ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

จิตต้องมีบริกรรม

๑๓ ธ.ค. ๒๕๕๒

 

จิตต้องมีบริกรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

เราจะเริ่มปูพื้นก่อนไง คำถามเรื่องภาวนาในประวัติหลวงปู่อ่อน แล้วหลวงปู่มั่นให้เปลี่ยนคำภาวนาใหม่ เพราะเห็นเป็นคนราคะจริต

ถาม: แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร เมื่อไหร่เราควรเปลี่ยนคำภาวนา เพราะไม่ถูกจริตกับเรา

ตอบ: อันนี้เรามาใช้บ่อยมากเรามาใช้บ่อย เราจะให้เห็นความแตกต่างหลากหลาย เวลาเราคำภาวนาเนี่ย ทำไมต้องพุทโธ แล้วพุทโธเนี่ย หลวงตาท่านพูด เวลาหลวงตาทำอะไรเนี่ย หลวงตานะ ท่านจะมีประสบการณ์มาก เพราะท่านเรียนมาเป็นมหา แล้วท่านบริหาร ตอนที่ท่านบริหาร ตอนเรียนอยู่น่ะท่านจะดูแลพระในฝ่ายปริยัติด้วย แล้วพอท่านมาปฏิบัติ ท่านมาอยู่กับหลวงปู่มั่นอยู่กับครูบาอาจารย์ ท่านมีประสบการณ์มาก นี่คำพูดของผู้มีประสบการณ์มาก เวลาท่านเทศน์นะ ท่านจะบอกว่า เราชอบพุทโธ เราจึงสอนพุทโธ แต่เวลาเราพูด เราเอาเนื้อหาสาระเลย ว่าพุทโธเลย พุทโธเพราะอะไร พุทโธเป็นพุทธานุสสติ พุทโธเนี่ย เวลาพุทโธ มันมีผลหลากหลายนะ คำว่าผลหลากหลาย เห็นไหม

เวลาอนาถบิณฑิกเศรษฐีไปเยี่ยมญาติเนี่ย ทุกคนพูดว่า ทุกคนปรารถนาอยากจะพ้นทุกข์ ทุกคนปรารถนา แต่ถ้าไม่มีศาสนาเราก็สร้างบุญกุศลกันมา เวลาพระพุทธเจ้าเกิดนี่ไม่มีใครรู้ เวลาอนาถบิณฑิกเศรษฐีไปฟัง ทำไมเขาตักอาหารเลี้ยงกันเยอะแยะเลย ทำไมเขาทำงานอะไรกันนี่ นึกว่าทำงาน บอกว่าไม่ใช่ นิมนต์พระพุทธเจ้ามาฉัน นิมนต์พระพุทธเจ้ามาฉันได้ยินคำว่าพระพุทธเจ้าเท่านั้น ช็อกเลย เห็นไหม อยากจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าตลอดเวลา เห็นไหม เนี่ย คำว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ยินคำว่าพุทธะยังช็อกนะแล้วเทวดา อินทร์ พรหม คำว่าพุทธะนี่

เวลาคำบริกรรมว่าพุทโธ ๆ นี่ เห็นไหม คำว่า พุทโธ ๆ เหมือนกับว่า เรามีผู้ใหญ่ มีผู้มีบารมีคอยดูแลคุ้มกันเรานะ ไอ้นี่พูดถึง ผลประโยชน์ที่จะได้ แต่คำว่าพุทโธ ๆ เรานี่ เรากำหนด พุทโธ ๆ เนี่ยเป็นคำบริกรรม แล้วคำบริกรรมนี่ พุทโธเนี่ย เวลาหลวงตาท่านพูดนี่ พุทโธกระเทือนสามโลกธาตุ เราชอบพุทโธ เราชอบ ท่านใช้คำว่าเราชอบ เราชอบเราเลยสอนพุทโธ แต่ท่านไม่อธิบายไปหลากหลาย ถ้าอธิบายไปหลากหลายเนี่ย มันก็เหมือนกับว่าเราบอกว่าของเราดีของคนอื่นไม่ดีไง เนี่ย เพราะประสบการณ์ของท่านมาก เวลาท่านพูดแล้วเราสังเกต เวลาหลวงตาท่านพูด

ทั้งๆ ที่รู้ อย่างพวกเราเนี่ยนะ เรามีเพชรกันอยู่คนละเม็ดหนึ่ง เพชรเนี่ย เพชรมีคุณค่ากันมากเลย ทำไมเราบอกเพชรเรามีคุณค่าไม่ได้ล่ะ บอกแล้วมันสะเทือนเขา เพราะเขาถือกันนี่ พลาสติก คริสตัลบ้าง มันไม่ใช่เพชร แต่เราถือเพชรอยู่เนี่ย ทำไมเราน่าจะบอกว่า นี่ของเราเพชรนะแล้วพิสูจน์ได้ว่าเพชรนะ ไม่ใช่พลาสติกอัด แต่ท่านก็อ่อนน้อมถ่อมตน เราสังเกตได้เวลาหลวงตาท่านพูดนะ เราชอบพุทโธ เราก็เลยสอนพุทโธ ทั้ง ๆ ที่พูดว่าพุทโธนี่ มันจะมีคุณค่ามาก มีคุณค่ามาก ๆ เพราะพุทโธนี่นะ เป็นชื่อขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธะเป็นชื่อของพุทธศาสนา พุทโธ พุทธะ เป็นพุทธศาสนา พุทธศาสนาเป็นศาสนะคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งที่อาศัย มันเป็นสื่อกลางทุกๆคนปรารถนาหมดเลย

ทีนี้คำว่าพุทโธ ๆ นี่ ลืมบอกให้หมด พุทโธ ๆ แต่ เห็นไหม คำว่าจริต เห็นไหม คำว่าจริต คำว่าพุทโธเนี่ย อันนี้มันอยู่ที่ว่าหลวงปู่มั่นครูบาอาจารย์ท่านรู้จริตไง รู้จริตว่าถ้าพุทโธ ๆ อย่างนี้มันสั้น พอมันสั้น อย่างคนเรานี่นะ คำว่าพุทโธ เวลาเราพุทโธ บางคนเร็ว ๆ โธๆๆๆๆ ไปเลยนี่ พุทโธไปสองคำนะมันเหลือคำเดียวโธๆๆๆ เลยเนี่ย มันยิ่งสั้นเข้าไปใหญ่ ไอ้สั้นเข้าไปใหญ่แต่เขาได้ผลนะ ถ้าคนบอก พุทโธ ๆ หลวงพ่อ มันจะพุทโธไว ๆ เนี่ย จน โธ ๆๆๆ ไปเลย หนูก็ตกใจ หนูก็ต้องกลับมา บอกไม่ได้ต้องมา พุทโธ ๆๆ ไม่ได้ต้องกลับมาพุทโธ ไอ้โธๆๆๆๆไปเลยนี่มันละเอียดไปแล้วจิตมันจะลงรู้ไหมนั่น ไอ้อย่างนี้มันเป็น มันเหมือนกับเรา

เครื่องจักร พอมันหมุนไปแล้วต่าง ๆ เครื่องจักรกำลังคงตัวของมันแล้ว มันไปได้ด้วยตัวของมันเองแล้วนี่ มันจะเป็นประโยชน์ละ แต่ถ้าเครื่องจักรยังไม่ติดนะ เราปั่นเครื่องนะ เราติดเครื่องนี่เราต้องใช้กำลังขนาดไหน นี้เราพุทโธ ๆๆ กว่ามันจะเป็น โธ ๆๆๆๆๆไปนี่ อันนี้ไม่ผิดหรอก แต่ด้วยสามัญสำนึกว่ามันผิด เพราะมันไม่ใช่สองคำว่า พุทโธ วิตกวิจาร พุทโธ ๆ โธๆๆๆไปเลย นี้อาการของจิตมันเป็นไป เห็นไหม คำว่าพุทโธสั้น ๆ หรือนี้มันทำให้จิตใจเราด้อยแล้วเราก็เกี่ยงมันไป แต่บางคน พุทโธๆ ๆ มันแว๊บ เห็นไหม พุทโธมันแว๊บ

