ้อย่างนี้คิดอะไรก็ได้ แต่ถ้าพุทโธๆ พุทโธเรากำหนดมาจากจิต วิตก วิจาร เราไม่นึกพุทโธๆ พุทโธไม่เกิด นี้พุทโธต้องจุดใดจุดหนึ่ง ถ้าปลายจมูกก็ปลายจมูก

โยม ๑ : เปลี่ยนแปลงไม่ได้ใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : ถ้าบอกว่าเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ใช่.. ถ้าเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทำไมมันเปลี่ยนล่ะ มันเปลี่ยนแปลงได้ เขาเปลี่ยนแปลงกัน แต่เราไม่ยอมให้มันเปลี่ยนต่างหากล่ะ

โยม ๑ : แล้วถ้าวันนั้นเรากำหนดพุทโธแล้วรู้สึกไม่สบายล่ะฮะ แล้วก็จะถอยไปอยู่สมาธิเหมือนเดิม หรือว่าต้อง

หลวงพ่อ : ไม่..เราจะเอาตรงนี้ให้จบก่อน เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน ไอ้คำว่าเปลี่ยนแปลงได้ไหม เปลี่ยนแปลงได้ คือ กิเลสมันเปลี่ยนแปลง แต่ถ้ามันเป็นความจริงนะ เราบังคับมันพุทโธๆ อยู่ปลายจมูกที่ใดที่หนึ่ง จุดใดจุดหนึ่ง แล้วไม่เปลี่ยนแปลงนี่ อันนี้ คือ “ธรรม” คือ ธรรมเพราะอะไร เพราะบังคับกิเลส แต่บอกว่ามันเปลี่ยนแปลงไม่ได้

ทำไมจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ มันเปลี่ยนแปลงได้ เพราะว่ามันเกิดสามัญสำนึกไง นี่..โลก ปัญญาวิทยาศาสตร์ ปัญญาโลกๆ มันเปลี่ยนแปลงได้ จะบอกว่าโลกมันตอแหล โลกมันปลิ้นปล้อน มันเปลี่ยนแปลงได้ แต่เพราะมันปลิ้นปล้อนน่ะสิ เราจะเอาความจริงเข้าไปสู้กับมัน เราถึงไม่ยอมเปลี่ยนแปลงกับมันไง เราถึงมีจุดใดจุดหนึ่งเห็นไหม มึงจะไปไหนกูไม่ไปกับมึง กูบังคับมึงเวลาพุทโธ

แต่ถ้าปัญญานะ ปล่อยมันไปเลย เพราะว่าถ้าปัญญาเวลามันดับ ถ้าปัญญานะ มันมีสติอยู่นะ เวลามันดับ ปัญญามันดับมันเหลืออะไร เพราะปัญญามันเป็นความคิด ความคิดเกิดจากอะไร เกิดจากจิต ถ้ามันดับไปโดยสติ จะดับไปเลย มันรู้อยู่ไง แต่ถ้ามันเป็นความคิดโดยปกติเรา เราคิดแล้วมันหยุดไป มันจะหายไปเลย ไม่มีอะไรเลย ดูจิตเขาเป็นอย่างนี้กัน กูถึงบอกว่าถอนรากถอนโคน ไม่มีผู้รับผลประโยชน์ ไม่มีตัวจิต ทีนี้ถ้าปัญญาน่ะ ปัญญาเรารู้อยู่ใช่ไหม เจตนาเริ่มต้นถูก เริ่มต้นถูกว่าเราเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เราตั้งใจว่าเราจะใช้ปัญญาอบรมสมาธิ

แต่ถ้าเราเริ่มต้นถูกเห็นไหม เริ่มต้นถูก เป้าหมายถูก เรามีจิต เราจะใช้ปัญญาอบรมสมาธิ พอไล่ไป พอไล่ปัญญาไป พอมันจบ อ้าว..ก็กูนี่ สมาธิก็คือ กูไง เพราะกูเป็นคนไล่มึงไง นี่เพราะเราตั้งต้นถูก แต่ถ้าตั้งต้นผิดนะ อู๋ย..ปัญญากูเกิดนะ อู๋ย..มันเป็นวิปัสสนานะ อู๋ย..กูมีธรรมะมากนะ อู๋ย..ปัญญากูเกิดมาก อู๋ย..กูรู้ไปหมดเลย กูเก่งไปหมดเลย พอมันดับปั๊บ..หายเกลี้ยงเลย มิจฉาทิฏฐิ ไม่มีผู้รับรู้เห็นไหม แต่ถ้าเราตั้งถูก นี่ไม่ใช่วิปัสสนา นี่ไม่ใช่ธรรมะ นี่เป็นการฝึกหัดนี่มันเป็นเด็กอ่อนเพิ่งเริ่มเตาะแตะ

ไอ้นี่พึ่งเริ่มต้น เราใช้สติตามมันไป พอสติตามมันไป พอตามความคิดไป พอความคิดมันดับ เอ้อ.. ก็กูรู้ กูรู้ว่ามึงดับไง กูอยู่นี่ไง นี่ตัวสมาธิเห็นไหม ที่ว่าดูจิต ดูจิต หลวงปู่ดูลย์บอกว่าดูจิต ดูจิต จนจิตเห็นอาการของจิต ดูจิตๆๆ ดูจนมันหยุดไง เออ..กูอยู่นี่ๆ ไง มันดับ โอ้ย..กูอยู่นี่ไง จนกูเห็นมึง เห็นอะไร เห็นความคิด ขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นผลกระทบ นี่เริ่มต้นจากตรงนี้ได้ ปัญญาถ้าเห็นผลกระทบ อู๋ย..ปัญญาอย่างนี้นะ จิต..ถ้าเห็นอาการของจิตได้ จิตเห็นตัวจิตได้ โอ้โฮ..สุดยอดเลย

หลวงปู่ดูลย์พูดถูกหมดเลย “จิตส่งออกทั้งหมด ผลเป็นสมุทัยให้ผลเป็นทุกข์” จิตส่งออก คือ สมุทัย ผลของการส่งออกเป็นทุกข์ จิต..ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต ดูจิตจนเห็นอาการของจิตเป็นมรรค ผลของมันเห็นไหม มันคนละเรื่องเลย โอ้ย..ไอ้ที่ว่าเราใช้ปัญญา กูรู้กูเก่งนะ จบ มิจฉาทิฏฐิ เพราะว่าไอ้คำว่ากูเก่งก็ไม่มี เพราะมันคิดแล้ว มันจบไปแล้ว ตัวมันก็ไม่มี ความคิดก็ไม่มี อะไรก็ไม่มี ตัดรากถอนโคนเลย

ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เราเป็นคนไล่มันอยู่แล้ว เพราะมันดับหมด เออ..กูเห็น เออ..กูเห็น เออ..กูเห็น จะกลับมาที่พุทโธนี่ พอกูเห็นบ่อยๆ กูดับได้บ่อย อู้ฮูย.. รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร ความคิดเป็นบ่วงของมารหมดเลย พอมันดับ ดับหมดเลยเหลืออิสรภาพ อิสรภาพพิจารณาบ่อยครั้งเข้าๆ จนจิตมันตั้งมั่นเห็นไหม ตั้งมั่นหมายถึงว่ามันชำนาญขึ้น มันทำได้ง่ายขึ้น

เหมือนขับรถ นักแข่งขับรถนะ มันใช้นิ้วหมุน โอ้โฮ.. ไอ้กูหัดขับรถนะ กูแม่ง..กูจ้องอย่างนี้ กูยังขับไม่ถูกเลย พอมันรู้ มันรู้ทันเห็นไหม พอจิตมันทันแล้ว พอมันทันเหมือนนักแข่งเลย โธ่..นักแข่งนะ ไอ้พวกมือเซียนน่ะ เวลาขับรถ ปั๊บๆ มันคล่องตัวมาก จิตถ้ามันไล่ปัญญาอบรมสมาธิจนชำนาญมากมันจะคล่องตัวมาก ถ้าคล่องตัวมากสมาธิมันจะมั่นคงไหม แต่เดิมหัดขับรถต้องเอาตลับเมตรไปวัดถนนว่าไปได้หรือเปล่าวะ มันเกร็งขนาดนั้นเลย เวลาได้แต่ละหน แต่ละหนใช่ไหม แต่ถ้าพอมันชำนาญขึ้นมา

นี่จิตตั้งมั่น “จิตส่งออกทั้งหมดผลเป็นสมุทัย ให้ผลเป็นทุกข์” แต่เราบังคับจนมันไม่ส่งออก เพราะมันไม่มีความคิด ความคิดมันดับหมด ส่งออกไปไหน ตัวมันเป็นอิสระจากตัวมันเอง พอมันเต็มที่ของมันเห็นไหม จิตเห็นอาการของจิต ถ้าจิตไม่เห็นอาการของจิต ไม่มีวิปัสสนา วิปัสสนาเกิดไม่ได้ วิปัสสนาเกิดต่อเมื่อ จิตเห็นอาการของจิต ตัวจิตเองเห็นความคิดของตัวเอง เพราะการวิปัสสนาคือการชำระล้างตัวเอง ทำความสะอาดตัวเอง ถ้าตัวเองไม่เห็นผลของสิ่งที่ความคิดกับจิต ยังไม่เห็นของมัน ยังไม่เห็นจิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นความคิด จิตจับขันธ์ยังจับไม่ได้ วิปัสสนาไม่เกิดหรอก

เราไม่มีตังค์ เราจะไปถอยรถออกมาได้อย่างไร เราจะเอารถถอยออกมา เราต้องมีตังค์ ไปถอยรถออกมาจากโชว์รูม ถึงถอยรถออกมาได้ จิตมันไม่มีเจ้าของ มันไม่มีทะเบียนบ้าน มันไม่มีศักยภาพ มันไม่มีตังค์อะไรเลย มันจะถอยรถออกมาได้อย่างไร จิตมันเห็นอาการของจิต ถ้าวันไหนจิตมันตั้งมั่น จิตมันมีเงินทองสมบูรณ์ขึ้นมาแล้ว มันจะถอยรถออกมาได้เลย ถอยรถ คือ ขันธ์ ๕ ไง จับรถมีขันธ์ ๕ มีเรา เราเป็นคนขับรถ รถไม่ใช่เรา เราขับรถ

ขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ จิตขับขันธ์ ๕ แต่ในปัจจุบัน ปุถุชนนี่นะ รถเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเรา อะไรเป็นเรา แต่รถโปเกนะ รสกิเลสนะมึงไม่ใช่รสธรรม มันพามึงชนเละเลย ความคิด ความทุกข์ ความยากไง มันพามึงชนสังคมเละไปหมดเลย นี่พูดถึงเวลา.. นี่ปัญญาอบรมสมาธิ แต่เวลาถ้าเป็นพุทโธๆๆๆๆๆ พุทโธเห็นไหม พุทโธๆๆ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ วิตก คือ การนึกขึ้น พุทโธจะไม่มี พุทโธอยู่ในหนังสือ มันเป็น พ พาน สระอุ ท ทหาร สระโอ ธ ธง พุทโธอันนั้นมันเป็นชื่อ พุทโธไม่มี ถ้าเราไม่นึกขึ้นมาพุทโธไม่มี

ทีนี้พอเรานึกพุทโธขึ้นมาเห็นไหม วิตก มันมาจากไหน มันมาจากจิต ถ้าจิตเราไม่วิตกล่ะ ไม่มีวิตกจะมีวิจารไหม วิตกคือนึกขึ้นมา พุท วิจาร พุทกับโธ วิจาร วิตก วิจาร พุทโธๆๆๆๆ มันคือวิตก วิจาร องค์ของฌาน องค์ของสมาธิ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่น ถ้าเรานึกพุทโธขึ้นมา นึกมาจากไหน ถ้าจิตไม่นึก อันนี้พอมันนึกผิวเผิน มันก็ไม่ได้ผล ถ้าเรานึกจากใจ เราถึงบอกว่า ถ้าพุทโธเห็นไหม ถ้าเป็นความคิดอะไรก็ได้ ถ้าเป็นพุทโธเปลี่ยนไม่ได้ ต้องอยู่ในจุดใดจุดหนึ่ง พยายามบังคับมัน

การบังคับนี่นะ ปัญญาอบรมสมาธินี่มันไหลมันไป แล้วเราตามมันไป แต่เวลาเรากำหนด พุทโธ เราไม่ใช่ไหลแล้ว เราจากจุดเริ่มต้นให้มันตั้งมั่น พุทโธๆๆๆๆ ให้มันตั้งมั่นให้ได้ พุทโธๆๆๆ นึกได้ชื่อมันไปก่อน พุทโธๆๆๆ แต่! พอหลวงตาท่านบอก “พุทโธๆๆ จนพุทโธไม่ได้แล้ว” ทำไมนึกพุทโธไม่ได้ล่ะ เพราะวิตกมันก็มาจากจิต พอวิตกมาจากจิตมันก็เลยหดสั้นเข้ามาถึงตัวจิต พอถึงตัวจิต จิตพูดไม่ได้ นี่ “สัมมาสมาธิ” จิตพูดไม่ได้เลย

โยม ๒ : แล้วในกรณีถ้าสมมุติเราทำสมาธิไปแล้ว พอจิตมันเริ่ม..เริ่มรู้สึกว่ามันสบายแล้วมันเบาลง แล้วก็ในที่สุด บางครั้งๆ ที่นั่ง พอมีความรู้สึกว่า การภาวนาพุทโธมันไม่ต้องภาวนาแล้วเพราะว่า จิตมันรู้สึกมันนิ่ง ต้องทำอย่างไรต่ออาจารย์ครับ ผมจะไปค้ำๆๆ อยู่

หลวงพ่อ : พุทโธได้ ยังพุทโธได้ ความจริงเวลาเราปฏิบัติ นี่ไงรู้เท่าไม่ถึงการณ์ๆ เห็นไหม รู้เท่าไม่ถึงการณ์ คือ ไม่รู้ รู้เท่าไม่ถึงการณ์

เวลาพอบอกว่าพุทโธๆๆ ไปแล้ว จิตมันสะดวกสบาย จิตมันสบายๆ เห็นไหมมันได้พื้นฐานมา จิตสบาย แต่ความจริงยังพุทโธได้ แต่เพราะกิเลส เพราะความขี้เกียจ เพราะความคิดว่า เพราะการให้คะแนนตัวเอง เวลาผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนี้ พอเป็นอย่างนี้ปั๊บนะ พุทโธๆ ว่างๆๆ เวลาเราเดินทางนะ สมมุติโยมอยู่บ้านจะมาที่นี่กัน คิดว่าจะเดินทางมาที่นี่ พอมาถึง พอขับรถมาถึงกรุงเทพ เฮ้ย..มันสบายดีๆ จอดที่กรุงเทพฯ จะมาถึงที่นี่ไหม ไม่มีทางเลยไง..