หลวงปู่อ่อน ท่านให้ใช้ยาวสักประมาณ ๕ คำ เราเคยจำได้เพราะเราอ่านประวัติหลวงปู่อ่อนเหมือนกัน เราเอาคำนี้มา มายืนยันว่า เราจะพูดสิ่งใดนี่ เราต้องมีหลักฐาน มีที่ยืนยัน ว่าหลวงปู่มั่น ท่านสอนพุทโธ แต่ทำไมท่านสอนหลวงปู่อ่อน ทำไมคำบริกรรมยาวอย่างนั้นล่ะ เห็นไหม ท่านไม่ได้ดูที่คำสอน ท่านไม่ได้ยึดที่ทฤษฏีไง ท่านยึดถึงผลของผู้ที่ปฏิบัติไง หลวงปู่มั่นท่านดูที่ผลของผู้ที่ปฏิบัติ ถ้าพุทโธเนี่ย พุทโธโดยทั่วไปทุกคนจิตสามัญสำนึกเนี่ย ใช้ประโยชน์ได้ดีมากเลย แต่ขณะหลวงปู่อ่อน ท่านต้องใช้คำท่านถึงไม่ให้พุทโธ ทุกคนเวลาไปหาส่วนมากส่วนใหญ่จะให้พุทโธนะ ให้พุทโธ กำหนดพุทโธเลย แต่หลวงปู่อ่อนท่านเป็นคนสั่งเองเลย บอกว่าให้ใช้คำบริกรรมให้ยาวขึ้นไปอีก ให้ยาวขึ้นไปเพื่อจะให้จิตมันอยู่ได้ เห็นไหม นี่เราจะบอกว่า

ครูบาอาจารย์ของเราท่านไม่ใช่ทิฐิมานะ ไม่ใช่ว่าต้องฉันถูกใครถูกใครผิดใครถูก ไม่ใช่ ต้องการว่าผู้ที่ทำนั้นได้ผลประโยชน์หรือเปล่า เห็นผลของผู้ที่กระทำนั้นนะ เนี่ยใจที่เป็นธรรม เห็นไหม เนี่ย เราถึงเอาอ้างว่า ถ้าครูบาอาจารย์หรือว่าเราทำแล้วนี่พุทโธไม่ได้ แต่คำว่าไม่ได้ของเราเนี่ย เราต้องจริงจังนะ เราพยายามจริงจังของเรา พุทโธ ๆ ๆ ทำให้จริงจังของเรา มันจะได้ไม่ได้ มันอยู่ที่การกระทำ ไอ้นี่พอเราจับจดเรามักง่ายเนี่ย อะไรก็ไม่ได้ ๆ แล้วมันก็จะไม่ได้อะไรเลย มันก็ต้องลองกันเต็มที่

เราพูดถึงเรานะ ขนาดสองพรรษาแรก หาทางของตัวเองไม่เจอ เนสัชชิกนะมันไม่ได้นอนเลย พรรษาแรกไม่นอนเลย ไม่นอนพอจิตมันก็ลงได้ เห็นไหมเวลาทำคนมันลงได้ พอคนมันลงได้นี่ ขนาดจิตมันลงแล้วนี่ เห็นเป็นอสุภะ หมุนเข้ามาใส่เรา เรายังผงะเลย เนี่ย ก็มั่นใจ มั่นใจว่าตัวเองมาถูกทางละ พอถูกทางทำไปแล้วมันจืด ทำไปแล้วมันจืด ทำไมมันจืด หืม ทำไมมันจืด พอมันจืดปั๊บ เราหาอุบายของเราเองนะ พอมันจืดปั๊บเราก็พยายามให้มันเป็นอสุภะให้มันสดๆ ให้มันตื่นเต้น ให้มันแบบว่า ให้มันกระเทือนหัวใจ มันไม่ได้ นึกอุบายพักนึงมันก็จืดไป ๆ จนเอ๊.. มันไปแล้ว มันจืดแล้วพอมันจืดมันไม่มีรสชาติ คำว่าไม่มีรสชาตินี่ดูสิ

เวลาเราปฏิบัติทำไมมันไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย มันหาทางออกไม่ได้ จนเรามาใช้ปัญญาของเราเอง ใช้ความคิด ใช้ความคิดไล่เข้ามา ๆ พอไล่เข้ามานี่มันดูดดื่ม มันมีรสชาติ มีรสชาติคือจิตมันทำไง เหมือนเราทำงานแล้วคล่องตัวเนี่ย มันมีความพอใจที่มันจะทำ พอมันจะทำ อืม แล้วพอคนเราเนี่ยมันมีความพอใจที่มันจะทำ หรือทำแล้วมันมีผลงาน หรือทำแล้วนี่ มันมีความอบอุ่นอย่างนี้ งานนี่มันไปได้ง่ายใช่ไหม เพราะความชำนาญของเรา พอไปเรื่อย ๆ พอ อืม มั่นใจเรื่อย ๆ เนี่ย อืม คราวนี้ถูกทาง พอถูกทางนั่งภาวนาเนี่ย หลวงปู่มั่นมาเลยมาในนิมิตเลย เวลาจิตมันลง เนี่ยทางของเอ็ง ๆ ที่ว่านี่ เนี่ยเราบอกว่าเห็นไหม คำว่าจริตนิสัยนี่ เราต้องทำจริงทำจัง แล้วทำจริงนี่

พอเราพุทโธ พิจารณากาย เนี่ย พิจารณากายแล้วพิจารณากายเล่า มันไม่ได้ผล มันไม่ได้ผลจนสุดท้ายแล้ว เห็นไหม สุดท้ายเรามาหาทางของเราเอง กำหนดปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิ ขบ ปัญญาคืออะไร สมาธิคืออะไร ทุกอย่างเป็นนามธรรมที่เกิดจากจิต มันเป็นนามธรรมเป็นความคิดที่เกิดจากจิต แต่เกิดจากจิตเนี่ย เราเปรียบเทียบเหมือนการสาดน้ำทิ้งไปเหลืออากาศที่มันอยู่ตามธรรมชาติของมัน เราไม่ได้ประโยชน์อะไรจากมันเลย แต่เราหายใจเอาอ๊อกซิเจนเข้ามาในปอดเราเนี่ย มันมีประโยชน์กับเรา ความคิดมันหลากหลาย ความคิดนี้มันออกมาจากจิต แล้วออกจากจิตแล้วเราไม่ได้ประโยชน์อะไรกับมันใช่ไหม

แต่พอเราตั้งสติ เอามันมาเป็นประโยชน์ อ๊อกซิเจนมีเต็มมีอยู่เต็มไปหมดเลย แต่เราใช้จำเป็นเฉพาะที่เราหายใจเข้าเท่านั้นเอง นี่ความคิดตามธรรมชาติของมัน มันมีของมันอย่างนั้น แต่เรามีสติตามมันไป ตามมันไป เห็นไหม ก็ความคิดถ้ามันทันนะ พอมันทันมันจะหยุด มันหยุด ๆ ๆ พอมันหยุดแล้วไป อืม อันนี้ใช่ ๆ พอไม่ใช่ขึ้นไปนี่ มันมีความดูดดื่มของมัน มันมีการกระทำของมัน มันไล่ของมันเข้ามา เนี่ย แล้วเวลาเราพิจารณากาย พุทโธ ๆ ๆ พิจารณากายเนี่ย นี้ ทำไมมันจืดล่ะ เนี่ยมันไม่ตรงกับจริต เวลาไม่ตรงกับจริตพอมั่นใจปั๊บเนี่ย ขนาดพยายามทำสองปีก็มั่นใจ มั่นใจทำด้วยความเต็มที่ แต่เต็มที่เนี่ย เต็มที่จนที่สุดแล้วมันก็จืดมันอยู่งั้น