นี่ก็เหมือนกันว่า เป้าหมายเราคือจิตสงบ เป้าหมายเราคือสมาธิ เราพุทโธๆ ไป ว่างๆๆ อยู่ที่กรุงเทพฯ แล้วมันจะเป็นสมาธิไหม

โยม ๒ : อืม..มันก็ไม่เป็น

หลวงพ่อ : ไม่เป็น..เห็นไหม มันเป็นอย่างนี้โดยข้อเท็จจริง แต่คนไม่รู้ พอว่างๆๆ ทุกคนพอว่างแล้ว เหมือนกับเรานี่นะ เวลาเราทุกข์เราร้อน หิวข้าวมากเลยพอกินข้าวก็อิ่มแล้ว สบายแล้ว เดี๋ยวพรุ่งนี้กินอีก แต่ถ้าเรากินให้อิ่มเต็มที่เลย พุทโธๆๆ จุดนี้สำคัญมาก เราจะบอกว่าคำว่า “พุทโธนี่นะ คือไม้หก ถ้ามีพุทโธนะ มันจะทำจิตเราที่เป็นปุถุชนให้เป็นกัลยาณปุถุชน”

ปุถุชน คือ คนหนาไปด้วยกิเลส กัลยาณปุถุชนคือคนพร้อม กัลยาณชนเป็นจิตที่มันพร้อมที่จะเดินโสดาปัตติมรรค จิตที่เป็นสมาธิ ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลสทำสมาธิได้ยาก ถ้าเป็นกัลยาณปุถุชนสมาธิมันจะคงที่ พุทโธ พุทโธ มันจะเปลี่ยนจิตจะหกจากจิต จากปุถุชนเป็นกัลยาณปุถุชน ปุถุชนนะคนหนาด้วยกิเลส รูป รส กลิ่น เสียง คือสรรพสิ่งเป็นเราหมด แต่พอเราพุทโธๆๆ พอมันเห็นพุทโธมันตัวหกกลับไง นี้พอจะหกกลับนี่ มันหกกลับไม่พอ พุทโธๆๆ สบายๆๆ ไม้หกกลับคือน้ำหนักของการหกกลับมันไม่พอ

ฉะนั้นถ้าเอาข้อเท็จจริงจะต้องพุทโธๆ คือว่าจะต้อง หลวงตาพูดอย่างนี้นะ “เวลากำหนดพุทโธ คือมีเรากับพุทโธเท่านั้น โลกนี้ไม่มี โลกนี้ไม่มีเลย คือเราจะไม่เชื่ออะไรเลย จะไม่มีอะไรมาทอนน้ำหนักของเราได้เลยว่าให้มันอยู่ตรงนั้น ฉะนั้นต่อไปนี้โยมต้องตั้งมั่น” พุทโธจนกูตาย พุทโธจนกูเต็มที่เลย อะไรมาไม่เกี่ยวเลยนะ ต้องคิดอย่างนี้เลย อะไรจะเกิดขึ้น จะสบาย จะว่างขนาดไหน โทษนะเรื่องของมึง ไอ้ห่า..กูไม่เชื่อ กูจะพุทโธกูไปเรื่อยๆ แล้วพิสูจน์กัน ต้องพิสูจน์อย่างนี้ แล้วพอเห็นเองนะ เออว่ะ.. เออ..มันเป็นอย่างนี้

แล้วเราก็ไปคากันอยู่อย่างนี้ ไอ้จะทำไปหรือก็สบายแล้ว

โยม ๒ : คาอย่างนี้มาหลายปีแล้วครับ

หลวงพ่อ : เป็นอย่างนี้กันหมดเลย เราพูดบ่อยมาก บางทีมาทั้งคณะเลย ว่างๆ ว่างๆ ทุกคนมาอย่างนี้ ว่างๆ สบายๆ กันทั้งนั้นน่ะ ว่างๆ สบายๆ ก็ไปพวกดูจิต ที่เขาทำกันอย่างนี้ไง บางทีพอที่ว่าว่างๆ สบาย มันดีใช่ไหม เวลามันเสื่อมมันก็ฟุ้งซ่าน มันก็ลำบากมาก นี้พอบอกว่าดูจิตสิ.. ดูสบายๆ มันก็สบายๆ สบายๆ กันอย่างนี้แค่นี้เอง แล้วก็ไปไม่รอด พอไปไม่รอดปั๊บ ก็สร้างนวัตกรรมขึ้นมา จะเป็นอย่างนั้นๆ สร้างภาพไง แล้วก็ได้ขั้นได้ตอนกันไป มันถึงไม่ได้อะไรกันเลย

แต่ถ้าเป็นข้อเท็จจริง พอมันว่างๆ อย่างนี้ เราถามว่า

“ว่างๆ นี่นึกพุทโธได้ไหม” “ได้ค่ะ”

ทำไมไม่นึก เราไปให้ค่ากันเองโดยกิเลส ถ้าพุทโธเป็นของหยาบ แล้วเป็นของนึก แต่ถ้ามันเป็นความว่าง มันละเอียดใช่ไหม พอพุทโธๆๆ จนจิตมันละเอียดเข้าไปเรื่อย จนนึกไม่ได้ คำว่านึกไม่ได้ มันนึกไม่ได้โดยตัวของมันเอง แต่นี่ความจริงมันยังนึกได้ คือ มันยังก้ำกึ่งไง เราหุงข้าวมันดิบๆ สุกๆ เราเข้าใจว่าสุก ก็มันเดือดแล้วนะ น้ำมันเดือดปุดๆๆ เลยเห็นไหม ข้าวด้วย ก็เห็นอยู่ แต่มันไม่สุก แต่เราว่ามันเดือดแล้ว มันเข้าใจว่าสุก นี่กิเลส

ถ้ามันถึงที่สุดของมัน มันต้องสุก นี้มันต้องสุกเพราะความร้อนมันพอใช่ไหม ก็เวลามันพอ มันถึงจะสุกได้ นี่ก็เหมือนกันพุทโธๆๆ มันพลังงานจนกว่าจิตมันจะสงบ ตรงนี้เป็นกันหมด เพราะเราเคยอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ อยู่อย่างนี้เป็นประจำ เพราะหลวงปู่เจี๊ยะนั่งอยู่ข้างหน้า เรานั่งอยู่ข้างหลัง พระเกือบทั้งภาคอีสานเลยมาหา “นั่งหลับครับ” นั่งหลับครับให้แก้ กำหนดพุทโธๆๆๆๆๆ นี่ไง แล้วเรานั่งฟังทุกวันเลย แหม..มันจะจริงขนาดไหนวะ เลยคุยกับท่าน

ท่านบอกว่า “มึงก็พุทโธไปสิ” ท่านให้พุทโธ พุทโธไปเรื่อยๆ ถ้าพุทโธ ๓ ชั่วโมง สงบ ๑ นาที พุทโธไป ๖ ชั่วโมง สงบ ๒ นาที ถ้าพุทโธไป ๑๒ ชั่วโมง ๒๔ ชั่วโมง ก็ว่าไปเรื่อยของท่าน คือ ถ้าพุทโธมากขนาดไหน ความสงบจะมากขึ้น ถ้าพุทโธเราน้อยมันสงบอยู่ ถ้าเราเชื่อมันนะเล็กน้อยมันก็ออก แล้วจิตมันด้านด้วย เราก็คิดเลย บอกว่า “พุทโธโดยไม่เอาสมาธิ” พุทโธๆๆๆๆๆ ทั้งวันทั้งคืนเลย พิสูจน์ พุทโธๆๆๆๆๆๆๆ ทั้งวันทั้งคืน เป็นเดือนๆ เลย พุทโธไม่เอาสมาธิ ไม่เอา..

โยม ๑ : ได้ใช่ไหมครับอาจารย์

หลวงพ่อ : เออ..ไม่เอา.. พุทโธๆๆๆๆๆ เวลามันลงนะ มันเป็นของมัน เราก็พุทโธ กูตะโกนพุทโธเลย พุทโธๆๆๆ กูไม่เอา พุทโธเลย โอ้โฮ..จิตมันลงนะ วืดๆๆ วืดๆๆๆๆ กึ๊ก ๓ - ๔ ชั่วโมง แล้วก็คลายตัวออกมา จริง..แล้วพอจริง ๑. จริง ๒. หลวงปู่เจี๊ยะท่านทำของท่านมาแล้ว ท่านปฏิบัติของท่านมา แล้วท่านได้ผลของท่านมาแล้ว แล้วหลวงปู่ชอบ ครูบาอาจารย์ ท่านสอนอย่างนี้ทั้งนั้น พุทโธไวๆ พุทโธเรื่อยๆ พุทโธโดยไม่เอาสมาธิ แต่นี่พวกเราอยากได้สมาธิ มันเหมือนกับไอ้นั่นเลย มันเหมือนกับร้านขายทอง เอาทองไปก่อน แล้วผ่อนกูไง พอไปถึงมันได้ทองมา แล้วมันถึงจะไปผ่อนใช่ไหม เดี๋ยวนี้ก็เหมือนกันเอาสมาธิมาเลย แล้วพุทโธทีหลังไง แล้วเราก็ไปเอาสมาธิมาก่อนแล้วพุทโธทีหลัง ไม่มีสิทธิ์หรอก!

โยม ๒ : พุทโธทั้งวันทั้งคืน ทำอะไรก็พุทโธตลอดเลย จะเดินจะอะไรก็พุทโธหมดเลย

หลวงพ่อ : กับโยมไม่ค่อยได้ ๑. โยมไม่ค่อยได้เพราะโยมมีหน้าที่การงานใช่ไหม เวลาทำงานก็ทำงานอยู่กับงาน เสร็จจากงานค่อยพุทโธ แต่นี่ไงเวลาปฏิบัติมันจะต่างกันตรงนี้ เวลาเป็นพระ ในพระไตรปิฎกบอกว่า พระเป็นนักบวชแล้วนี่ ทางกว้างขวางคือ ๒๔ ชั่วโมง เรามีกิจกรรมอย่างนี้ เราอยู่กับครูบาอาจารย์ที่เป็นกรรมฐานนะ นี่พระไปปฏิบัติกันหมดแล้ว แต่จะไม่มีอะไรส่วนใหญ่เลย เว้นไว้แต่ผู้ที่ออกมาบริหาร ออกมาดูแล นี่ถ้าอย่างนี้มันจะพุทโธได้ตลอดเวลา เราพุทโธได้ตั้ง ๒๔ ชั่วโมงเลย ถ้าเราพุทโธๆๆ พุทโธได้ ทีนี้คนเรา เอ๊ะ.. ทำไมพระทำได้อย่างนั้นจริงๆ เหรอ จริง! จริงเพราะอะไร

จริง! เพราะว่าหลวงตาท่านบอกว่าท่านต้องอยู่คนเดียวเห็นไหม เวลาจิตท่านหมุนขึ้นมา ท่านอยู่คนเดียวอยู่กับใครไม่ได้เลยเพราะท่านต้องการเวลา ๒๔ ชั่วโมง พระที่ฉลาดนะ เขาจะหาเวลาวิเวก หาไปคนเดียว หาปฏิบัติตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยตัวคนเดียว แล้วพิสูจน์กับเราเอง มันพิสูจน์กับเรา เพราะเราเป็นคนตั้งกติกากับเรา แล้วเราเป็นคนปฏิบัติของเราเอง เราตั้งของเราเอง เราทำได้ แล้วเราทำอย่างนี้ตลอดเพราะอะไร เพราะต้องการการพิสูจน์ มันอยู่ที่นิสัยอยู่ที่ความจริงจัง

อย่างที่เราพูดเห็นไหม เราปฏิบัติไป เราคิดในใจนะ กูจะจับผิดพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าบอกว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แล้วกูก็ทำของกูอย่างนี้ ดูสิ..จะทำได้ไหม กูอยากจะทำแล้วมันไม่ได้อย่างที่พระพุทธเจ้าว่า ความคิดเราเป็นอย่างนั้นนะมึง กูจะจับผิดคำสอนของพระพุทธเจ้า กูพยายามจะจับผิด เพราะกูทำดีที่สุดเลย แล้วกูจะได้ความดีไหม กูทำเต็มที่ กูทำอย่างนี้ กูไม่สน กูทำดีๆๆๆ อย่างนี้ กูทำแม่งอยู่อย่างนี้ ดูสิ..มันจะได้ผลไหม อยากจับผิดพระพุทธเจ้า นี่ความคิดเรานะ

ความคิดที่เราเอาจริงเอาจัง คือพิสูจน์ แล้วพอมาเจอหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เจี๊ยะก็พิสูจน์อีก คือว่ามันเป็นสันดาน สันดานมันสร้างมาอย่างนี้ จิตมันสร้างมาอย่างนี้ คือคนมันจริง แล้วถ้าคนไม่จริงนะ พอพุทโธๆ ไปแล้ว กูจะเอาจริงๆ ๒ วันแม่งเลิก เฮ้ย..นั่นใจมันไม่จริง แต่นิสัยเราเป็นอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไร ไอ้นี่มันอยู่ที่พูด ถ้านี่พูดมันพูดได้ แต่ถ้าจะเทียบแล้วมันต้องค่าของใจด้วย ใจมันจริงมากน้อยแค่ไหน

ถ้าใจมันจริงมันถึงจะทำได้ ถ้าใจมันไม่จริงก็ดีแต่โม้.. นิสัยเราเป็นอย่างนี้ เราถึงเจ็บมากไอ้พวกขี้โม้นี่ แล้วเวลาเราพูดไปนะ คนข้างนอกก็บอก มึงก็โม้เหมือนกัน ไอ้กูโม้ โม้จากข้อเท็จจริง ก่อนจะโม้กูพิสูจน์แล้วต้องพิสูจน์ให้ได้ แล้วกูโม้กูยอมประกันคำขี้โม้กู กูประกันกูทำจริง แต่ถ้าไปทางโลก มันก็โม้เหมือนกัน แต่มันจับได้ตรงที่ว่า มันไม่มีความจริง ข้อเท็จจริงรองรับ ถ้าไม่มีข้อเท็จจริงรองรับ เวลากูพูด โอ้โฮ..เวลากูจะโม้ กูก็พูดองอาจกล้าหาญเลย เวลาเขาถามกลับว่าแล้วทำอย่างไรล่ะ แบ๊ะๆๆๆ เลย