พอมาได้หลัก เห็นไหม พอได้หลัก เริ่มสาว เริ่มภาวนาเข้าไป โอ้ย เข้าไปเป็นช่องเป็นทาง โอ๋ บุกเบิกเข้าไปเลย ได้ผลปีนั้น ปีนั้นได้ผลเลย เนี่ยพอปีนั้นได้ผล พิจารณาจนมันหยุดใช่ไหม พอมันหยุดขึ้นมา พอพิจารณาไปพอมันหยุดขึ้นมาแล้วพอมันจะเอาจริงเอาจังเนี่ย เอาจริงเอาจังทำไมเป็นอย่างนั้น พอมันจะเริ่ม พอจับประเด็นได้ เหตุที่มันจะได้ก็เพราะ อาหารเลยล่ะ เพราะว่าอยู่ในป่า ในป่าโดยสามัญสำนึกของคนใช่ไหมเราไม่ได้ทำผิดศีลใช่ไหม เราทำถูกต้องตามธรรมวินัยหมดเลย มันผิดตรงไหนไม่ผิด อ๋อ อยู่ในป่า อยู่ในป่า ในป่า มันไม่มีอะไรจะกินนะ พอไม่มีอะไรกินก็ เณรไปเก็บกลอยมา เอากลอยนี้มาแช่น้ำ พอแช่น้ำเสร็จเอากลอยมานึ่ง นึ่งเสร็จแล้วนะเอาน้ำตาลโรย ก็เท่านั้น นี้ด้วยสามัญสำนึกยังคิดได้อะไรที่มันฝังใจ มันฝังใจมาก มันฝังใจว่า ตามสิทธิคือพระธุดงค์ ฉันเอกะ คือฉันหนเดียว ทุกอย่างภาชนะเดียว สิ่งใดเดียว นี้อันเดียวก็ตักใส่บาตรก็เท่านั้น ถูกต้องตามธรรมวินัย ถูกต้องตามสิทธิหมดเลย

ทีนี้พอมันเห็นเข้าไป พอเราภาวนา มันอืม มันไม่ดีเราจะลดจะผ่อนอาหาร จะผ่อนมันลง ผ่อนไม่ได้นะ พอมาก็ตักหมด แล้วปัญญามันจะเสริมไง มันจะเสริมว่า อ้าวมันไม่มีอะไรผิด เพียงแต่มันคนละโอกาส ขณะที่เราภาวนาเนี่ยเราก็คิดได้ใช่ไหมว่า พรุ่งนี้หรือว่าอาหารเนี่ย เราจะผ่อนมันลง แต่พอมาเนี่ยมันเผลอมันไม่ทัน มันตัก ตักตามสิทธิ เพราะมันไม่มีอะไรผิด มันไม่มีอะไรผิด ไม่ผิดกฎหมาย ไม่มีอะไรผิดหมดเลย แต่พอไปภาวนาก็เสียใจ พอไปภาวนามันไม่ได้ผล พอภาวนาแล้วมันจืด มันไปไม่ได้อย่างคาดหวัง

พอยังคาดหวังก็เริ่มใช้ปัญญาหมุนเข้ามาเลย ทำไมเราเป็นคนชั่วช้าขนาดนี้ เราทำไมคนไม่ดี โห ติตัวเองมากนะ ติตัวเอง ติตัวเองขนาดนี้ ไป มันก็ยังไม่ทัน วันที่สองก็ยังไม่ทัน พอวันที่สาม เราเนี่ยเดินจงกรมทั้งวัน ๆ นะ แล้วก็เนี่ย ไล่เข้ามาหมด อ้างเหตุผลตลอด ครูบาอาจารย์ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ ทำไมเราเป็นอย่างนี้ เนี่ย ตอนนั้น ความสามัญสำนึกของมนุษย์ไง คิดว่าคนควบคุมอาหารได้ อาหารจะจืดไง เนี่ยคนคาดหมายผิดหมด แล้วบอกว่านามธรรม คือไม่มี ก็คิดว่าควบคุมอาหารได้นี่ อะไรเราก็จะควบคุมได้ พอมันไล่เข้าไปเรื่อยๆ ปัญญามันจะไล่ไปเรื่อย ๆ ปัญญาอบรมสมาธิจะไล่เข้าไปเรื่อย ๆ อ้าว มันขึ้นมานะเนี่ย

เวลาปัญญาที่มันเกิดขึ้นมา โดยภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นมาจากการภาวนา ไม่ใช่ปัญญาที่เกิดจาก จากการคาดหมายเกิดจากจินตนาการ หรือ เกิดจากข้อมูล ข้อมูลสิทธิที่เราจะมีไว้ไง พอมันขึ้นมา พอมันไล่เข้าไปเนี่ย มันมีปัญญาตอบมาจากใจเนี่ย อ้าวครูบาอาจารย์ ท่านไม่ใช่ตะเข้นี่ ครูบาอาจารย์ ถ้าไอ้เข้ไม่มีลิ้นก็ไม่มีรสใช่ไหม เพราะเราความเข้าใจว่า ถ้าเราควบคุมได้ คืออาหารเนี่ย ลิ้นเราจะต่อต้านอาหารเลย เราจะไม่ตัก คืออาหารกับเรามันจะอยู่คนละฝ่ายเลย มันไม่ใช่ ไม่ใช่อย่างที่คิดเลย อ้าว ครูบาอาจารย์ท่านก็ยังมีลิ้นอยู่ ทุกอย่างมีลิ้นอยู่ เพียงแต่ท่านเข้าใจในรสนั้นต่างหากล่ะ ท่านควบคุมรสนั้นต่างหากล่ะโอ้โหย มันปิ๊ง โอ้โหย นี่ไง เพราะเราได้มาอย่างนี้

เวลาเราพูดถึงนะ รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เวลาเรานั่งอยู่เราไม่ทันนะ ของเผชิญหน้าเนี่ย เวลาหลวงปู่มั่น ท่านเทศน์ที่วัดเจดีย์หลวงสุดท้ายเนี่ย เห็นไหม ที่ว่าเจ้าคุณอุบาลีท่านพูด บอกหลวงปู่มั่นเวลาท่านเทศน์ ท่านเทศน์เรื่อง ท่านเทศน์เรื่องตัวเรานี้แหละ เรื่องของชีวิตประจำวันเรานี้แหละ ที่เหยียบย่ำอยู่ทุกวันนี้แหละ แต่เรามองไม่เห็นมองเห็นโดยกิเลสมันบังเราไว้นี่ไง เรามองไม่รู้หรอกทั้งในชีวิตประจำวันเป็นอยู่ของเรานี้แหละ พูดเรื่องของเรานี่แหละ แต่เราไม่เห็น เราไม่รู้เพราะเหตุมันบังไว้ ไม่ใช่เรื่องอะไรเลย เรื่องชีวิตประจำวันเรื่องการกินการอยู่นี่

เนี่ยพอมันไล่มาทัน พอมันทันนะ โอ๊ะ เนี่ยครูบาอาจารย์ท่านไม่ใช่ตะเข้ ครูบาอาจารย์ท่านก็มีลิ้นของท่าน รูป รส กลิ่น เสียง รสก็คือรส แต่ท่านก็มีสติสัมปชัญญะรู้ทันตลอดเวลา ไอ้มึงมันโง่ มึงไม่รู้ทันอะไรเลย ดีแต่คิด ดีแต่วิชาการ ดีแต่ว่าจะไม่ทำไอ้นั่น จะทำไอ้นี่ คิดไปนู่น มันอยู่นอกกายเรามันไกลเกินไป คิดแต่เรื่องนิพพาน ทุกอย่างนิพพานหมดเลย แต่ตัวเองไม่มีอะไรเลย นี่ก็จะไม่ติดในรส จะผ่อนอาหาร ก็คิด คิดเอาตอนนี้สิ

พอปัจจุบันมาเผชิญหน้า กลอยมันอยู่ตรงหน้า ไม่ทันมันมือนี่ไปตักมันโดยอัตโนมัติเลย ไม่รู้เรื่องอะไรเลย พอตักไปแล้วนี่ เพราะเราไม่รู้ พอสติมันทันปั๊บนี่ พอมันทันหมดเห็นไหม รูป รส กลิ่น เสียง ปุถุชนและกัลยาณปุถุชน การทำสมาธิมันจะมีแยกตรงนี้ ถ้าปุถุชนคนหนา ทุกอย่างเป็นเรา ถูกต้องตามกฎหมาย ถูกต้องทุกสิ่ง ถูกหมดเลย นิพพาน เกลี้ยง เรียบร้อย จบ นิพพาน ไม่มีเหตุผลอะไรรองรับเลย แต่เมื่อเป็นกัลยาณปุถุชน มันทันความคิดทันความรู้สึกเนี่ย เป็นอายตนะ เป็น รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมารเป็นพวงดอกไม้แห่งมาร ไล่เข้าไปจนมันขาด รูป รส กลิ่น เสียง ส่วน รูป รส กลิ่น เสียง จิตส่วนจิต นี่กัลยาณปุถุชน พอกัลยาณปุถุชนเนี่ย มันควบคุมจิตได้ง่าย จิตเป็นสมาธิได้ง่าย พอจิตเป็นสมาธิได้ง่าย ควบคุมได้ละ

พิจารณาเข้าไป ปัญญาอบรมสมาธิเข้าไป บ่อยครั้งเข้า ๆ จนมันเห็น เห็นจิต เห็นอาการของจิต เราถึงเชื่อมั่น เราทำมา มันมีประสบการณ์ พอมีประสบการณ์เนี่ย เราฟังหลวงปู่ดูลย์พูด ถูกหมด ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต แล้ววิปัสสนามัน โดยหลักหลวงปู่ดูลย์ท่านสอนอย่างนี้ ดูจิต ๆ จนจิตเห็นอาการของจิต แล้วเราปฏิบัติไปนี่ เวลาจิตมันสงบแล้วเนี่ย นี่ไง รูป รส กลิ่น เสียง เห็นไหม พอจิตมันสงบเข้ามา มันยังไม่เห็นอาการของจิต คือมันยังจับจิตไม่ได้ เพราะจิตจับอาการของจิตยังจับไม่ได้ ถ้าจิตยังจับอาการของจิตยังไม่ได้จะทำงานอะไร จะวิปัสสนาตรงไหน พอจิตเห็นอาการของจิต เห็นตรงไหน ตอนเราเป็นปุถุชนนะ ตอนที่ว่า เราศึกษาทฤษฏีหมดเลย เรารู้ธรรมะหมดเลย ทุกคนรู้ธรรมะหมดเลย แต่เวลาเราเจอเหตุการณ์อย่างนั้น เราทำอะไรไม่เป็นเลย เราทำอะไรไม่เป็นเลยเพราะเราไม่รู้จักจิตของเราเลย นี่ไง เวลาสิ่งใดกระทบเนี่ย ไม่รู้เรื่องเลย มันขาดสติไป มันขาดสติเลย เพราะมันเป็นสติของปุถุชน สมาธิของปุถุชน สมาธิของปุถุชน เรามีสมาธิอยู่แล้ว ไม่มีสมาธิเลย

เราถือถ้วยถือจานได้ไหม เราถือทัพพีตักอาหารใส่ถ้วยใส่จานได้ไหม ก็มี พร้อมหมด นี่ไง สติอย่างนี้แก้กิเลสไม่ได้ สติแบบปุถุชน สติของมนุษย์เนี่ยแก้กิเลสไม่ได้หรอก ไม่งั้นมันจะมีปุถุชนกัลยาณปุถุชนและมีโสดาปัตติมรรค และโสดาปัตติมรรคมันใช้สติแค่ไหน มันมีคุณภาพของสติแค่ไหน มันถึงเป็นโสดาปัตติมรรค แล้วโสดาปัตติผลมันเป็นยังไง นี่ไงสติปัญญาทุกคนมันก็มีหมดล่ะแต่ แต่ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ เห็นไหมพอไม่รู้ขึ้นมา พอความไม่รู้ เนี่ยตรงนี้สำคัญมาก เพราะความไม่รู้

การพูดออกมาถึงพูดเรื่องวิทยาศาสตร์เรื่องโลกเรื่องกรอบแล้วยืนยันว่าต้องพุทธพจน์ ๆ ๆ หูย เรารำคาญ พุทธพจน์ใครไม่เคารพ บวชเป็นพระมานี่ บวชเป็นพระมานี่ อยู่ มีชีวิตดำรงชีวิตมาเนี่ย ก็ธรรมพระพุทธเจ้าทั้งนั้น ทำไมไม่เคารพ แต่มันจะเคารพก็ต่อเมื่อ ถ้าเรายิ่งเข้าไปรู้จริงเห็นจริงเข้าไปถึงธรรมอันนั้น เรายิ่งเคารพลึกซึ้ง ทำไมครูบาอาจารย์หลวงตาเมื่อก่อน ท่านจะกราบพระพุทธรูป กราบโห สวยงามมากเลย มันดูดดื่ม มันซึ้งใจ พอมันดูดดื่ม มันซึ้งใจเห็นไหม เนี่ย จนจิตอาการของจิต เนี่ย พอจิตมันสงบเข้ามา พอจิตสงบเข้ามาเนี่ย สงบอะไร ถ้าไม่สงบนะ อย่างที่พูดเมื่อกี้ อะไรกระทบ เป็นวิทยาศาสตร์หมด สิทธิเสรีภาพ พุทธพจน์ แล้วเนี่ย ภราดรภาพ ศักยภาพ เนี่ย เสรีภาพ เนี่ยมันอ้างอิงไปหมดเลย

แล้วมันบอกว่านี่เป็นเสรีภาพของมันหมดเลย แล้วมันก็บอก เนี่ย ธรรม ธรรมะเป็นอย่างนี้ ๆ แล้วบอกเนี่ยห้ามเถียงนะ นี่พุทธพจน์ นี่คำสอนพระพุทธเจ้า มันเป็นคำสอนแต่เป็นเรื่องโลกนะ เป็นโลกทางวิชาการแต่ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะเข้ามาเนี่ย ไล่เข้ามาเรื่อย ๆ พุทโธ ๆ ก็ได้ ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา ๆ คำว่าสมาธิเห็นไหม รูป รส กลิ่น เสียง บ่วงของมาร เสียงอะไรต่าง ๆ เนี่ย มันดึงไป ให้เป็นวิทยาศาสตร์ ให้เป็นโลก ให้เป็นสิทธิเสรีภาพ ให้เป็นศักยภาพของมนุษย์ แต่มันไม่เป็นธรรม ไม่เป็นธรรม

พอปัญญามันไล่เข้ามา ๆ พอไล่เข้ามา เห็นไหม มันไล่เข้ามา มันรู้ทันแล้ว รู้ทันมันปล่อยมา มันปล่อยมานี่กัลยาณปุถุชนปล่อยมาเป็นอิสรภาพ อิสรภาพในสัมมาสมาธินะ เพราะมีสัมมาสมาธิขึ้นมา เนี่ย ดูจิต ๆ จนจิตเห็นอาการของจิต จนจิตเห็นอาการของจิต จิตส่งออกทั้งหมด จิตที่จิตส่งออกทั้งหมดผลเป็นสมุทัย ให้ผลเป็นทุกข์ เนี่ย แต่ถ้าจิตเห็นจิตอาการที่จิตเห็นจิต เป็นมรรค ผลจากจิตเห็นจิตนั้นถึงจะเป็นวิปัสสนา นี่พอจิตมันพิจารณาของมันจนสงบเข้ามา ๆ มันไม่เห็นหรอก เนี่ยพอไม่เห็น นี่พักอันนี้ไว้

พอมาหลวงตาเวลาท่านสอน ครูบาอาจารย์ท่านสอนหลวงปู่มั่นท่านสอน พุทโธ ๆ ให้จิตสงบเข้ามา ให้จิตสงบเข้ามา แล้วขุดคุ้ยหากิเลส ขุดคุ้ยหากิเลส ไม่ใช่ส่งแล้วจะเจอกิเลส แล้วกิเลสมันจะวิ่งมาชนให้เราฆ่ามันไม่มีหรอก ขโมยที่ไหนมันจะวิ่งหาตำรวจ ตำรวจจับที ๆ ไม่มีหรอก ขโมยเจอตำรวจวิ่งหนีหมด กิเลสของเราไม่มีทางที่จะมาให้เราฆ่าหรอก กิเลสของเรามันไม่มีวันจะวิ่งเข้ามาชนธรรมะหรอก มันวิ่งหนีเลย หลวงตาพูดบ่อยว่า กิเลสกลัวมากคือกลัวธรรมของพระพุทธเจ้ามาก กลัวธรรมะนี้มาก แล้วเราตั้งใจเนี่ยปฏิบัติ นักปฏิบัติ โห มีศีลมีธรรมนะ โห กิเลสวิ่งหนีหมดเลยนะ โหย ว่างกันหมดเลย หากิเลสไม่เจอ เนี่ยคนมีศีลมีธรรม