เพราะเราอยู่ในวงการพระ เราเจอพระมาเยอะ เวลาพูดกับพวกโยม โอ้โฮ..เก่งมากเลย เราไปนั่งฟังด้วย พอเราถามว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ เหรอ ก็ผมไม่ได้พูดนะ ผมไม่ได้พูด มันรู้แล้วว่าคนรู้แล้ว ไอ้พวกขี้โม้ มันกลัวของจริง เพราะของจริงมันถามมาจากข้อเท็จจริงที่เป็นจริง แล้วคนไอ้ขี้โม้ มันไม่มีข้อเท็จจริง คือ มันไม่มีความรู้จริงอันนั้น มันถึงว่าเห็นไหมพอไปคราวนี้ หมดความมั่นใจหมด เพราะเมื่อก่อนไม่มีใครชี้ เรารู้สึกเขามาที่นี่เหมือนกัน เขาก็พูดเขาบอกว่า เขาไปฟังในไอ้ที่ความจริงเรา “ความจริงชี้” ในนั้นความจริงชี้ที่เราพูดออกไปไง เพราะเขาเคยไปพูดไว้บอกว่า “ใครชี้ไม่ได้”

“ใครชี้ไม่ได้ ต้องพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ชี้ไง” เขาก็หาปริ้นท์มาให้เราดู พอเราเห็นแค่นี้ เราก็รู้แล้วว่าอันนี้มันเป็นการป้องกันตนเอง พอป้องกันตนเองปั๊บเราก็พูดเลย

“ไม่มีใครชี้หรอก ความจริงความเท็จในใจมึงต่างหากมันจะชี้”

ยิ่งหนาวเข้าไปใหญ่เลย ความจริงความเท็จในหัวใจมึง ของอย่างนี้มันเป็นปัจจัตตัง ไอ้คนขี้โม้ มันก็โม้มาจากความโกหกของมันนั่นน่ะ ไอ้คนจริงมันก็พูดมาจากความจริงของมัน ความจริงความเท็จในใจอันนั้นสำคัญกว่านะ ไม่ใช่คนนอกจะมาชี้หรือไม่ชี้นะ

ถ้าความจริงอันนั้นมันจริง มันนั่งอยู่บนกองไฟมันก็จริง แล้วมันจะไปกลัวใคร ฉะนั้นถ้ามันว่างๆ ว่างๆ ส่วนใหญ่เป็นอย่างนี้ แล้วเป็นอย่างนี้ปั๊บ มันน่าเสียดาย เสียดายที่ว่าเราทำมาครึ่งๆ กลาง แล้วพอทำไปนานๆ แล้วจิตมันเคยตัว เขาเรียกว่าติด ถ้าอย่างนี้เราเรียกว่าแผ่นเสียงตกร่อง มันมีนะลูกศิษย์มาหาเยอะมาก เวลาไม่ภาวนาก็ไม่เป็นไรหรอก แต่เวลาพอภาวนาปั๊บ มันจะเริ่มตุ๊บๆๆ เลย พอตุ๊บปั๊บ จิตมันก็ซัดเลย พอจิตมันซัดปั๊บ พอมาถึง พอนั่งปั๊บไปไม่รอด บางคนพอนั่งไปก็ตัวคอน บางคนนั่งไปแล้วเหงื่อตก เหงื่อจับเป็นเม็ดๆ เลย พอถึงจุดนั้นแผ่นเสียงตกร่อง

นี่กิเลสมันขุดทางไว้หลอกให้เราลงร่องนี้ เพื่อไม่ต้องการให้เราข้ามฝั่งไปเป็นสมาธิ ส่วนใหญ่กิเลสเป็นอย่างนี้ ฉะนั้นเวลาถ้าแผ่นเสียง เราใช้คำว่าแผ่นเสียงตกร่อง ถ้าแผ่นเสียงตกร่องนะ เราต้องพุทโธๆๆๆ เกลื่อนจนไหล่เข็มเวลามันจะลงไปนี่ มันจะผ่านแผ่นเสียงนั้นเข้าไปเลย มันจะไม่ให้เกินว่าหายร่องนั้น แต่ถ้าไปลงร่องนั้น ร่องนั้นจะลึกไปเรื่อยๆ แล้วพอร่องนั้นมีแล้วนะ ทีนี้แก้ยากหน่อยหนึ่ง ฉะนั้นต้องพยายามผ่านตรงนี้ให้ได้ ประสาเราก็พุทโธๆๆๆ มันจะว่างอย่างไรก็พุทโธ ว่างก็เป็นเรื่องของมึง พุทโธเป็นเรื่องของกู พอพุทโธๆๆๆ ไปนะ เดี๋ยวมึงไม่รู้จักว่างเดี๋ยวกูก็เรื่องของกูนี่ เดี๋ยวมันว่าง มันว่างด้วยตัวกูเองนี่ มันจะ อื้อหือ..

โยม ๑ : คือไม่จำเป็นต้องพึ่งสมาธิใช่ไหมครับ คือ พุทโธๆๆ ไปนี่ ช่วงที่พุทโธๆ

หลวงพ่อ : แล้วเอาสมาธิที่ไหนมาพึ่งๆ

โยม ๒ : พุทโธนั่นเป็นอุบายใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : ใช่..ไปเอาสมาธิที่ไหนมาพึ่ง มันไม่ต้องพึ่งอะไรเลย ก็พึ่งพุทโธนี่ไง พุทโธเป็นคำบริกรรม เราบริกรรมว่าพุทโธๆๆ จิตมันเป็นนามธรรม พุทโธนี่เป็นพุทธานุสติ พุทโธนี่เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้า เรานึกพุทโธ เรานึกขึ้นมา จิตมันนึกมันก็มีพุทโธ จิตไม่นึกพุทโธก็เป็นของพระพุทธเจ้า พอเรานึกพุทโธ เราพึ่งพุทโธ เรานึกถึงพุทโธ จิตเราเห็นไหม จิตเรากับพุทโธมันกลมกล่อมกัน มันพุทโธๆๆๆๆ จนพุทโธกับจิตนี้เป็นอันเดียวกัน นี่เป็นสมาธิไง สมาธิมันจะเกิดต่อเมื่อเรากำหนดพุทโธจนจิตเป็นสมาธิ และสมาธิมันไม่มี เราจะเอาสมาธิที่ไหนมาพึ่ง เอ๊อะ..กูยังไม่มีอะไรพึ่ง กูไม่มีตังค์ กูเอาตังค์เป็นที่พึ่ง กูเอาตังค์ที่ไหน ก็ปล้นมาก่อนสิโว้ย..

โยม ๓ : แต่อันนี้คือว่า เขาชอบนั่ง นั่งแล้วแบบเอาภาพอสุภะขึ้นมา แล้วก็คอยๆ ดูไปอย่างนี้น่ะครับ

หลวงพ่อ : อันนี้ไม่ใช่พึ่งสมาธิ สมาธิเป็นสมาธิ ภาพอสุภะมันเป็นมรณานุสสติเห็นไหม เรานึกถึงความตาย

โยม ๒ : ตามไม่ถูกล่ะ เราถามตั้งคำถามไม่ถูก

หลวงพ่อ : แต่นี้ถ้าเรานึกถึงภาพอสุภะ ภาพแห่งความตายนี่นะ มันก็เป็นนิมิตใช่ไหม เรานึกภาพ มันไม่ใช่ ตอนนั้นมันไม่ใช่สมาธินี่

โยม ๑ : ยังครับ ยัง พอนึกได้ปลงได้จะเป็นสมาธิหรือยังฮะ พอผมไม่คิดตรงนั้นแล้ว ก็จะว่างๆๆ

หลวงพ่อ : ว่างๆ ก็ยังไม่ถึงไง

โยม ๑ : ครับ..แล้วผมก็มาบริกรรมพุทโธเลยครับ

หลวงพ่อ : ใช่..ใช่..

โยม ๑ : แต่เมื่อกี้นี้ ที่ผมจะถามว่า พอมาว่างๆ แล้วผมก็มาบริกรรมพุทโธต่อ พุทโธๆๆๆ อย่างที่อาจารย์บอก

หลวงพ่อ : ได้..

โยม ๑ : ไม่ต้องพึ่งสมาธิเลย ไม่ต้องหันไปสมาธิ แล้วไปพุทโธอย่างเดียวเลย

หลวงพ่อ : ไม่มี! ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง ตอนนี้เอาธรรมะพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติเป็นที่พึ่ง ถ้าเราเอาอะไรเป็นที่พึ่ง จิตมันจะส่งออก เราจะบอกว่ามันไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งเลย ถ้ามันเป็นที่พึ่ง มันก็จะเกิดที่นี่ จิตมันจะเป็นสมาธิเอง ตัวจิตเป็นความสงบ อย่างที่พูดเมื่อกี้ เราว่าพุทโธนี่เป็นสมมุติใช่ไหม เราพูด ๒ วันนี้เอง

โยม ๒ : อย่างพี่นี่เขาไปอีกขั้นหนึ่งใช่ไหม อย่างผมพื้นฐาน

หลวงพ่อ : ใช่..เมื่อ ๒ วันนี้ เราพูดถึงพุทโธ เราพูดถึงคำบริกรรม เขาถามเรื่องคำบริกรรม เราเน้นคำบริกรรมตลอด อันสุดท้ายอะไรนะ “จิตต้องมีบริกรรม” เราเน้นแต่เรื่องคำบริกรรมอย่างเดียวเลย สุดท้ายพอจบเราบอกว่า “คำว่าพุทโธก็สมมุติ” เพราะว่าเราสมมุติขึ้นมา มันไม่เป็นความจริงหรอก แต่ถ้าไม่มีที่พึ่งเลยเห็นไหม อย่างที่ว่า พระพุทธเจ้าถึงกาลามสูตรไม่ให้เชื่ออะไรเลย ไม่ให้เชื่อแล้วไปไหน ไม่ให้เชื่อแล้วกูก็นอนอยู่นี่ไง

กูต้องเชื่อพระพุทธเจ้าไปก่อน เชื่อพระพุทธเจ้าไปก่อน จนถ้าเราทำจริงแล้ว เราเชื่อพระพุทธเจ้าไปก่อน จนเราทำขึ้นมานี่ เราเชื่อมั่นอะไรไม่ได้เลย ใช่.. เราจะเชื่อความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจากในหัวใจของเรา เชื่ออะไรไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่ให้เชื่อด้วย แต่ถ้าไม่เชื่อนะก็หนอนในส้วมไง ไม่เชื่อก็ไม่ทำอะไรเลย เราต้องเชื่อไปก่อน เริ่มต้นต้องเชื่อไปก่อน มันเป็นธรรมพื้นๆ เชื่อไปก่อน แต่พอเราทำขึ้นมาจนเราเป็นนะ เราเชื่ออะไรไม่ได้นะ ความเชื่อไม่ใช่ความจริง พุทโธก็ไม่ใช่ความจริง พอพุทโธๆๆ จนพุทโธไม่ได้นี่ ตัวพุทโธ อึ๊ก..พุทโธพูดไม่ได้นะมึง พุทโธ นั่นน่ะ อึ๊กๆ.. นั่นล่ะสมาธิแท้

โยม ๓ : แล้วอย่างที่นั่งๆ ไป แล้วก็มันจะมืดแล้วล่ะ แล้วเรา เอ๊ะ..ขึ้นมา นี่เราไม่ได้หายใจ แล้วก็ลมหายใจมัน ฟื้ด..ฟ้าด..อย่างนี้เป็นอย่างไรครับ

หลวงพ่อ : อย่างนี้เขาเรียกว่าถอนสมอ แต่ถ้ามันดีๆ นะ เอ๊ะ..ๆๆ ถอนสมอเลย เอ๊ะ..ก็ถอนสมอ ดูสิ..เรือจะออกก็ต้องถอนสมอไหม เรือเขาจอดไว้ก็ลงสมอไว้อย่างดีเลย

โยม ๓ : ครับ..แล้วอย่างนั่งไปตอนนั้นแบบว่า เอ่อ..เราไม่มีร่างกายแล้ว

หลวงพ่อ : เรื่องนี้เราค่อยพูดนะ เพราะถามว่าอันนี้คืออะไรก่อนไง เราจะให้เห็นภาพว่าถอนสมอ ถอนสมอคือการเริ่มต้นใหม่ใช่ไหม เริ่มต้นออกตัว เรือนี่เราจะเดินทาง เราต้องถอนสมอก่อนเดินทางใช่ไหม อันนี้ก็เหมือนกัน ไอ้ที่เรากำหนดไปเรื่อยๆ มันว่างนั่นนะ มันลงแล้วนะ อันนี้พอเรา เอ๊ะ..ขึ้นมา มันก็ถอนสมอขึ้นมา มันก็ออกมาหยาบเห็นไหม

โยม ๓ : คือถ้าตอนนั้น ลมหายใจของผม เอ๊ะ..นี่เราไม่ได้หายใจนะ แต่ร่างกายหายใจ ผมไปเพ่งตรงลมหายใจ มันฟื้ด..ฟ้าด.. เพ่งจนแบบเหมือนเรากลัวไง ไหนลองกระดิกนิ้วสิ พอกระดิกปุ๊บ.. มันไปหมดเลย

หลวงพ่อ : นั่นน่ะถอนสมอ ทีนี้คำว่าถอนสมอมันก็ไม่ผิดหรอก ไม่ผิดตรงไหนรู้ไหม ไม่ผิดว่า เอ็งจะเดินเรือเป็น เอ็งต้องวางสมอเป็น เอ็งต้องถอนสมอเป็น ถ้าเอ็งเป็นนักเดินเรือ เอ็งวางสมอไม่เป็นเอ็งถอนสมอเป็น เอ็งก็เดินเรือไม่เป็นจริงไหม

อันนี้เราก็บอกเหมือนกัน คนเรานักเดินเรือ คนเดินเรือชำนาญเวลาเขาจะเข้าเทียบท่าต่างๆ เขาจะมีความชำนาญของเขามาก ไอ้นี่เรายังไม่เคยเลย แต่พอเขาเห็นเรือจะเข้าเทียบท่าก็เกร็งไปหมด การถอนสมออย่างนี้ มันจะมีบ้างนี่คือการฝึกหัด คือ คนเรามันต้องมีประสบการณ์ จิตต้องมีประสบการณ์ จะบอกว่าจะผิดจะถูก นี่เราบอกโดยข้อเท็จจริง แต่ทุกคนต้องผ่านอย่างนี้ไง

เราถึงบอกว่า “ปฏิบัติใหม่ มันจะผิดไปหมด” ผิดไปหมดเพราะอะไร เพราะเรายังไม่เป็น จะอ่านตำราขนาดไหนก็ยังไม่เป็น ฉะนั้นถ้ามันเป็นนะ ถ้าคนเป็นนะ อย่างถ้าเวลาเราเป็น ที่เวลาเรารวมใหญ่ เรากำหนดลมหายใจๆ กำหนดลมหายใจเรื่อยๆ จนถึงที่สุดนะ เอ๊ะ.. มันหายใจไม่ได้ พอหายใจไม่ได้ ความรู้สึกมันไม่มีหรอก มันเดินไม่ได้แล้ว เราเดินบนทางจงกรม ยืน เออ..พอยืนเข้าไป มันจะยืนทรงตัวไม่ได้ นั่งลง..ยังไม่ทันถอนสมอเลย เราจะชี้ให้เห็นว่าสเต็ปของเราแต่ละขั้น เราไม่ได้ดึงสมอให้มันถอดออกเลย

ถ้าเราดึงสมอขึ้นนะ จิตมันก็จะออกมา มันจะเข้าอย่างนี้ไม่ได้ นี้พอเดินๆ มันเดินไม่ได้แล้ว เราก็ยืน พอยืนไม่ได้แล้ว เราก็นั่งลง พอนั่งลงลมหายใจมันขาด ขาดก็เชิญครับ.. เราก็ไม่กลัว เชิญครับ.. เชิญเลยครับ..