เราพูดบ่อย เราพูดประชด เห็นไหม เนี่ย นกกระยางไง แหม อยู่นิ่งๆ โหผู้ปฏิบัติธรรมนะ อย่าเผลอนะเอาไม่อยู่หรอก เอาไม่อยู่ เราถึงพูดเห็นไหม พวกเรานี่อีแร้งโว้ย มันจะเหม็นสาปเหม็นสางขนาดไหนก็แล้วแต่ แต่มันกินซากศพโว้ย มันไม่กินสัตว์มีชีวิตนะ นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเป็นความจริงของมัน เวลาจิตมันสงบแล้วนี่ เนี่ยต้องขุดคุ้ยหากิเลส คนภาวนาเนี่ย มันจะมีขั้นตอนของมัน ขั้นตอนว่าถ้าจิตสงบแล้ว เราจะทำประโยชน์อะไร ถ้าจิตมันไม่สงบ มันไม่สงบก็ความคิดเป็นเราไง สรรพสิ่งเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเราหมดเลย พอเป็นเราใช่ไหม แล้วเราศึกษาธรรมะใช่ไหม นี่ไง เสรีภาพไง นี่ไง นี่ความว่างไง ศึกษาแล้วมันปล่อยวาง ศึกษาแล้วมันมีความสุขไง

ศึกษามีความสุข ศึกษาเฉย ๆ แต่มันไม่รู้ข้อเท็จจริงอย่างนั้น ถ้ารู้ข้อเท็จจริงอย่างนั้น มีการกระทำมีพื้นฐานรองรับปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา เนี่ยมันทันความคิดเรา มันปล่อยเองเพราะที่ว่าสังโยชน์ ๆ มันผูกไว้เนี่ย สังโยชน์ผูกไว้โดยสามัญสำนึก ไอ้นี่ก็เหมือนกัน โดยความคิด โดยธรรมชาติเนี่ย เราคิดว่าความคิดเป็นนามธรรม พอความคิดเป็นนามธรรมนี่ ทุกคนคิดเลยนะ ความคิดเป็นเรานี่ โหยเป็นความลับ ไม่มีใครรู้หรอกคิดอย่างไรก็ได้ โหไม่มีใครเห็นความคิดเรา นี่ไง ความคิดเรา ไม่ใช่เป็นความลับอะไรเลย ความคิดเรานี่ โธ่ ความคิดเราพูดบ่อยว่า มันเหมือนกระดาษ เราเขียนอักษรลงไปในกระดาษนี่ก็ความคิด นี่ความคิดเกิดจากจิต ถ้าความคิดเกิดจากจิตแต่เพราะเราไม่รู้ ถ้าคนรู้เขาจะเข้าใจของเขา เพราะเราไม่รู้ ไปดูสิเวลาเขาส่งสาส์นกันเห็นไหม เนี่ยจดหมายมาเนี่ยมีอะไร ก็อ่านตัวหนังสือนั้น จากกระดาษนั้น เนี่ย มันเป็นเนื้อเดียวกัน

แต่เวลาทำสมาธิเนี่ยมันกลับไปสู่กระดาษขาวไง มันลบตัวอักษรนั้นออกหมดเลย พอลบตัวอักษรออกคืออะไร สมาธิคืออะไร สมาธิคือสมาธิ สมาธิคือกระดาษเปล่า อ้าวแล้วกระดาษเปล่ามันจะมีตัวอักษรที่ไหน มันไม่มีตัวอักษรถ้ามีตัวอักษรมันก็คือความฟุ้งซ่าน เพราะความคิดเป็นเราไง สรรพสิ่งเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา นี่สามัญสำนึกไง แต่พอเราปัญญาอบรมสมาธิเข้าไปจนมันลบออกหมด เห็นไหม จิตเดิมแท้ผ่องใส ๆ นี่พอผ่องใสเพราะอะไร เพราะมันลบออกหมด พอลบออกหมด นี่ไง จิตเห็นอาการของจิต ถ้ามันเขียนออกมาอีกทีนึง เขียนมาอีกทีมันก็ตัวอักษรในกระดาษนั้นที่เรารู้ความหมาย จิตนั้นมันคิดอีกทีนึงๆ

โดยสามัญสำนึกมันคิดของมันอยู่แล้ว แต่เพราะคิดอยู่แล้วนี่ มันเป็นธรรมชาติ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยปกติของมนุษย์ เพราะไม่ได้ศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้า ศึกษาพระพุทธเจ้าก็ศึกษาโดยทฤษฎี แต่พอเราปฏิบัติขึ้นมานี่ สิ่งนี้เป็นนามธรรมมันเป็นต่อหน้าเราละๆ พอจิตมันสงบ อ้าว สงบ แล้วถ้าไม่มีใครบอก ไม่มีครูบาอาจารย์นี่ นิพพาน แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์บอกนะ จิตเห็นอาการของจิต เวลามันเสวยอารมณ์ไง ความคิดมันเกิด เกิดยังไง ความคิดนี่ ความคิดมันเกิดอย่างไร ถ้าเห็นความคิดมันเกิดนะ ความคิดมันเป็นขันธ์ห้า จิตเป็นพลังงาน จิตนี้เป็นพลังงาน เวลามันเกิดเนี่ย มันมีการกระทบ มันจับได้ พอมันกระทบปั๊บ เนี่ย เวลาเขาพูดไง สภาวะจำ จำไปเรื่อย ๆ จำจนจิตเป็นกลาง จิตพื้นฐาน จิตที่เป็นวิปัสสนา เป็นไปไม่ได้ ความจำคือสัญญา ในวงกรรมฐานครูบาอาจารย์ท่านถือจุดนี้เป็นจุดเป็นจุดตาย คือสัญญา เห็นไหม สัญญา สัญญากับปัญญา ถ้าปัญญาใช้บ่อย ๆ เข้าจะ กลายเป็นสัญญา สัญญาเป็นปัญญาไปไม่ได้ ถ้าเป็นปัญญาอยู่ ๆ ปัญญามันจะกลับไปเป็นสัญญาได้เลย เพราะมันขาดสมาธิ ฉะนั้นว่า สภาวะจำ จำจนเป็นปัญญาเนี่ยมันเป็นไปไม่ได้ จำจนเป็นสติก็เป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างเป็นไปไม่ได้สักเรื่องหนึ่ง แต่ถ้ามันเป็นความจริง พอจิตมันสงบเข้ามาๆ ๆ มันปล่อยเป็นกระดาษขาว เวลาโดยธรรมชาติมันคิดอยู่แล้ว อย่างนี้ถ้าเราไม่ภาวนา ทุกคนมีความคิดหมด แต่ความคิดนี้มันไปโดยธรรมชาติ

แต่พอเรามีสติควบคุมเข้ามาจนจิตมันปล่อยความคิด มันถึงเป็นสมาธิ สมาธิคือมันปล่อยความคิด มันปล่อยความคิดเห็นไหม จิตส่งออกทั้งหมด ผลของมันเป็นสมุทัยเป็นทุกข์ ต้องหยุดความคิด แต่การหยุดความคิดก็ต้องใช้ความคิด พอมันหยุดแล้วนี่ พอมันเสวยอารมณ์เนี่ย ถ้าเห็นเสวยอารมณ์เห็นไหม มันมีทั้งทฤษฏี มันมีทั้งภาคปฏิบัติ เพราะภาคปฏิบัติเวลาจับ เวลาจับได้ เห็นไหม เวลาจับได้พอมันเห็นจิตเสวยอารมณ์ มันจับปั๊บ พอมันจับปั๊บ นั่นแหละเห็นความคิดของตัว พอเห็นความคิดตัว

ความคิดคืออะไร ความคิดคือขันธ์ห้า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ความคิด ความคิดขบวนการเหมือนไฟฟ้า เหมือนไฟฟ้าสถิตย์มันจะใช้ประโยชน์ได้มันต้องมีสื่อของมัน มันต้องมีแสดงตัวของมัน เนี่ย ความคิดมันจะ ความคิดถ้าขบวนการของความคิดถ้าไม่มีตัวจิตมันจะแสดงออกมาไม่ได้ สิ่งที่แสดงออกมาไม่ได้นี่ พอมันจับมาได้นี่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันสื่อ มันอาศัยสื่อออกมา สื่อนี้ออกมาเพื่อสิ่งใด ออกมาเพื่ออะไร เราจับอารมณ์ความรู้สึกอันนี้ได้ เรามาขึงพรืดมัน ขึงพรืดในรูป รูปคืออะไร ความพอใจไหม ในเวทนามันมีแต่เสียใจ ในสัญญาข้อมูลอะไร ในสังขารมันปรุงอย่างไร ในวิญญาณรับรู้