โยม ๒ : อาจารย์ แล้วต้องพิจารณาต่อไหมครับ

หลวงพ่อ : ไม่..อันนี้ขั้นของสมาธิ ขั้นของสมถะมันเป็นอย่างนี้ เราก็กำหนดไปเรื่อยๆ มันเริ่มลมหายใจขาด ทุกอย่างขาดหมด พอขาดหมด มันก็สักแต่ว่า มันเข้าไปอีกนะ คำว่าสักแต่ว่า เราลองคิดดูสิว่า เรานั่งอยู่นี่ แล้วเราไม่มีความรู้สึกเลย เป็นไปได้ไหม เดี๋ยวนะไม่มีความรู้สึกจากผิวหนังนะ แต่จริงๆ แล้ว สักแต่ว่ารู้ ใจมันรวมเข้าไปเป็นตัวหนึ่ง เป็นหนึ่งเดียว

เราถึงพูดบ่อยเห็นไหม ว่าสมาธิลึกๆ มันแยกกายกับจิตได้เลย จิตนี่แยกออกจากกายได้เลย แต่แยกออกด้วยสมาธิ ไม่ใช่แยกออกด้วยวิปัสสนา การแยกอย่างนี้ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ธรรมดาวิปัสสนา โสดาบันคือการแยกกายกับจิตออกมาโดยวิปัสสนาญาณ โดยสมุจเฉทปหาน โดยสังโยชน์ขาด แต่ถ้าแยกโดยสมาธินี่ไม่มีอะไรเลย ฤๅษีชีไพรนี่ เขาพูดเขาทำ ทำได้

ถ้าจิตมันกำหนดลมหายใจจนมันสักแต่ว่ารู้ มันปล่อยกายหมดไง คือจิตอยู่ในร่างกายมันไม่รับรู้ร่างกายนี่เลย พอไม่รับรู้ร่างกาย “อายตนะ” ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่รับรู้อะไรเลย มันทิ้งกายหมดเลย มันเป็นตัวมันเองเฉยๆ เลย ตัวของจิตเลย แล้วสตินี่พร้อมมากเลย มันจะเข้าไปเรื่อยๆ อย่างนี้ นี่เราจะย้อนกลับมา เราจะเปรียบเทียบให้เห็นการถอนสมอนี่ไง ว่าแต่ละขั้นเข้าไป ธรรมดาคนต้องตกใจ อย่างเช่นลมหายใจ อึ๊ก..ลมหายใจจะขาด เรากำลังจะตาย มันจะดึงออก

ดึงออกหมายถึงว่า น้ำ..ตะกอนในแก้วเห็นไหม มันจะอยู่ก้นแก้วใช่ไหม พอเราเขย่าทีตะกอนก็ขึ้นมาที จิตเราเริ่มสงบ ตะกอนมันก็เหมือนหินทับหญ้า ตะกอนจะอยู่ในก้นแก้ว น้ำจะใส จิตจะใสแต่พอถอนสมอปั๊บก็ขุ่น ก็พยายามทำให้มันใส มันก็ขุ่น มันเป็นประสบการณ์อย่างนี้ นี่จิตมันเป็นอย่างนี้ คนปฏิบัติใหม่เป็นอย่างนี้ นี่ตามข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน เราทำอะไรไม่ชำนาญ ทำอะไรไม่เป็นก็เป็นอย่างนี้

ไม่เป็นอย่างนี้ พอเราฝึกไป มันก็ชำนาญขึ้นเรื่อยๆ พอกำหนดไปเรื่อยๆ จนมันว่างมันก็จบไปอย่างนั้น มันว่างไปนะ ถ้าเรามีสติเราก็กำหนดลมหายใจให้มันเข้าลึกกว่านั้นอีก กำหนดลมหายใจกับพุทโธอันเดียวกัน ถ้าเกาะลมหายใจไว้ จิตจะละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ ถ้าไม่เกาะลมหายใจไว้ หรือไม่เกาะสิ่งใดไว้ มันจะขาดช่วง พอมันขาดช่วง ตัวจิตมันไม่มีแล้ว เพราะว่ามันส่งออกหมด มันส่งออกหมดเห็นไหม พอเรานึกถึงลมหายใจ ตัวจิตมาละ เพราะอะไร

เพราะตัวจิตมันเป็นฐานของสติ ปัญญา ทั้งหมดอยู่ที่จิต พอมันรับรู้ปั๊บ..นี่จิตมาแล้วมันต่อเห็นไหม ฉะนั้นพอถึงว่าเวลา นู่นไม่มี นี่ไม่มี มันจะขาดช่วง เราใช้คำว่าถอนสมอ ฉะนั้นกำหนดละเอียดๆ นี่ พอจิต ความคิดมันละเอียด เราก็อยู่กับความละเอียดนั้นไว้ แล้วก็มีสติตามไปเรื่อยๆๆ มันจะละเอียดไปเรื่อยๆ

โยม ๓ : ตามลมหายใจที่มันฟื้ด..ฟ้าด..ของมันไปเรื่อยๆ

หลวงพ่อ : เรื่อยๆ เกาะไว้เฉยๆ ทำอย่างอื่นไม่ได้เลย ต้องเกาะอย่างนี้ เกาะไปเรื่อยๆ

โยม ๓ : อย่างนั้นคือจิตมันจะรวมเหรอครับ

หลวงพ่อ : อ้าว..ว่าไป

โยม ๓ : หมายถึงว่า ผมได้ยินเขาว่า เออ..ถ้าจิตมันจะรวม มันจะสว่าง

หลวงพ่อ : ว่าไป

โยม ๓ : แต่ของผมมันมืดหมดเลย

หลวงพ่อ : ไม่เกี่ยว สว่างกับไม่สว่างไม่เกี่ยวกับจิตรวม “จิตรวมคือจิตรวม” สว่างนั้นเกิดจากผล จากจิตที่มันมีบารมี จิตที่ไม่มีบารมีมันรวมเฉยๆ ไม่สว่าง คำว่าสว่างหรือไม่สว่าง มันอยู่ที่บารมีของจิต “พันธุกรรมทางจิต” คนเราบารมีมันต่างกัน เอ็งมีน้ำหนักตัวขนาดนี้ เอ็ง SIZE นี้ เอ็งต้องใช้เสื้อผ้า SIZE นี้ แล้วคนที่เขาผอมกว่าเล็กกว่า เขาจะใช้เสื้อผ้า SIZE เอ็งได้ไหม ไม่ได้..

จิตของคนมีกำลังมาก กำลังน้อย จิตคนที่มีกำลังมากใช้ SIZE ใหญ่ มีกำลังมากกว่า เวลาจิตมันลงมันสว่าง มันลงปั๊บแล้วมันสว่างไสวของมัน ไอ้นี่จิตมันเล็กกว่า จิตมันไม่มีกำลังมากกว่า พอมันสว่างก็สว่างแต่พอตัวของมันเห็นไหม คำว่าสว่างๆๆ ไม่ใช่กฎตายตัว มันเป็นว่าความรับรู้เราว่า สงบหรือไม่สงบต่างหากล่ะ

โยม ๓ : อย่างนั้นตอนนั้นคือก็ไม่มีอะไรเลย ตอนนั้นแล้วก็

หลวงพ่อ : เออ..

โยม ๓ : ลมหายใจ มันแปลกใจ

หลวงพ่อ : ไม่มีอะไรเลย แต่ต้องมีสติพร้อม

โยม ๓ : มีครับ แต่ตอนนั้นคือแปลกใจว่า ทำไมลมหายใจ เอ๊ะ..นี่เราไม่ได้หายใจนะ แต่ว่าทำไมร่างกายมันหายใจ มันละเอียด แล้วก็จับลมหายใจได้ มันฟื้ด..ฟ้าด..

หลวงพ่อ : ถ้าเอ็งจะเอาแสงสว่างเป็นสมาธินะ ตอนนี้งานในหลวง โอ้โฮ..สว่างไสวหมดเลย โอ้โฮ..ไฟสว่างจ้าเลย โอ้โฮ.. อันนั้นคือสมาธิหมดเลย

โยม ๓ : ไม่เคยเห็นครับว่าจิตเป็นอย่างไรครับ มันมืดหมดเลยครับ

หลวงพ่อ : ใช่..มืดหรือไม่มืดไม่เกี่ยว เกี่ยวกับว่าจิตเรามีหลักไหม สงบไหม เพราะไอ้มืดหรือไม่มืดนะ เดี๋ยวพอจิตสงบแล้ว เดี๋ยวมันจะหายไปเอง

โยม ๒ : แล้วกรณีที่ตัวรู้มันเด่นๆ นะครับอาจารย์ แล้วลมหายใจมันเบามาก เบาจนรู้สึกว่ามันเบา

หลวงพ่อ : ใช่..

โยม ๒ : มันเบาไปเรื่อยๆ แล้วตัวรู้มันจะเด่น

หลวงพ่อ : ได้..เด่นขึ้นได้ ร้อยแปด..ทุกคนมีอาการที่แปลกแตกต่างกันร้อยแปด ข้อเท็จจริงของการปฏิบัติมันเป็นอย่างนี้ ไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีกฎตายตัว

โยม ๓ : แค่นี้.. ผมก็มหัศจรรย์แล้วนะครับ วิธีการก็คือต้อง... เคยทำได้ ก็ไม่ได้แล้วครับ พอนึกจะทำก็ไม่ได้แล้ว

หลวงพ่อ : ไม่ได้..ต้องทำไปด้วยเหตุไง ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เราถึงบอกว่าคนสมาธิเสื่อมๆ พยายามรักษาสมาธิไว้ เอ็งรักษาสมาธิอีกร้อยชาติก็ยังไม่ได้

โยม ๓ : ผมพยายามนึกอารมณ์นั้น พยายามทำให้ได้ มันก็ไม่ได้

หลวงพ่อ : กลับ! กลับมาตรงนี้สิ..กลับมาที่..กลับมา..เอ็งยิ่งนึกเอ็งยิ่งไม่ได้เลย เอ็งต้องกลับมาที่ว่า เอ็งสร้างเหตุอย่างไร คือว่า เอ็งกำหนดลมหายใจอย่างไร

โยม ๒ : คือเริ่มต้นใหม่

หลวงพ่อ : กำหนดลมหายใจอย่างไร กำหนดเกาะไว้ตรงนั้น กำหนดลมหายใจอย่างไร อยู่กับลมหายใจนั้น เหตุทำให้จิตสงบ ถ้าจิตสงบไปเอาที่สมาธิ..สมาธิเสื่อมหมด ถ้าจะเอาสมาธินะ รักษาที่เหตุไว้นะ สมาธิจะวิ่งเข้ามาหามึงเอง

โยม ๓ : เพราะตอนนั้นคือไม่ได้ตั้งใจครับ ว่างๆ แล้วก็นั่ง นั่งแบบสบายๆ ไม่ได้คิดอะไร

หลวงพ่อ : ส้มหล่นไง

โยม ๔ : ซีดี “ส้มหล่น”

หลวงพ่อ : ได้หรือยัง

โยม ๔ : ยัง..ได้..แต่แจกไปหมดแล้ว หนูเอาไปให้ตำรวจ

หลวงพ่อ : ได้ไปแล้วเหรอ

โยม ๔ : ครับ แต่อันนี้ได้ไปแล้ว คือแจกไปให้เขา เหลืออยู่แผ่นเดียว

หลวงพ่อ : อันใหม่นี่ “จิตต้องมีบริกรรม”นี่ มี “ส้มหล่น”

โยม ๔ : หนูจำได้ให้ตำรวจไป ยังฟังไม่จบ

โยม ๓ : ลูกฟลุคทีเดียวแล้วก็หายไปเลย แต่ถ้าทำอีกจะไม่ได้แล้ว เพราะว่าบางที เวลาภาวนาแล้ว มันก็จะเป็นอย่างที่อาจารย์บอกหลายครั้ง แต่มันก็ไม่เสมอ บางทีปีทั้งปีจะสงบสักครั้งหนึ่งก็มี ปีทั้งปีมันรู้สึกว่ามันเบา ตัวรู้มันจะเด่นขึ้นมา

หลวงพ่อ : ถ้ามันสงบสักครั้งนี่นะ เราต้องอย่างนี้ด้วย เวลาจิตมันสงบแล้ว เรามีหลักแล้วเราออกใช้ปัญญา ออกใช้ปัญญาก็อย่างใช้ที่ว่านี่ ใช้ที่เขาทำนี่อสุภะ เอาอสุภะเปรียบเทียบ

โยม ๒ : พิจารณาไปเองใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : ใช่..พิจารณาไปเอง นี่มันเป็นการฝึกปัญญา “ปัญญาต้องฝึก” ถ้าพิจารณาไปเองแล้ว พอเราพิจารณาไปเอง จิตมันจะสมดุล จิตมันจะกลมกล่อม จิตมันจะไม่ไปโลกๆ ไง พอจิตมันสมดุลกลมกล่อม มันก็รักษาจิตไว้แล้ว หลวงตาใช้คำนี้

โยม ๒ : มันจะประคองจิตไว้

หลวงพ่อ : ใช่..พอประคองจิตไว้กลับมาพุทโธ กลับมากำหนดลมหายใจมันก็ง่ายขึ้น มันส่งเสริมกันไง แต่นี้พวกเราไปนอนใจ ต้องพุทโธอย่างเดียว ต้องทำสมาธิอย่างเดียว แล้วทุกคนจะบ่นว่า “แล้วเมื่อไหร่จะได้ใช้ปัญญาล่ะ” ปัญญานะมันฝึกได้ มันใช้ได้ แต่เรารู้อยู่นะว่าปัญญาอย่างนี้เป็นปัญญาอบรมสมาธิ คือปัญญา โลกียปัญญา ปัญญาเพื่อความสงบของใจ ไม่ใช่ปัญญาฆ่ากิเลส

มันใช้ได้ มันต้องฝึกมาจากตรงนี้ แต่นี้พอบอกคำว่าปัญญาไป ไอ้ที่เราบอกว่าโลกียปัญญา โลกุตตรปัญญา เราชี้ให้เห็นภาพชัดว่าความเข้าใจว่า นี่เป็นปัญญาฆ่ากิเลส ปัญญาธรรมะมันยังไม่ใช่ มันเป็นปัญญาโลกๆ มันเป็นปัญญาสามัญสำนึก แต่! แต่เราตรึกในธรรม มันก็เป็นการฝึกหัดที่ว่า เริ่มต้นนี่ต้องทำอย่างนี้ทั้งนั้น

โยม ๑ : พื้นฐานใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : ใช่..ปัญญาอย่างนี้ใช้ได้ ออกมาใช้ปัญญาอย่างนี้ ใช้เสร็จแล้ว พอใช้ปัญญาใคร่ครวญแล้ว เราก็กลับมาพุทโธๆๆ ต่อ แล้วพุทโธๆๆ ต่อ พอออกมานี่ มันยังไม่ได้ เราก็ใช้ปัญญาเราไปเรื่อย พอใช้ปัญญาไปเรื่อยมันจะทำให้เราขยัน คือมันทำให้เรามีสิ่งเปรียบเทียบ คืออันนี้ดีๆ คือทำให้เรามุมานะ มันส่งๆ แล้วพอส่งขึ้นไป พอปัญญาโลกุตตรปัญญาไป พอเกิด นี่ปัญญาโลกใช่ไหม นี่เป็นสมาธิ พอเกิดปัญญาโลกุตตระปั๊บ มันจะฟ้องเลยว่าปัญญานอก กับปัญญาใน มันต่างกันอย่างไร

ปัญญานอก คือ ปัญญาสามัญสำนึก ปัญญาของมนุษย์ ปัญญาใน ในสมาธิ ปัญญาในในสมาธิที่เป็นสมาธิแล้วมันเกิดจากสมาธินี่ โอ้โฮ..มันถอดมันถอน แล้วมันจะรู้เลย เอ้ย..มันต่างกันอย่างนี้นะ ถ้าใครทำอย่างนี้ได้นะ มึงจะกลับมาฟังซีดีกู อื๋ม..ๆ เลยนะ แต่ตอนที่ฟังซีดี หลวงพ่อพูดอะไรวะนี่ กูไม่เข้าใจนะ แต่ถ้ามันได้กลับมานะ เพราะอันนั้นเป็นชื่อ ความจริงมันเกิดกับเราไง เออๆๆ

โยม ๒ : มันเป็นแนวทาง

หลวงพ่อ : เออ..อันนั้นเป็นชื่อ เป็นนิทานบอกพวกมึง

แต่ถ้าเราทำขึ้นมาจริง เออ..นิทานมันก็มีเรื่องจริงนี่หว่า..เออ..นิทาน นิทานก็มีความจริงนะโว้ย..นี่ฐานของความจริงมันเกิดไง ถ้าถึงอันนั้นปั๊บนะ เราจะไม่พูดอย่างที่เขาทำกัน เราถึงกลัวกันเห็นไหม อย่างที่เขาภาวนากันโดยสูตรสำเร็จ ทุกคนต้องเป็นอย่างนี้ๆ โอ้โฮ.. ไม่ใช่ทหารนะเว้ย..

โยม ๑ : เคยบวชอยู่ที่วัดอโศฯ สัก ๒๐ ปีแล้วครับ อาจารย์ครับ แล้วก็พอสึกออกมาแล้ว ก็ยังมาปฏิบัติมา แต่ว่ามันก็เดินหน้าบ้าง อยู่กับที่บ้าง ถอยหลังบ้าง หลายปีอาจารย์

หลวงพ่อ : ก็ยังดี

โยม ๑ : แล้วก็..บางทีก็จะเป็น ตอนที่บวชมาใหม่ๆ ก็ยังดีๆ แต่ตอนนี้ก็รู้สึกว่าจิตก็กลับมารวมได้บ้าง

หลวงพ่อ : ใช่..

โยม ๑ : แต่ก็ไม่ได้ทิ้งครับอาจารย์ ก็ยังทำอยู่เสมอๆ

หลวงพ่อ : ทำอย่างนี้เงินทองเรา นี่ทรัพย์ภายใน อันนี้มันติดอยู่กับจิต ไอ้ทรัพย์ภายนอก มันทรัพย์สาธารณะ

โยม ๑ : ผมเชื่อมั่นแน่นอนครับ เพราะว่าทำอยู่เป็นประจำ

หลวงพ่อ : ใช่..

โยม ๑ : ทุกวันนี้ไม่เคยทิ้งเลย

หลวงพ่อ : ถ้าอันนี้มันมีนะ อันนี้มันมี ดูสิ.. อันนี้สมมุติเลยนะ เรานั่งกันอยู่นี่ บอกตรงนี้ ต้องตายหมดเลยพวกนี้ พวกเรานี้ต้องตายหมด ตายหมดเลย อ้าว..ใครตกใจบ้างล่ะ แล้วจะไปกันอย่างไร แต่ถ้าคนมันพร้อมแล้วนะ ตายเหรอ เออ..ตายก็ตาย กูพร้อมแล้วเห็นไหม จิตที่มันเป็นแล้ว มันจะเป็นอย่างนี้ จะตายที่ไหน จะตายเมื่อไร จะอะไรมันพร้อม แต่ถ้ามันไม่พร้อม เพราะเราไม่ได้ฝึกไว้ มันไม่พร้อมนะ ตายเหรอ แล้วกูจะทำอย่างไรล่ะ แล้วกูจะเอาอะไรไปด้วยล่ะ แล้วกูจะไปเจออะไร กูก็ยังไม่รู้

แต่ถ้าเราทำนี่ คือ ทรัพย์ภายใน ถ้ามีทรัพย์ตัวนี้นะ ทรัพย์ภายนอก มันก็จำเป็นในการดำรงชีวิต แต่ทรัพย์ภายในมันจะไปในวัฏฏะ มันพร้อมเสมอที่จะไปที่ไหนก็ได้ แต่ถ้ามันสิ้นกระบวนการไปแล้วนะ มันรู้หมดเลย ตาย.. ตายเหรอ ตายก็ดีไง กูจะได้ไปสักที

โยม ๔ : อาจารย์ แล้วอย่างนี้หนูไม่ทันแล้ว ถ้าเกิดตายแล้วเกิดใหม่จะได้เจอพระ...

โยม ๓ : (เสียงหัวเราะ) กลัวไม่ทัน..

หลวงพ่อ : มันอยู่ที่นี่ไง อยู่ที่เราตั้งปฏิภาณ เขาเรียกสายบุญสายกรรมเห็นไหม หลวงตาใช้คำนี้ หลวงตาบอกว่าท่านออกมาช่วยโลก คนที่เชื่อถือศรัทธาก็มี คนที่คัดค้านก็มี พวกเชื่อถือศรัทธา มันเป็นสายบุญสายกรรม คือ เคยทำบุญร่วมกันมา เหมือนเราเป็นเพื่อนกันเป็นพรรคพวกกันมา พอไปเจอกันสังเกตไหมว่า โอ้ย..คนนี้ถูกชะตาโว้ย.. คนนี้เหม็นหน้ามาก นี่ไงสายบุญสายกรรม ถ้าเราทำตรงนี้ขึ้นมา มันจะได้ตรงนี้ไง คือว่าถ้าเราคิดอย่างนี้ปั๊บ ที่เราพูดบ่อยเห็นไหม ใครบอกว่า อยากจะไปเจอ เกิดพร้อมพระศรีอารย์ กูถามว่ามึงมีสิทธิอะไร ก็คิดเอาเองไง แต่ถ้ามึงทำบุญแล้วมึงอธิษฐาน มึงตั้งใจ คือ มันต้องมาจากเหตุไง

โยม ๒ : ทำบุญไปเรื่อยๆ

หลวงพ่อ : ใช่..

โยม ๒ : สร้างบารมีไปเรื่อยๆ

หลวงพ่อ : ใช่..ถ้าเราสร้างเหตุใช่ไหม เรามีเหตุแล้ว ผลมันเกิดเองใช่ไหม อันนี้บอกว่าอยาก กูจะเกิดพร้อมพระศรีอริยเมตไตรย แล้วทำอะไรล่ะ กูนั่งกระดิกตีนอยู่นี่ไง เออ.. แล้วมึงจะได้เจอ ก็จะเจอตีนมึงนั่นล่ะ มันไม่เจอพระศรีอริยเมตไตรยหรอก มันต้องมีเหตุสิ ทุกอย่างมาแต่เหตุ ถ้าเรากลัวอย่างนี้นะ เราก็อธิษฐานสิ

“เราทำอะไรขอให้ความดีนี้พาไปสู่ที่ดี ทำบุญกุศลแล้วบุญกุศลขอให้พาเราไปเจอที่ดี ถึงจะต้องเกิดอีก ก็เกิดในสังคมที่ดี”

โยม ๑ : เจอคนที่ดี จริงๆ แล้วคือว่า จริงๆ แล้วถ้าเราทำความดี ทำพัฒนาจิตไปเรื่อยๆ ไม่ต้องไปตั้งใจ มันก็ต้องไปตามเส้นทางของมันอยู่แล้ว

หลวงพ่อ : ใช่..ก็เหตุไง

โยม ๑ : เพราะเราทำเหตุไว้แล้ว

หลวงพ่อ : ใช่.. มันอยู่ที่เหตุไง เราสร้างที่เหตุไว้ ไม่ต้องไปตกใจสิ อันนี้ไปตกใจ มันก็ไปโน่นเลย ก็นี่ไงสุคโตต้องสุคโตที่ปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ดีมันก็ไปดีหมด ไอ้นี่อยากจะไปดีเลยน่ะ แต่ตอนนี้ทำอะไรไม่ถูกเลย ก็หวังดีไว้โน้น แต่นี่ก็ไม่ทำอะไรเลย ไม่มีเครื่องรับกลับ เราทำของเราอย่างนี้ ไม่ต้องไปตกใจ ทำดีของเราไป

โยม ๓ : ได้แค่ไหน แค่นั้น

หลวงพ่อ : ใช่..ทำดีของเราให้ถึงที่สุด เราทำแต่ความดีของเรา แต่ที่เราพูดเราใช้คำนี้จริงๆ นะ แล้วเวลาเราเทศน์เราสอนใหม่ๆ เห็นไหม “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมะย่อมคุ้มครอง” แล้วทำแต่ความดี แต่ทำความดีมันก็มีมารใช่ไหม เราทำความดีใหม่ๆ โอ้โฮ..โดนแกล้ง โอ้โฮ..โดนกระทืบ แต่มันก็ไม่ทิ้งนะ อ้าว..กระทืบกูไป เดี๋ยวนี้คนที่เขากระทืบนะ เสียใจหมด เพราะอะไร เพราะว่ามันกระทืบ กูไม่ยุบ มึงเจ็บตีนเปล่าๆ มึงยิ่งกระทืบ ตีนมึงเป็นแผลนะมึง กูโดนกระทืบ กูไม่สนใจหรอก แต่นี่เวลาพูดนิสัยเราเป็นอย่างนี้ พูดตรงๆ

แต่เวลาใครทำอะไรทำเถอะ เวลาพูดต้องหารอย่างนั้นๆ แต่เราก็จบนะ ไม่เคยไปยุ่งกับใครเลย อย่างที่เวลาเราพูดเรื่องนั้นเห็นไหม เขากลัวไง เขาบอกว่าต้องไม่ให้ “ใครชี้ไม่ได้นะ ต้องพระพุทธเจ้าองค์เดียวนะ” เรารู้ว่า เขาคิดว่าเราจะออกไปรุกราน ไม่หรอก เพียงแต่ว่าที่เราพูดนี่ มันต้องมีสัจจะบ้าง สัจจะให้คนเกาะเกี่ยวบ้าง เอ็งพูดแต่อธรรมอย่างนี้ อธรรมคือความไม่จริงไง แล้วคนไปเกาะเกี่ยวกับความจอมปลอมอย่างนั้น มันจะไปไหนกันหมด กูก็เสนอสิ่งที่เป็นจริงขึ้นมาเพื่อให้สังคมเขาได้เกาะบ้าง กูทำแค่นี้เอง แล้วทีนี้ความจริงกับความไม่จริง มันจะพิสูจน์กันเอง กูไม่ออกไปแอ่นแอ๊น..ๆ กับพวกมึงหรอก รับประกันได้ว่า กูไม่ออกไปหรอก

โยม ๒ : ไม่ได้ไปแสดงตัว

หลวงพ่อ : ไม่มี..กูไม่เคยออกไปยุ่งอะไรกับสังคมหรอก กูไม่ไปหรอก ปัดโธ่.. เขามาลากกูไป กูยังไม่ไปเลย นับประสาอะไรจะให้กูไปล่อกับพวกมึง กูไม่ไปหรอก