ในวิญญาณรับรู้ในขบวนการของมันนะ ขบวนการอารมณ์หนึ่งถ้าไม่มีวิญญาณรับรู้ ขบวนการของมัน เห็นไหม รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร ขบวนการความคิดหนึ่งเนี่ย ที่ว่าเร็วมาก ๆ เนี่ย มันมีความรู้สึกอันหนึ่ง ความคิดอันหนึ่งมันพร้อมขบวนการเป็นรูปไปแล้ว ๆ รูปนี่คือความคิด แล้วจิตล่ะ ๆ ถ้าจิตสงบมันจับตรงนี้ได้ มันแยก เห็นไหม มันแยก แยกขบวนการนั้น นี่วิปัสสนาเกิดอย่างนี้ ถ้าวิปัสสนามันเกิด มันใช้ปัญญาแยกออกไป ๆ จิตส่งออก จิตส่งออกส่งออกเป็นสมุทัยผลเกิดเป็นทุกข์ ความคิดโดยสามัญสำนึกความคิดโดยมนุษย์ไง

แต่พอจิตเห็นจิตเห็นไหม พอจิตเห็นจิต จิตมันจับอาการมันได้ จิตจับความคิดของตัวเองได้ไง อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ พูดถึงบอกว่า ครูบาอาจารย์ท่านไม่ใช่ตะเข้ ท่านมีลิ้นท่านมีรับรู้รสได้ แต่ท่านก็มีสติสัมปชัญญะ ท่านควบคุมของท่านได้ ท่านพิจารณาของท่านได้ สรรพสิ่ง เหมือนกับเรา ๆ เราคุมเกมส์หมด เราคุมความคิด เราคุมความรู้สึกเราหมดเลย แล้วเราคุมขบวนการที่กิเลสมันยุแหย่ เราคุมได้หมด เนี่ยขบวนการนั้นเห็นไหม เนี่ย สิ่งที่ขบวนการนั้นท่านถึงปล่อยวางสิ่งนั้นได้ นี่ก็เหมือนกันในเมื่อถ้าจิตมันมีอาการของจิต เห็นไหม แล้วมันพิจารณาไป

ผลที่เกิดจากความคิดนั้นเป็นสมุทัยเป็นทุกข์ พอเป็นทุกข์มันสงบเข้ามา สงบเข้ามาพอจับอันนี้ได้ เราก็แยกให้มันอีก เราจับได้ จับได้ คำว่าจับได้ นี่การขุดคุ้ยหากิเลส คนไม่ได้ภาวนาไม่รู้ ไม่รู้คิดว่ามันมีอยู่แล้วไง ถึงได้บอกว่านิพพานมันมีอยู่แล้ว ผลมันมีอยู่แล้ว สรรพสิ่งมันมีอยู่แล้ว ถ้ามันมีอยู่แล้วพระพุทธเจ้าไม่ต้องมาตรัสรู้หรอก มันมีอยู่แล้วไง มันไม่มี มันไม่มีหรอก พอมันไม่มีเราถึงต้อง ต้องสร้างเหตุขึ้นมา ต้องมีการกระทำขึ้นมา พอมีการกระทำขึ้นมาเนี่ย พอจับมันได้แล้วแยกแยะออกไปเนี่ย เห็นไหม สิ่งที่แยกแยะ แยกแยะขุดคุ้ยหากิเลส จับกิเลสได้ แล้ววิปัสสนามัน จิตเห็นอาการของจิต วิปัสสนามัน

พอวิปัสสนามันทำถึงที่สุดแล้วนี่ ผลมันจะเกิดตรงนั้น มันเป็นปัญญาคนละมิติ มันเป็นปัญญาคนละปัญญา นี่พูดถึงจริตนิสัย ถ้าจริตนิสัยมาตั้งแต่เราพิจารณากายเนี่ย เวลาเราบอกไม่ใช่จริตนิสัย เราพิจารณากายไม่ได้เลยเพราะมันจืดมันชืด แล้วพอเราพิจารณาของเราไปเนี่ย ไปถึงที่สุดนะ มันก็ไปติดไง มันติด เราติดมาเยอะมาก ติดหลงใหลเยอะมาก แล้วไปหาครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ก็แก้เอา ๆ พอแก้ขึ้นมามันก็มีเหตุผลอย่างที่ว่าเนี่ย พอมาอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะนี่ไง ไหนว่าพิจารณากายไม่ได้ ทำไมมาอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะพิจารณากายได้ล่ะ คนไม่รู้ไม่เข้าใจนะ

สิ่งเหล่านี้ถ้าเราไม่มีความชำนาญ เราทำไม่ได้หรอก ถ้าเรามีความชำนาญ ในความชำนาญของเราเนี่ย ชีวิตประจำวันเราทำสิ่งนั้นได้ แต่เพราะไม่ชำนาญใช่ไหม แต่มันทำได้แล้ว คือการพิจารณาจิตมาแล้ว พอเราทำงานได้แล้วนี่ เราไม่ชำนาญ แต่เราทำในทางที่เราชำนาญแล้ว พอเราชำนาญแล้วนี่ เรามากลับฝึกหัดในสิ่งที่เราไม่ชำนาญแต่เราทำเป็นแล้วงานนี้เราทำได้แล้ว แต่เราสิ่งที่จะทำแขนงนี้ไม่ชำนาญเลยกลับมาพิจารณา พิจารณากาย มันถึงได้ผลไง เราเทียบของเราหมด ทำไมมันถึงได้ผลอย่างนี้ คำว่าได้ผล พอพิจารณาทำงานได้แล้วทำไมต้องกลับมาพิจารณาอีก มันได้ผลแล้วน่ะ ได้ผลแล้วคือผลมันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ได้ผลแล้ว แต่

แต่สิ่งที่การกระทำที่เราไม่เคยทำ เรามาฝึกขึ้นมา เรารู้วิธีไง เรารู้เทคนิควิธีการที่จะทำอย่างนี้ เพราะพอเราปฏิบัติแล้วนี่ เราเที่ยวไปในวงกรรมฐาน พอเราไปหาหลวงปู่ถวิล กับไปที่เมืองจันทน์เห็นไหม หลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่คำดี เนี่ย หลวงปู่ชอบสิ่งต่าง ๆ พอเราฟังพิจารณากาย ๆ นี้คือความชำนาญของท่าน

แต่พอมาหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ดูลย์ท่านพิจารณาจิต พิจารณาจิตเนี่ย เราสังเกตได้ครูบาอาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ ไม่ค่อยได้พูดถึงหลวงปู่ดูลย์เพราะอะไร เพราะสิ่งที่การพิจารณาจิต ๆ ทำพิจารณาจิตเนี่ย มันทำได้ยาก มันกลับเป็นการที่ทำได้ยาก มันเป็นงานที่ละเอียดอ่อนกว่า แต่ถ้าขาดพิจารณากายจะพูดทางเดียว แต่สำหรับพอดี บังเอิญไง บังเอิญว่าเราพิจารณา มันเป็นจริตนิสัยที่เราชำนาญในการปัญญาอบรมสมาธิแล้วเราพิจารณาของเรามา แล้วเรามาพิจารณากายด้วย เพราะหลวงปู่เจี๊ยะบอกว่าถ้าทำได้ต้องทำอย่างนี้ได้มันเลยพิจารณาอย่างนี้ด้วย มันก็เลยครอบคลุม ครอบคลุมจริต ครอบคลุมความเห็นต่าง ๆออกไป นี่ มันถึงพอเขาครอบคลุมไปแล้วนี่ มันถึงมองขบวนการออก ฉะนั้นจึงว่า

ถ้าพูดถึงจริตนิสัย มันเป็นจริต จริตนิสัยเนี่ย ถ้ามันมีครูบาอาจารย์ที่ ที่ท่านมีอำนาจวาสนาท่านจะแนะนำเราได้ แต่ถ้าเราไม่มีครูบาอาจารย์ขนาดนั้น เราจะทำของเราเนี่ย เราต้องพยายามตรวจสอบเรา ว่าทำแล้วได้ผลหรือไม่ได้ผลเพราะคำถามว่าเมื่อไหร่เราควรเปลี่ยนคำภาวนาเพราะไม่ถูกจริตกับเรา เมื่อไหร่จะเปลี่ยนคำภาวนา อันนี้มันเหมือนตอนเช้าที่พูด ตอนเช้าที่ออกในเว็บไซต์ เอาเรื่องที่เราพูด เวลาเราพูดเนี่ย เราพูดเป็นคติเราพูดเป็นเหมือนกับว่าที่เราอธิบายให้ฟังบ่อย ๆ นี่นะ