โยม ๓ : ก็มีโยมอุปัฏฐากของท่านพระอาจารย์..... เขาก็อ่านหนังสือของพระ.....ครับ มีอยู่ว่ามีในหนังสือ มีโยมเขาถามว่า เอ่อ.. สมาธิ ภาวนา ปัญญา ๓ อย่างนี้

“ละสมาธิไม่ต้องทำได้ไหม” เขาบอกว่า “ได้”

“ภาวนาไม่ต้องทำได้ไหม” “ได้”

แล้วโยมอุปัฏฐากเขาก็ถามอาจารย์.....ว่า แล้วอย่างนี้ มันผิดหรือเปล่า ผิดแล้วผิดตรงไหน ผิดตรงนี้ไง ที่ตรงละไอ้ ๒ ตัวนี้ออก

หลวงพ่อ : นี่เขาใช้คำพูดอย่างนี้ เขาบอกว่า สมาธิ ปัญญา ภาวนา ใช่ไหม ให้ละภาวนา ละสมาธิไปใช่ไหม เขาคงคิดว่าปัญญาคือตัวหลักไง

โยม ๒ : อย่างนี้มันไม่ได้นะครับ ปัญญาไม่ได้เกิดจากสมาธิ ไม่ได้เกิดจากอะไร ไม่มีทาง

หลวงพ่อ : นี่ไงส่วนใหญ่ คนที่เขาพูดกัน ที่เขาพูดกันอย่างนี้เพราะอะไร เราต้องจับอุดมคติ คือ จับโลกทัศน์ คือ จับวิสัยทัศน์เขาก่อน ความคิดอะไรที่ทำให้เขาเป็นอย่างนี้ เพราะเขาเป็นอย่างนี้ ถึงบอกว่า สติก็ไม่ต้องทำ สมาธิก็ไม่ต้องทำ อะไรก็ไม่ต้องทำ

โยม ๒ : มิจฉาทิฏฐิ

หลวงพ่อ : มิจฉาสิ เพราะเขาพูดอย่างนี้ปั๊ป เขาก็ย้อนกลับมาที่ปัญญาเด่นใช่ไหม ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เราถึงพูดว่า “ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา” ปัญญาของใคร? เขาคิดว่าปัญญา เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เขาก็เลยมั่วกันอยู่นี่เพราะอะไร เพราะเขาใช้โลกียปัญญา ปัญญาอย่างนี้มันมีโดยสถานะของมนุษย์ แต่มันไม่เป็นศาสนธรรมของพระพุทธเจ้า

ศาสนธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้าจะบอกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา มันต้องมีศีลเป็นพื้นฐาน “ถ้าไม่มีศีลเป็นพื้นฐาน ทำสมาธิได้ไหม” “ได้” ทำสมาธิได้แล้วเพราะไม่มีศีลใช่ไหม ศีลเป็นพื้นฐาน ศีลเป็นสีละคือการเป็นปกติ ถ้าศีลไม่มีพื้นฐาน ทำสมาธิขึ้นมาก็เป็นมิจฉาสมาธิ คือ เป็นสมาธิดำ ทำคุณไสยกัน ทำมนต์ดำกัน ฤๅษีชีไพรที่เขาเหาะเหินเดินฟ้าได้ เขาก็เกิดจากสมาธิเหมือนกัน แต่เพราะไม่มีศีลเป็นพื้นฐาน

แต่ถ้ามีศีลเป็นพื้นฐานเห็นไหม ศีลเป็นพื้นฐาน เกิดสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิเพราะอะไร เพราะพื้นฐานที่เป็นศีล ๕ ใช่ไหม ปาณาติปาตาไม่เบียดเบียนไม่ทำลายกัน นี่เราได้สมาธิมา เขาบอกว่า บ้านนี้เขามีความสุข ทำคุณไสยให้มันแตกแยกกัน กูไปทำให้เขาแตกแยกกัน มันผิดศีลไหม ผิดสิ..ผิดเป็นปาณาฯนี่ไง ปาณาติปาตาเขาบอกว่าฆ่าสัตว์ให้ตกล่วง ไม่ใช่.. คำพูดส่อเสียดให้เขาเจ็บช้ำน้ำใจนี่ก็คือ ปาณาฯ เบียดเบียนเขานี่ก็เป็นปาณาฯแล้ว

ถ้ามีศีลเป็นพื้นฐาน เป็นสมาธิขึ้นมามันจะเข้าสู่สัมมา คือเข้ามาชำระล้างกิเลส ไม่ได้ไปทำลายใคร “การฆ่าที่ประเสริฐคือการฆ่ากิเลสอย่างเดียว” มันต้องมีศีล มีสมาธิ มันถึงเกิดโลกุตตรปัญญา แต่ถ้าไม่มีศีล สมาธิ มันเป็นโลกียปัญญา ปัญญาของกิเลสไง ปัญญาที่เกิดขึ้นมา เกิดจากจิต ปัญญาในคอมพิวเตอร์ไม่มี ทุกอย่างไม่มี โลกนี้ไม่มีปัญญา

ปัญญาความคิดเกิดจากฐีติจิต เกิดจากภวาสวะ เกิดจากภพ เกิดจากจิต จิตเป็นที่ตั้ง จิตเป็นสิ่งที่ให้ทุกอย่างเกิดจากจิต เพราะอย่างเกิดมันต้องเกิดจากจิต เพราะปฏิสนธิจิตถึงเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เกิดจากฐานของจิตทั้งหมดเลย แล้วฐานของจิตนี้มันเป็นอวิชชา มันเป็นมารควบคุมอยู่ มารมันควบคุมจิตนี้อยู่ เพราะจิตปฏิสนธิจิต โดนมารกับอวิชชามันไปด้วยกัน

ทีนี้สิ่งที่ปัญญาเกิดขึ้นจากมาร เกิดขึ้นจากภวาสวะ เกิดขึ้นจากภพ มันถึงเป็นปัญญากิเลสหมดไง แล้วบอกปัญญาๆๆ ปัญญาของใคร ปัญญาของกิเลส หรือปัญญาธรรมะ เขาถึงพูดอย่างเอ็ง ที่มึงพูดได้ เพราะนี่ไงเราถึงพูดบ่อยว่า ไอ้เรื่องอย่างนี้ พอเอ็งพูดว่ากูมันไปรอบ หรือไปรอบเพราะอะไร เพราะโลกทัศน์ ความคิดทางอุดมคติเขาเป็นอย่างนี้ เขาถึงสอนผิดๆๆๆ หมด เพราะเขาสอนมาจากกิเลสของเขา

โยม ๒ : อย่างนี้มันผิดมาตั้งแต่เริ่ม ใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : ใช่..ถ้าผิดมาจากนี้แล้ว เอ็งคิดว่าเดินทางผิด มันจะมีมรรคผลไหม

โยม : ไม่มี..

หลวงพ่อ : แล้วพอบอกว่าไม่มี แล้วเอ็งจะมีได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้..

โยม ๓ : อย่างนี้ เจ้าตัวเขาก็ต้องรู้สิครับ

หลวงพ่อ : รู้สิ!

โยม ๓ : อย่างนี้เขาขี่หลังเสือ

หลวงพ่อ : ใช่..ต้องรู้ เราถึงบอกว่าเขารู้ตัว ลูกศิษย์เขาก็มาถามว่า หลวงพ่อเขารู้ตัวไหม รู้.. รู้แล้วเจตนาออกมา แกล้งอวดโง่ด้วย ถ้ารู้แล้วไม่ออกมามันก็ไม่มีปัญหาไง รู้.. พอรู้แล้วออกมา พอออกมามันก็เหมือนกับสร้างตึก มันต้องมีนั่งร้านขึ้นมา สร้างนั่งร้านของเขาขึ้นมาแล้วก็ไปเหยียบ แล้วก็ไม่ได้เหยียบธรรมดาด้วย เมื่อก่อนนี้ที่เอ็งเอาหนังสือมา ที่เราออกมาพูดเพราะหนังสือ พุทโธก็ตัวแข็ง พุทโธเป็นฌาน ๒ ไอ้ห่า.. มันบอกว่าพุทโธเป็นฌาน ๒ แล้วมึงเสือกใช้ดูจิตจนรู้สามัญลักษณะแล้วลงฌาน ๔ ฌาน ๒ มึงบอกว่าผิด! แต่มึงบอกปัญญามึงจะเกิดที่ฌาน ๔ ฌาน ๔ มันจะเกิดปัญญาได้อย่างไร

นี่เพราะความไม่รู้ไง เพราะเขาบอกเขาดูถูกฌาน ๒ ดูถูกพุทโธหมดเลย เพราะกูเห็นอย่างนี้บ่อยมาก กูถึงสวนออกไป พอสวนออกไปปั๊บ..ทีแรก โธ่..เรื่องนี้เห็นมาตลอดแต่ไม่พูดๆ มันไม่ใช่เรื่องอะไรของเรา แต่พอที่เขาพูดเพราะมันเหยียบย่ำพระพุทธเจ้ามากเกินไป เหยียบย่ำพุทโธมากเกินไป พออย่างนี้ปั๊บ พอเขาไม่รู้ขึ้นมา เพราะเขาไม่รู้เรื่องธรรมะ แต่เขารู้เรื่องตัวเขาว่า เขาควรพูดอย่างไร เขาถึงเก็บธรรมะของครูบาอาจารย์มาเรียบเรียงแล้วพูด เขาคงคิดว่าพูดธรรมะแบบครูบาอาจารย์ มันต้องถูกหมดไง

เหมือนกูยืมคำพูดเอ็งมาพูด นี่บ้านเอ็งก็มีร้านอาหารเขาบอกว่า เขาทำอาหารอร่อยมากเลย แต่มึงทำอย่างไร มึงบอกกูมาสิ แล้วกูก็บอก กูทำอาหารอร่อยมากเลย แต่กูทำไม่เป็นนะ กูทำไม่เป็นเพราะกูไม่เคยทำ เราก็พยายามจำของครูบาอาจารย์มาพูด เพราะกูพูดคำเดียวกันนี่ มันต้องไม่ผิด แต่เขาไม่ใช่นักปฏิบัติ นักปฏิบัติ เขาฟังรู้ อยู่บ้านเอ็งทำอาหารเอ็งทำได้คล่องตัวเลยนะ แล้วเอ็งบอกให้กูทำบ้าง กูจับไม่ถูกเลย ไอ้อย่างมีดก็จับมาฟันใส่หน้าเลย กูฟันขาหมู ฟัน ผลัวะ..ใส่หน้าเลย ใครเห็นเขาก็หัวเราเยาะทั้งนั้นล่ะ

โยม ๓ : แล้วอย่างนี้ เขาสอนผิดอย่างนี้เขาไม่ตกนรกหรือครับ

หลวงพ่อ : ไอ้ตกนรกมันตกนรกแน่นอน ไอ้เรื่องตกนรกนี่ แน่นอน!

โยม ๓ : เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ

หลวงพ่อ : เพราะชักนำคนผิดนะ ทีนี้ไอ้เรื่องนรกหรือไม่นรกนี่ มันอยู่ที่ตัณหาความทะยานอยาก อยู่ที่กิเลสมันใหญ่กว่า กิเลสในหัวใจของคนๆ นั้น กิเลสคือความอยากดัง อยากใหญ่ มันใหญ่กว่าความสำนึกที่กลัวนรกหรือไม่กลัวนรกไง

แต่ตามข้อเท็จจริง นรกก็คือนรก สวรรค์ก็คือสวรรค์ ทำดีแล้วไปสวรรค์ ทำชั่วต้องตกนรกเด็ดขาด แต่เพราะตัณหาความทะยานอยาก ตัณหา คือ อยากดังอยากใหญ่มันปิดหูปิดตา ถ้าพูดออกไปอย่างนี้คนฟังแล้วเข้าใจเห็นดีเห็นงาม เขาก็จะว่าตัวเองว่า ข้านี้ดัง ข้านี้ใหญ่ แต่ไม่ได้คิดหรอกว่าสิ่งที่พูดออกไป แล้วมันจะเป็นจริงหรือไม่จริง เพราะตัวเองไม่เป็น

ถ้าคนที่เป็นเห็นไหม ถ้าเป็นอย่างนี้หลวงปู่มั่น โถ.. ท่านพยายามสร้างพระสร้างแล้วสร้างอีก แล้วถ้ามันสร้างง่ายๆ อย่างที่เขาทำนะ หลวงปู่มั่นจะมีพระอรหันต์ทั่วประเทศไทยเลย นั่นคือว่าศักยภาพแบบหลวงปู่มั่นยังทำไม่ได้ แล้วศักยภาพอย่างนี้มาทำ มันก็ใช้ตรรกะอย่างนี้ออกมาทำ ฉะนั้นรู้ไหมเรามั่นใจว่า รู้.. อย่างเรานี่ทำอะไรไม่เป็น ก็กูไม่เป็นโดยตัวกู ใครจะมาบอกว่ากูเป็นหรือไม่เป็น ก็กูรู้อยู่ว่ากูไม่เป็น ทีนี้เพียงแต่ว่า กูรู้ กูไม่เป็น เพียงแต่ว่ากูเสือกพูดเก่งหน่อยหนึ่ง กูก็พูดแจ้วๆ ไอ้ห่า..มึงก็เสือกฟังกู กูถึงว่าสังคมไทย โง่ฉิบหายเลย

โยม ๓ : อย่างนี้เขาสอนกันผิดๆๆๆ อย่างนี้ คนปฏิบัติผิดๆ อย่างนี้ ก็เป็นกรรมของเขา

หลวงพ่อ : เป็นกรรมมาก มิจฉาทิฐิ เพราะถ้าไม่เป็นกรรมมาก พระพุทธเจ้าก็ไม่พูดไว้ในสามเณร ที่ว่าพระหรือสามเณรเห็นผิดในพุทธศาสนา ในปาฏิโมกข์มีนะ ที่เวลาพระเห็นผิดแล้ว แล้วให้พระ พระพุทธเจ้าสั่งให้พระไปสวด สวด หมายถึงว่าให้ปรับความเห็นนี้ ถ้า ๓ ครั้งไม่ยอมรับให้ปรับอาบัติใช่ไหม แล้วปรับอาบัติเสร็จแล้ว ห้ามพระทุกองค์ไปคุยด้วยเพราะพระพุทธเจ้ากลัวว่า ไอ้ความเห็นผิดๆ นี้มันจะแทรกเข้ามาในศาสนา

ในปาฏิโมกข์ก็มีพระองค์หนึ่ง เณรองค์หนึ่ง แล้วพอเห็นผิดเขาเห็นว่า นิพพานสูญ นิพพานไม่มี อยู่ในปาฏิโมกข์ นึกไม่ทันตอนนี้ เราสวดอยู่เหมือนกัน ขนาดพระพุทธเจ้ายังกันเลยนะ ถ้าพระพุทธเจ้าเห็นมีใครเห็นผิดปั๊บ..พระพุทธเจ้าจะห้ามทันที เพราะถ้าไม่อย่างนั้นมันจะแพร่เชื้อ แต่นี้ภาษาพระพุทธเจ้าไม่มี แต่เขาอ้าง อ้างธรรมวินัยเหมือนกัน อ้างพระพุทธเจ้าตลอดนะ ยังพูดเลยนะ จะเชื่อพระพุทธเจ้าหรือจะเชื่ออลัชชีตัวนี้ อลัชชีตัวนี้แม่ง.. เสือกสอยได้นะมึง

รู้..เพราะไอ้คำว่ารู้ นี่เวลาเราพูด เราพูดแปลกนะ ถ้าเราพูด เราจะพูดโดยตำรา คือทางวิชาการ ๑ แล้วถ้าพูดส่วนใหญ่ที่เราพูดนี่ เวลาทางวิชาการ มันจะเอามายืนยันกันว่าผิดถูกตามวิทยาศาสตร์ไง วิชาการคือวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้โดยสายตา โดยสมองของพวกเรา แต่ถ้าโดยธรรมโดยประสบการณ์จิต โธ่..ขนาดเราปฏิบัติไป เราเข้าใจผิดเวลาหลวงตาเทศน์นี่ “เอ..ทำไมกูไม่รู้อย่างนี้ล่ะ เอ..ทำไมกูไม่เข้าใจว้า ก็จิตกูก็ดีอย่างนี้ แต่ทำไมกูไม่เข้าใจอย่างนั้นว้า” ปัดโธ่..มันงง

เวลาอาจารย์เทศน์แล้วเราก็เอาความรู้สึกเรามาเทียบ ธรรมดาการปฏิบัติ มันจะให้คะแนนตัวเองบวกตลอด แล้วกูก็บวกแม่งจนลอย จน A + + + + A โครต โครต A เลยนะ เอ..ทำไมเขาพูดมาแม่ง B ทำไมกูยังไม่เข้าใจเลย ไอ้ห่า.. โอ้โฮ..แค่นี้มันก็รู้แล้ว เราเคยเป็นมาหมด อยู่กับหลวงตามีความคิดอย่างไร หลวงตาเทศน์อย่างไร ความรู้สึกเราอย่างไร มันขัดแย้งกันอย่างไร เราก็รู้ว่าเราผิดทั้งนั้นน่ะ พอรู้ว่านี่ผิด มันต้องไม่ใช่ ถ้าใช่ต้องเข้าใจสิ

แล้วเรามาอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เจี๊ยะก็กระทืบเอา! กระทืบเอา! เอ..เอ..อยู่อย่างนั้นน่ะ แล้วพอตอนหลังเห็นไหม พอตอนหลังกระบวนการมันเข้าใจหมดแล้ว พูดอะไรมาเถอะ..สาธุนะ พูดอย่างนี้เราสะเทือนใจอยู่เหมือนกัน เราสะเทือนใจเราเองนะ เวลาเราพูดธรรมะให้กับพวกโยมฟัง เราจะอ้างหลวงตา อ้างหลวงปู่ฝั้น อ้างหลวงปู่ดูลย์ อ้างตลอดเลย เพราะอะไร เพราะว่าครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติมาตามข้อเท็จจริง มันเป็นจริงไง แล้วมันมีน้ำหนัก เพราะมันมีบุคคลาธิษฐานมีตัวตน มีบุคคล มีสถานที่ให้อ้างอิง

เราอ้างอิงครูบาอาจารย์เพราะมันมีน้ำหนัก ทีนี้เพียงแต่เวลาอ้างอิง เรามันก็อ้างอิงว่าเวลาครูบาอาจารย์ท่านติดบ้าง ครูบาอาจารย์ท่านผ่านได้บ้าง เราเอามาอ้างอิง บางทีถ้าคนไม่เข้าใจก็หาว่าเรานี่เอาครูบาอาจารย์มาเหยียบย่ำ ไม่ใช่นะ เราต้องการเป็นบุคคลาธิษฐาน เป็นสิ่งที่มีน้ำหนักให้โยมฟังแล้ว โยมเห็นว่ามันเป็นข้อเท็จจริงที่เห็นภาพชัดเจนว่า “ขาวหรือดำ”

เวลาครูบาอาจารย์ท่านติด ท่านก็บอกว่าท่านติด หลวงตาท่านบอกว่าท่านติดสมาธิอยู่ ๕ ปี เราเอามาพูดบ่อยมากเลย แล้วท่านพูดเองว่าท่านกำหนดดูจิต จิตสมาธิท่านเสื่อมไปปีกับ ๖ เดือน ท่านทุกข์เกือบตาย ข้อเท็จจริงอย่างนี้ แต่เขาก็ไปตีความกันมันคลาดเคลื่อนกันไปหมดเลย นี่เราเอามาอ้าง ท่านบอกว่า “เราก็ดูจิตอยู่เสื่อมไป ปี กับ ๖ เดือน โอ้โฮ..ทุกข์เกือบตายเลย แล้วพอถ้าจิตมันดีขึ้นมา ถ้าเสื่อมมันก็ต้องตาย ก็ดูจิตนี่แหละ” ทีนี้เวลาเราพูด เราพูดเป็นบุคคลาธิษฐาน เราไม่ได้เอาครูบาอาจารย์มาเหยียบย่ำนะ เราเชิดชูของเรานะ เพราะอะไร

เพราะกว่าท่านจะมาเป็นครูบาอาจารย์เราได้ ท่านเอาชีวิตท่านแลกมาทั้งนั้น เพียงแต่เราเอามาเป็นบุคคลาธิษฐานมาเปรียบเทียบให้คนเห็นว่าน้ำหนักท่านมีน้ำหนัก กูพูดเองกูมันกระจอก กูมันขี้หมา พูดไม่มีใครเชื่อกู กูก็เอาครูบาอาจารย์มาอ้างอิงให้พวกมึงฟัง แต่เมื่อพูดไป มันสะเทือนใจเรานะ เดี๋ยวก็อ้างองค์นั้น เดี๋ยวก็อ้างองค์นี้ กูอ้างด้วย สาธุ กูอ้างด้วยความเคารพบูชานะ กูอ้างมาเป็นแบบอย่าง เป็นบุคคลาธิษฐาน เป็นแบบอย่าง เป็นคติธรรมที่พวกเราเอามาเป็นคติธรรม กูไม่ได้อ้างด้วยความเหยียบย่ำ อ้างว่ากูอยากดังอยากใหญ่กว่าท่าน กูไม่ใช่!

โยม ๓ : อาจารย์ อย่างที่อาจารย์อ้างอย่างนี้ คือ ทางพระที่วัดอาจารย์.....ก็ชอบนะครับเขาบอกว่า เออ..

หลวงพ่อ : มันชัดเจน

โยม ๓ : ครับ แล้วคือธรรมะของครูบาอาจารย์ บางสิ่งบางอย่างเขาไม่เคยฟัง

หลวงพ่อ : พูดไปนี่ เดี๋ยวว่าโม้อีกละ มันไม่มีทางรู้หรอก คำพูดคำเดียวกัน เรายังบอกเลย คนไม่รู้พูดผิด คนรู้พูดถูก กูว่ากิน เอ็งก็ว่ากิน แต่กูพูดถูก มึงพูดผิด อ้าว..เอ็งว่ากินหรือเปล่า กินก็จบใช่ไหม ไอ้กูกินแล้วกูว่ากูกิน กูว่ากิน แล้วกูได้กินด้วย มันได้รสไง ไอ้เขาบอกว่ากินก็เข้าใจว่ากินแต่ไม่ได้กิน มันต่างกัน แล้วอย่างที่ว่า ถ้ามันจะอ้าง เราจะอ้างถูก เพราะอะไรรู้ไหม เพราะสิ่งที่เราอ้าง ก็กูหลงอย่างนี้เหมือนกัน เราเคยผิดไปไง แล้วเราพยายามทำให้มันถูก มันก็เลยเห็นผิด เห็นถูก

แล้วเวลาครูบาอาจารย์ท่านทำ อ๋อ..มันเป็นอย่างนี้ พอเป็นอย่างนี้ปั๊บ เวลาพูดเราจะพูดถึงหลวงตาบ่อย หลวงตาบอกว่าที่ว่าจิตเสื่อม หนึ่งปีกับ ๖ เดือน แล้วพอท่านนั่งตลอดรุ่งเห็นไหม ต่อไปนี้จิตท่านไม่เสื่อมอีกแล้ว เกาะติดนั่นน่ะโสดาบัน เพราะอะไรรู้ไหม เพราะโสดาบันมันไม่เสื่อมไง อกุปปธรรม แต่ท่านไม่พูดเห็นไหม ท่านบอกว่า เวลาท่านนั่งจนเวทนามันขาดหมด เวทนาสักแต่ว่าเวทนา เวทนาไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่เวทนา ขันธ์ ๕ มันขาดหมด แล้วขึ้นไปหาหลวงปู่มั่นไปรายงานหลวงปู่มั่น

พอหลวงปู่มั่นชม “ท่านบอกโอ้โฮ..เหมือนหมามันจะเห่า มันจะกัด มันจะฉีกเลย เพราะท่านก็ภูมิใจของท่าน”

หลวงปู่มั่นก็ดีใจว่า “เข้ากระแสแล้ว เออ..จิตนี้มันไม่ได้ตายตามอัตภาพว่ะ มันตายหนเดียวเท่านั้นน่ะ เออได้ทางแล้ว เอาเลยๆ”

โอ้โฮย..คึกใหญ่เลย นี่ไงคนมันเป็น มันจะรู้จังหวะไหน อย่างเช่นรถ เราแข่งรถ โอ้โฮ..เข้าโค้งสุดท้ายแล้ว จะถึงเส้นชัยแล้ว เห็นตาหมากรุกแล้ว โอ้โฮ.. ฮู้..ไอ้นี่เหมือนกัน พอมันได้แล้ว พอมันได้อีกขั้น แหม..กูเห็นตาหมากรุกแล้ว ใส่อย่างเดียว โอ้โฮ..มันขนพองหมดนะ

คนภาวนาเป็นมันเป็นอย่างนี้ มันรู้ไง อารมณ์ความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอย่างไร อารมณ์อย่างนี้มันเป็นอย่างไร อารมณ์ความรู้สึกที่มันผิดพลาด มันเป็นอย่างไร อารมณ์ที่มันเข้าถึงความรู้สึก โอ้โฮ..ๆ มันเป็นอย่างไร แล้วเวลาท่านพูด พูดถึงว่าความผิด ความถูก มันเคยผิดมาเหมือนกันไง แล้วมันเลยเอามาพูดให้เห็นภาพชัดเจน แล้วถ้าถูกมันจะเป็นอย่างนี้ ผิดอย่างนี้ แล้วไม่ใช่เราคนเดียว

ครูบาอาจารย์องค์นี้ก็ผิดอย่างนี้ แล้วจะถูกอย่างนี้ แล้วผิดอย่างนี้ จะถูกอย่างนี้ อย่างนี้ๆ แล้วจิตมันเป็นอย่างนี้ ระดับของจิตมันแตกต่างกันอย่างนี้ เราจะพูดประจำเห็นไหมว่า พิจารณากาย หลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่คำดี หลวงปู่ชอบ หลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่ขาว เพราะหลวงปู่เจี๊ยะไปหาหลวงปู่ขาวบ่อยมากเลย

เพราะหลวงปู่มั่นบอกว่า “หมู่คณะให้จำหลวงปู่ขาวไว้นะ เพราะหลวงปู่ขาวเคยมาคุยกับเราแล้ว และหลวงปู่ขาวสิ้นกิเลส” หลวงปู่เจี๊ยะท่านก็จับไว้ ท่านก็ไปหาไง

หลวงปู่เจี๊ยะเล่าให้ฟังประจำว่าไปหาหลวงปู่ขาว

“เจี๊ยะเอ้ย เจี๊ยะ ม้างกายอยู่บ่” พิจารณากายอยู่ไหม

“ม้างหลายๆ” หลวงปู่เจี๊ยะตอบ

“เจี๊ยะ เจี๊ยะม้างกายอยู่บ่”

“ม้างหลายๆ”

นี่หลวงปู่เจี๊ยะเล่าให้เราฟังประจำ “ม้างหลายๆๆ” พิจารณากายเหมือนกัน แต่! แต่ไม่เหมือนกันเลย เพราะอำนาจวาสนาบารมีของคน เหมือนเราเป็นแชมป์โลก แชมป์โลกทุกคนเลย แต่คนละรุ่น น้ำหนักต่างกันเห็นไหม น้ำหนักฟลายเวท แบนตั้มเวทนะ ไลท์เวทน้ำหนักของรุ่นแต่ละรุ่นมันแตกต่างกัน จิตบารมีที่สร้างสมมามันแตกต่างกัน แต่เวลาเป็นแชมป์โลกแล้ว แชมป์โลกหมดเลย แต่คนละรุ่น พิจารณากายเหมือนกันหมดเลย แต่ไม่เหมือนกันเลย ไม่เหมือนเลย! อันนี้พอไม่เหมือนปั๊บ มันก็เป็นความรู้สึกเฉพาะตนของตัว ฉะนั้นอย่างที่ว่า ทำอย่างนี้อย่างเดียวหมดเลย ไม่ใช่ไก่ย่าง ไอ้ห่า.. แม่ง..อยู่บนแผงหมุนๆ อยู่นั่นล่ะ กี่ตัวก็ได้ เสียบๆ แล้วหมุนๆๆ อันนี้มัน นิพพานไก่ย่าง

โยม ๓ : แล้วโยมที่อาจารย์....เขาฝากมาถามว่า พระที่บวชพรรษาเดียวครับอาจารย์ มีใครสำเร็จบ้างไหมครับ

หลวงพ่อ : บางอย่างนี่มันถามไม่ได้เว้ย.. เพราะมัน..ไอ้อย่างนี้มันพูดไปแล้ว หมู่คณะด้วยกันนะหลวงตาเคยคุยกับเรา บอกของจริงของปลอมมันอยู่ด้วยกัน เราจะหาของจริงทั้งหมดโลกนี้มันไม่มี ฉะนั้นจะบอกว่าต้องให้เป็นจริงทั้งหมด มันไม่ใช่ เพียงแต่ขอให้เราเป็นพระแล้วอยู่ในศีลในธรรมก็พอแล้ว เราเป็นพระที่ดีเราก็เคารพเป็นเพื่อนกันได้แล้ว หมู่คณะเราขอให้เป็นพระเป็นเจ้าอยู่ในศีลในธรรมเราก็รักกัน

แต่ไอ้การปฏิบัติ มันเป็นอำนาจวาสนาที่เราสร้างมา บางทีปฏิบัติไม่ได้ มันสุดวิสัย ก็คือสุดวิสัย คำว่าสุดวิสัยมันก็เหมือนกับผลไม้อ่อน อย่างเช่น มะม่วง มันอ่อน เราเก็บมาจะบ่มให้สุก มันสุกได้ไหม มันไม่ได้เห็นไหม มะม่วงอ่อน เวลาเราเก็บมาจะบ่มให้สุก มันเป็นไปไม่ได้หรอก

จิตของเรามันสร้างมาอย่างนี้ บางอย่างมันก็ได้แค่นี้ไง คือเราจะไปบังคับให้มันเป็นอย่างนี้ที่ให้เราคิดไม่ได้หรอก

โยม ๔ : มันก็เหมือนกับว่าวาสนาเรามาแค่นี้

หลวงพ่อ : ใช่..ได้วาสนามาแค่นี้ ทำไมมะม่วงอ่อนก็ไม่เป็นไร มะม่วงอ่อนก็กินมะม่วงอ่อนได้ใช่ไหม ก็คือว่า...