เราพูดถึงว่า เราเคยมีมุมมองอย่างนี้ เราเคยมีมุมมองไง มันเป็นมุมมองเป็นทัศนคติ แต่เรายังไม่ได้ทำอย่างนั้น เราบังเอิญไปทำอย่างอื่นก่อน เป็นมุมมองเฉย ๆ เขาเอามุมมองไปเขียนลงในเว็บไซต์เละเลย เป็นว่าเป็นประวัติเราไปเลย ไม่ใช่ เป็นมุมมองที่เราเคยตั้งใจจะทำอย่างนั้น แต่ยังไม่ได้ทำ เพราะเราไม่ได้ลงไปทำ นี่เหมือนกัน ในเมื่อ เพราะไม่ถูกกับจริตเรา รู้ได้อย่างไรว่าไม่ถูกกับจริตเรา ถ้ามันเพราะเมื่อไหร่เราควรเปลี่ยนคำภาวนา ไอ้คำภาวนาเนี่ย คำว่าเปลี่ยนคำภาวนาไม่ถูกกับจริต ถ้าอย่างนี้มันเป็นอะไรนะ มันเป็นกฎตายตัวไปเลย แต่ถ้าเราไม่ใช่ว่า เมื่อไหร่มันถูกจริตไม่ถูกจริต อย่างพูดเริ่มต้น ถ้าปัจจุบันเราจะตอบเหมือนเริ่มต้นที่ว่า

ทำไมหลวงปู่มั่นท่านสอนพุทโธ ทำไมให้หลวงปู่อ่อนบริกรรมอย่างนี้ล่ะ ท่านหวังผลกับผู้ที่ปฏิบัติใช่ไหม อันนี้เราเป็นผู้ที่ปฏิบัติใช่ไหม แล้วคำว่าไม่ถูกจริตเนี่ย เราจะเปลี่ยน มันถูกกิเลสหลอก ถ้าเรากำหนดพุทโธ ๆ เนี่ย คำว่าพุทโธหรือปัญญาอบรมสมาธิหรือมรณานุสติต่าง ๆ เนี่ย มันเป็นอุบายที่เราจะหลากหลาย เหมือนกับสินค้าหลากหลายที่ให้เราเลือก นี้เราจะเลือกสิ่งใด เรามีประโยชน์กับสิ่งใด เราต้องจงใจทำเฉพาะสิ่งนั้น ฉะนั้นถ้าเรากำหนดพุทโธ ๆ ไปเรื่อย ๆ ถ้าพุทโธไปแล้วนี่ เนี่ยเดินจงกรมกันหลาย ๆ ชั่วโมง เนี่ย ถ้าพุทโธไปแล้ว พุทโธไปแล้วถ้ามันตัน หรือว่าปัญญามันออกหมุนเราก็ไปกับปัญญา สุดท้ายถ้ามันปัญญา เราใช้ปัญญาเพราะทุกคนบอกว่า แล้วเมื่อไหร่จะได้พิจารณาล่ะ เมื่อไหร่จิตสงบแล้วจะได้วิปัสสนาล่ะ

ถ้าจิตมันสงบเนี่ย มันสงบแล้ว แต่ แต่มันไม่ตั้งมั่น มันยังวิปัสสนาไม่ได้หรอก ถ้าวิปัสสนาไม่ได้ การทำต่อไป คือการใช้ปัญญา พอการใช้ปัญญา ปัญญาตรึกในธรรมเนี่ย พอตรึกในธรรม ผลตอบกลับมาให้สมาธิเรามั่นคงขึ้น ให้สมาธิของเรานี่มันมีช่องทางออกได้หลากหลายมากขึ้น ถ้าสมาธิเรามีช่องทางหลากหลายมากขึ้น เหมือนกับเราขันน๊อต หรือเราจะจับของให้เข้าที่เนี่ย มันมีสิ่งกีดขวางเนี่ย เห็นไหม เราขยับเขยื้อนให้มันเข้าที่ จิตก็เหมือนกัน จิตถ้ามันบอกพุทโธ ๆ แล้วมันยังคาอยู่ มันเข้าไม่ได้สนิทใช่ไหม เราก็ใช้คำว่า ปัญญาอบรมสมาธิ คือขยับจิตให้มันเข้าที่เข้าทางไง

การใช้ปัญญาเนี่ย ปัญญาเพื่อให้มันถูกจังหวะจะโคนของมัน มันใช้ได้ ไม่ใช่ว่า พอจิตไม่สงบไม่ใช้ปัญญาไม่ได้เลย ถ้าเราใช้ปัญญาไม่ได้เลย แล้วปัญญาอบรมสมาธิมันคืออะไร นั่นก็คือปัญญา แต่ปัญญาเพื่อสมถะ หลวงปู่เจี๊ยะท่านพูดบ่อย เนี่ย ดูกาย ดูไปตามข้อกระดูกเนี่ย ดูไปบ่อย ๆ คำว่าดูกายเนี่ย เรามาจากไหนกัน เรามีสมาธิหรือยัง ไม่มี แต่เราดูกายเนี่ย เราเอาสติให้จิตมันอยู่ตามข้อ ข้อนิ้วซ้าย ข้อนิ้วก้อย ข้อนิ้วชี้ ข้อนิ้วนาง ข้อนิ้วกลาง ข้อนิ้วก้อย ดูข้อ ดูฝ่ามือดูข้อมือดูกระดูกขึ้นไป ท่านพูดคำนี้นะ บอกว่า ถ้าจิตมันหมุนเราดูกาย ดูจิตไปตามข้อกระดูก ไปตามข้อกระดูกต่าง ๆ เนี่ย ให้มันวนอยู่อย่างนี้ได้เป็นชั่วโมง ๆ ท่านบอกว่านั้นคือสมถะ นั้นคือสมาธิไง

ถ้าเป็นสมาธิเนี่ย จิตมันควบคุมได้ง่ายเห็นไหม มันจะเดินตามข้อนี้ไปเรื่อย ๆ นั้นเป็นสมถะไม่ใช่วิปัสสนาเลย แต่เพราะเราเดินข้อไปเรื่อย ๆ ใช่ไหม พอจิตมันเป็นสมถะ จิตมันมีหลักมีเกณฑ์มาแล้ว เราก็เดินข้ออยู่อย่างนั้น พอจิตมันเปลี่ยนแปลงที่จิต มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงที่กาย ถ้ากายไม่เป็นสมถะเราก็บังคับให้มันอยู่ มันจะคอยหลุดไง ถึงข้อมือแล้วก็จะออก พอหัวไหล่แล้ว แต่ถ้ามันมีสติ มันมีสติแล้วจิตมันมีหลักมีเกณฑ์คือจิตมันเริ่มเป็นสมาธินี่ มันควบคุมง่าย จากข้อมือข้อศอกหัวไหล่ขึ้นไปหัวกะโหลกลงมาไปแขนซ้ายแขนขวา หมุนไปหมุนกลับหมุนอยู่อย่างนี้ นี้คือจิตที่มันควบคุม สติมันควบคุมจิตได้ พอจิตมันควบคุมได้นี่ ควบคุมคืออะไร จิตนิ่งคืออะไร นี่ไงท่านบอกว่าการเดินกายอย่างนี้ยังเป็นสมถะ แต่พอจิตมันสงบนะ

พอจิตมันมีหลักมีเกณฑ์เดินกายเหมือนกันแต่จิตมันสงบ พอจิตมันสงบ มันเห็นกระดูกแตกต่างกันแล้ว ตอนนี้รอยกระดูกสิ ก็คือข้อกระดูกไง เพราะเราก็เห็นใช่ไหม โครงกระดูกเราก็รู้อยู่ มันเป็นสัญญา มันเป็นการสร้างภาพเพื่อให้จิตเกาะไว้ เหมือนเกาะพุทโธนี่แหละ โดยหลักถ้าใครภาวนาเป็นนะ พุทโธ ธัมโม สังโฆ มรณานุสติต่าง ๆ มันก็คือสมาธิเหมือนกันหมด ถ้าไปถึงจุดที่เป็นผลแล้วมันเหมือนกันหมด แต่ต้องคนเป็นพูดนะ ถ้าคนไม่เป็นมันพูด มันเถียงกันว่าอย่างไรเป็นสมถะ สมถะเพราะเหตุใดไง ถ้าไปเห็นสมถะก็บอกว่านี่พอจิตมันสงบแล้วนี่ก็ใช้ปัญญา ก็นี่ใช้ปัญญาหมดมันยังไม่เป็นสมถะได้อย่างไร