โยม ๔ : มันก็ค่อยๆ สะสม

หลวงพ่อ : ใช่..

โยม ๓ : แล้วอย่างนี้ ถ้าเราเร่งความเพียรเอาแบบเต็มที่เลยอย่างนั้นใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : ก็ทำกันอยู่เยอะ ก็ทำเร่งความเพียรขนาดไหนก็สร้างสมบารมีไป

โยม ๓ : แล้วอย่างที่พระอาจารย์บอกว่า ถ้าเอาจริงเอาจังเสมอต้นเสมอปลาย

หลวงพ่อ : ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี

โยม ๓ : อย่างต่ำก็ต้องอนาคามี

หลวงพ่อ : ใช่..ทีนี้เวลาเอ็งคิดเอ็งลองทำสิ ๗ เดือนนี้ พอสัก ๒ เดือน แหม..ก็อืม.. ขอพักก่อน เดี๋ยวมาใหม่ คือ ๗ เดือนมันไม่ต่อเนื่องไง เราก็ใช้คติธรรมอันนี้ ที่เวลาเราปฏิบัติกูก็ดันอยู่อย่างนี้ ขนาดเวลาเรา.. โธ่..เวลาปฏิบัติอดอาหารมากๆ นะ มันทุกข์ มันยากนะ มันท้อถอยนะ กูก็เอาตรงนี้แหละ

อย่างไรก็แล้วแต่ กูก็เอาหัวกูชนภูเขาไว้ก่อน อัดแม่งเลย แล้วทิ้งมันไว้ก่อน กูไม่ถอย แต่เวลากูสู้ไม่ไหว กูก็คว้าผ้าพาดไว้ก่อน ขอพักนิดหนึ่ง คือ ไม่ถอย ถ้าถอยนี่ถอยหมดเลย ถ้าถอยก็ถอยกรูดๆ เลย สู้ไหวหรือไม่ไหวก็เอาหัวยันไว้ก่อน หลับแค่นี้ก็นั่งหลับไปอย่างนี้ ไม่เป็นไร สู้อย่างเดียวนะ

ทีนี้เรามีความคิดอะไร ที่มันมีความคิด จนพระด้วยกันมาอยู่ เพื่อนๆ มันยังบอกเลย

“ไอ้หงบเอ้ย ไอ้ห่าเขาปล่อยกันแล้ว มึงทำไมไม่ยอมปล่อยวะ ทำไมเขาสะดวกสบายบ้าง มึงจะไม่ยอมเลย”

โอ้โฮ..เขาพูดอย่างนั้นนะ เวลาอยู่ด้วยกัน ถ้าอยู่ด้วยกันเวลาพระเรา เราทำอยู่คนเดียว เรารู้.. เราเข้าใจว่าเขาเขินๆ ไง ไอ้คนที่ไม่ทำจริงจัง มันก็อายคนที่ทำจริงใช่ไหม แต่เขาไม่ทำ เขาใช้คำว่า “อาย” เราตีกลับมาบอกว่า “มึงทำทำไม ทำไมมึงไม่ทำเหมือนกู” เราก็ต้องพยายามหาทางออก

โยม ๑ : อาจารย์ครับถ้าอดนอนมากๆจะมีผลกับสมอง เบลอ งงไหมครับอาจารย์

หลวงพ่อ : ไม่ๆ ใหม่ๆ มี

โยม ๑ : มีใช่ไหมครับ เพราะว่าผมเคยบ้าง

หลวงพ่อ : เฉพาะใหม่ๆ แต่ถ้าต่อไปๆ มันจะดีขึ้นนะ ๑. มันจะดีขึ้น ๒. มันจะอยู่เป็นนิสัย อย่างเช่น หลวงปู่เจี๊ยะเล่าให้ฟังเป็นประจำ อาจารย์กงมาอยู่ที่วัดเขาทรายงาม อดนอนมั้ง แล้วหลวงปู่ลี อยู่ที่วัดคลองกุ้ง ระหว่างคลองกุ้งกับวัดทรายงามแข่งกัน วัดหนึ่งอดนอน วัดหนึ่งอดอาหาร (เสียงหัวเราะ)

หลวงปู่เจี๊ยะเล่าประจำ หลวงปู่เจี๊ยะท่านอดนอน ท่านบอกโอ้โฮ..ง่วงนอนฉิบหายเลย บางทีมันไม่ไหวนะ ไปพิงเสาเลย ยืนนี่แหละ พอพิง อ่า.. ของีบหน่อย หลวงปู่เจี๊ยะนี่แหละ มีเทคนิคเยอะ

โยม ๒ : ผมไปฟังประวัติหลวงปู่เจี๊ยะ มีเรื่องทุกเช้าอย่างนี้

หลวงพ่อ : เออ..ไปยืนนอนอยู่ ทีนี้คำว่าอดนอน อดอาหาร มันเป็นอุบาย

เมื่อวานเขามาก็พูด พูดบอกว่า มันเป็นอุบายวิธีการ อย่างเช่น เราทำแล้ว เมื่อสองวันนี้มีพระสึกไปองค์หนึ่ง เขาบอกว่า เขาภาวนาแล้วมันทำงานทำได้อย่างไร เราบอกถ้าเอ็งทำไม่ได้เลย มันต้องอดนอน ผ่อนอาหาร การผ่อนอาหาร การอดอาหาร มันสามารถแก้รักได้เลยล่ะ เจอหน้านี่ ปิ๊ง! รัก โอ้โฮ..รัก.. รักใจจะขาดเลย

หลวงปู่ฝั้น ท่านเล่าให้ฟัง ท่านมางานฉลองกรุง ๑๕๐ ปี ๒๔๗๕ หลวงปู่สิงห์ กับหลวงปู่มหาปิ่น พี่น้องกันท่านมาแล้วหลวงปู่ฝั้นท่านเป็นคนอุปัฏฐาก มาพักที่วัดบวรฯ ก็มาล้างบาตร ๓ ใบ พอล้างอัฐบริขารเสร็จ เดินลงมา ไปเจอผู้หญิงสวนทางมา โอ..ปิ๊ง.. ช็อค..เลย

โยม ๑ : ของเก่า

หลวงพ่อ : ใช่..ไม่เคยเห็นหน้ากัน ไม่เคยเจอกัน ช็อคเลยนะ พอช็อคเลย หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่มหาปิ่นเข้าใจ ก็ให้เข้าไปอยู่ในโบสถ์วัดบวรฯ นี่แหละ โบสถ์วัดบวรนิเวศน์นี่แหละ ปิดประตูหมดเลย นั่งอดข้าว

วันที่ ๑ “รักไหม” “รัก” ไม่กิน ๒, ๓, ๔ “รักไหม” “รัก” ไม่กิน ๕ “รักไหม” “รัก” ไม่กิน พอเข้าวันที่ ๗ “รักไหม” อืม..หิวอ่ะ “ไม่รักอะ” ไม่รักก็ได้กิน แก้ได้เห็นไหม

“อดอาหาร อดนอนผ่อนอาหาร” ถ้าคนใช้เป็น “ใช้เป็นอุบายนะ” มันจะได้ประโยชน์มากเลย แต่ถ้าคนโง่ นึกว่าอดนอนผ่อนอาหารเป็นพระอรหันต์ ตาย..ถ้าอดอาหารเป็นพระอรหันต์นะ แอฟริกา เอธิโอเปีย แม่ง..กระดูก โอ้ย..ต้องไปกราบมันเลย พระอรหันต์ ไอ้นั่นมันอดเฉยๆ อดเพราะไม่มีจะกิน น่าสงสารนะ เวลาเขาถ่ายรูปมาให้ดูนะ โอ้โฮ..

โยม ๓ : ไอ้เราอดเพราะความตั้งใจ แต่นั่นมันเป็นกรรมของเขา

หลวงพ่อ : ไอ้เราอดเพราะหัวใจมันดิ้น เราอดเพราะบีบมัน ฉะนั้นอดนอนผ่อนอาหาร มันมีเทคนิค มันมีอุบายมาส่งเสริมการปฏิบัตินี่เยอะมาก แต่ต้องใช้เป็น อย่างเช่น มอร์ฟีน เวลาไปหาคนป่วยนะ คนป่วยหนักๆ เขาฉีดมอร์ฟีนเพื่อบรรเทาปวด แต่เดี๋ยวนี้มอร์ฟีนคนใช้กันติดกันเกลื่อนเลย แย่มากๆ เลย แต่หมอเขาเอาไปใช้แก้ปวด

“อุบายการอดอาหาร” อดต่างๆ มันเป็นอุบายที่ใช้ประโยชน์ได้ แต่ต้องคนใช้เป็นนะ เอามาใช้ประโยชน์ในทางที่ถูกต้องนะ อย่าเอาไปใช้ในทางที่ผิด พระพุทธเจ้าถึงบังคับไว้ว่า “ห้ามอดอาหาร” ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ห้ามนะ กูว่าชาวพุทธตายครึ่งประเทศเลย

พอใครอยากเป็นพระอรหันต์แม่ง..อด หมอต้องเอาไปฝังหมด.. ตายหมด.. เพราะมันไม่ได้ใช้ปัญญา.. แต่ถ้าหมอเป็น มันใช้ประโยชน์ได้ “อดนอน ผ่อนอาหาร เราใช้ประโยชน์ คนใช้เป็นนะเป็นประโยชน์มาก คนใช้ไม่เป็น เป็นโทษ”

โยม ๒ : มันจะเป็นมิจฉาทิฏฐิไปเลย เป็นทิฏฐิของคนไปเลย

หลวงพ่อ : ใช่.. พระพุทธเจ้าเลยบัญญัติว่า “ห้าม” แต่! ไปพูดไว้ในบาลีไง “แต่! ถ้าใครอดเป็นอุบายวิธีการ เราตถาคตอนุญาต” ห้ามอดอาหาร แต่! ถ้าใครใช้เป็นอุบายเป็นเทคนิคในการต่อสู้กับกิเลส เราตถาคตอนุญาต ตรงนี้เป็นประโยชน์มากเลย อันนี้คน..ประสาเราทุกคนอยากสบายอยู่แล้วใช่ไหม กินอิ่ม นอนอุ่นนี่สุดยอดเลย

แต่พออดอาหารนะ ผิดๆๆๆ ไปกินนี่ ดีๆ เออ.. ถูกๆๆ แล้วก็ไปนั่งสัปหงก อืม..ถูกฉิบหายเลย หัวโขกพื้นถูกไง ถูกพื้นป๊อก! แต่พออดอาหารผิดๆๆๆ คือกิเลสมันไม่ต้องการให้ไปทำลายมัน อะไรที่ยากลำบาก กิเลสมันดิ้นแล้ว แต่ถ้าเรามีความชำระมีความจริงใจที่จะสู้กับมัน อะไรเป็นประโยชน์เราก็จะเอามาใช้ตรงนี้ ถ้ามาใช้ตรงนี้ปั๊บเพื่อประโยชน์ ต้องใช้เป็น

นี่ไง..เวลาครูบาอาจารย์ท่านพูดเห็นไหม ถ้ามีครูบาอาจารย์ที่เป็น ทีนี้ท่านจะชี้ทางให้เราถูกมาเรื่อยๆ ชี้ทางให้ถูกนะ ถ้าเราไม่ถูกนี่ อู้ฮู..ตะบี้ตะบันทำอยู่อย่างนั้นน่ะ ไม่รู้จะไปทางไหน แต่ถ้าคนเป็น ก็กูเป็นมาแล้ว ถ้ามึงหักพวงมาลัยผิดตกทาง ถ้ามึงไม่รักษาเข้าโค้ง มึงหลุดโค้งแน่นอน จิตมันมาอย่างนี้

ถ้ามึงไม่ทำอย่างนี้ มันจะไปไม่ได้ ถ้าเอาจิตมาอย่างนี้ปั๊บ มันต้องทำอย่างนี้ ตรงนี้ต้องเชนเกียร์ขึ้นแล้ว ขึ้นเนินแล้ว อันนี้จะขึ้นยอดเขาแล้ว มึงต้องใส่เกียร์ ๑ มึงต้องทดใส่โฟร์วิลเลย มันมี มันขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นขั้นๆ นะ ปฏิบัตินี่ อันนี้คนไม่เป็นเห็นไหม โอ้ย.. สบายๆๆๆ ไอ้เบิร์ดร้อง สบายๆๆๆ ลงถังหมดนะมึง.... อันนี้จบแล้วเนาะ