เป็นสมถะคือปัญญาอบรมสมาธิ แต่พอจิตมันสงบนะ มันเห็นข้อเห็นกระดูกโดยตาของจิตมันแตกต่างกับสามัญสำนึกมันแตกต่างจากสัญญามาก เพราะบังคับจิตให้มันอยู่นี่ ให้มันอยู่ตามข้อต่าง ๆ นี่ เราบังคับ เห็นไหม จิตนี้ต้องบังคับ จิตนี้ต้องไปติดควบคุมมัน จิตนี้ต้องให้มีความเพียรของมัน ไม่ปล่อยให้มันเป็นอิสระ มันเป็นอิสระไม่ได้ เพราะมันมีมาร มันมีอวิชชาครอบงำมันอยู่ เป็นอิสระไม่ได้ อิสระไม่ได้ ไม่มีสติ ไม่มีสติควบคุมมัน จิตปล่อยเป็นอิสระนะ มันจะคิดแต่ตามประสามัน เราพูดประชดบ่อย เห็นไหม

ในมหายานเขาบอกเลยนะ พระอรหันต์ดำรงชีวิตอย่างไร อ้าว หิวก็กินไง ร้อนก็อาบน้ำ เรามาเทียบเลย หิวก็กิน ก็เหมือนเด็กอ่อน หิวก็กินมัน มันเด็กอ่อนใช่ไหมมันอยู่บนผ้าอ้อมใช่ไหม มันก็ขับถ่ายไว้ในผ้าอ้อมมัน ถ้าหิวมันกินอะไร ก็กินอึมันไง มันจะเอาอะไรมากิน มันก็เอามือคว้าอึมากิน แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์นะ จิตมันโต จิตมันเป็นผู้ใหญ่ มันไม่ใช่จิตเด็กอ่อนอย่างนั้น ย้อนกลับมาที่เราในการปฏิบัติของเรานี่ เรามีอะไร เรามีอะไรที่จิตเราจะทำอย่างนั้น เพียงแต่เป็นบุคคลาธิฐาน แต่เราคิดด้วยสามัญสำนึกของเรา เพียงแต่ท่านบอกว่าชีวิตประจำวันของเรา หิวก็กิน ร้อนก็อาบน้ำ มันก็อยู่แถวนั้น เพราะจิตท่านปล่อยวางแล้ว จิตท่านเป็นความจริงของท่านอย่างนั้น

แต่จิตเราไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าจิตเราไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าจิตเราเป็นเด็กอ่อนอยู่ จิตเรามันถึงต้องบังคับ ต้องบังคับด้วยสติ ต้องบังคับหมด ปล่อยไม่ได้ ถ้าปล่อยมันไหลไปตามกิเลสหมด เป็นไปไม่ได้เลย แต่พอบังคับขึ้นมา เนี่ย เราก็บอกเป็นอัตตกิลมถานุโยค เป็นความทุกข์ เป็นความลำบาก บังคับให้เป็นคนดีนะ บังคับให้เราทำดี ความดีของเราเนี่ย ดีใยมันจะเท่ากับดีจิตเราพ้นจากทุกข์ ดีอื่นมันก็ดี แต่ดีส่วนน้อย ถ้าดีของเรานะ ดีของเราเราต้องควบคุมใจเรา ถ้าจิตมันมีสติปัญญาขึ้นมามันจะควบคุมขึ้นมา แล้วพอจิตมันสงบมันเห็นกายนะ เห็นกาย คนเริ่มต้นมานี่ เห็นกายเนี่ย มันสะเทือนหัวใจ เห็นกายโดยจิตนี่มันสะเทือนหัวใจมาก มันสะเทือนหัวใจเพราะอะไร มันสะเทือนหัวใจเพราะ สิ่งนี้มันปิดรับกับตัวเราเองนะ ไม่ปิดรับกับใครนะ มันปิดรับกับตัวเราเองมานาน ข้อมูลหลักฐานนี้มันเก็บไว้กับจิตใต้สำนึก แล้วไม่มีใครเปิดดูมันได้ แต่พอจิตเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม โดยจิตเห็นอาการของจิต

จิตเห็นอาการของจิต มันสะเทือนมากเพราะความหลงผิดของจิต ความหลงผิดของพวกเราเนี่ย มันจะว่าทุกอย่างเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเราทั้งหมด สิ่งที่เราพูดสิ่งที่เราศึกษาเนี่ย มันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราไม่รู้อะไรหรอก เรารู้ด้วยขันธ์ห้า รู้ด้วยความสภาวะจำ ไม่มี แต่ถ้าไปรู้สภาวะจิต เพราะจิตมันสงบเข้ามาใช่ไหม พอจิตสงบเข้ามาเนี่ย มันเป็นธรรมชาติของมัน พอจิตสงบปั๊บการบังคับการมีสติ พอมันเห็นกายเนี่ย มันสะเทือนข้อมูลอันนี้ มันช็อก มันช็อก มันมีเห็นต่าง

ผู้ที่ปฏิบัตินะพูดคำนี้ออกมา ทุกคนจะตื่นเต้นมาก ผู้ที่ปฏิบัติ ผู้ที่จะคุยกันนี่ ถ้าจุดนี้มันเข้ามานะ จะรู้เลย เนี่ย เนี่ย เห็นทุกข์ เห็นไหม ที่ว่าเห็นกิเลส เราต้องขุดคุ้ยหากิเลสแล้วจับกิเลสได้เราถึงวิปัสสนามัน พอไปเห็นการเปิด เหมือนกับเราเป็นโรคเลือด แล้วเราจะรู้ว่าจะเช็คเจอได้อย่างไรว่าเราเป็น ถ้าเราไม่เป็นเราจะรักษามันไหม เพราะเราไม่รู้ว่าเราเป็นโรคเลือด เราก็ว่าเราเป็นปกติ แต่เมื่อใดถ้าพิสูจน์แล้วว่าเรานี่เป็นโรคเลือด เราก็ต้องรักษานั้น พอจิตมันสงบเข้าไป เนี่ย แล้วมันเป็นอาการของจิต เห็นอาการที่มันถ่ายเทออกมาจากจิต เห็นอาการที่มันถ่ายเทออกมา มันเหมือนกันเลย

เหมือนกับไปหาหมอ หมอบอกว่า เนี่ย เป็นมะเร็งขั้นสุดท้ายอีกสองวันตาย ช็อกหมดเลย คนที่เห็นกาย เห็นเวทนาเห็นจิต เห็นธรรม เหมือนกัน มันมีอารมณ์ความรู้สึกอย่างนั้น มีอารมณ์ความรู้สึกอย่างนั้น เพราะเราเห็นกิเลสแล้ว เราจะสู้กับมันแล้ว เราจะต่อสู้กับมัน ถ้าจับตรงนี้ได้นะ แล้วเอาวิปัสสนาไป ดูมันไป แยกมันไปๆ พอแยกมันไปเนี่ย เพราะมันจับมันรู้แล้ว เพราะมันแยกไป นี่ไงพอเราย้อนกลับมาที่ว่า เวลาบอกว่า เราพิจารณาเห็นไหม แบบว่า รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร แล้วพอจิตมันสงบมันดูไปเรื่อย ๆ พอมันจับได้นะ เห็นชัดเจนเลยนะ มันเป็น คำว่านิมิตเป็นนิมิต แต่ความรู้สึกมันจับได้แล้ว แต่นี่มันจะแสดงให้เห็นเลยว่า

จิตนี้เป็นแนวธรรมที่มีตัวตน จับได้ จับได้เลย พอจับได้ นั่นเป็นข้อเท็จจริงในการประพฤติปฏิบัติ พอในครูบาอาจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติแล้วนะ ดูจิตไป ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต แล้ววิปัสสนามันเนี่ย วิปัสสนาคือแยกแยะมันถูกต้องหมด แต่มันถูกต้องเพราะคนจริงกับคนจริง แต่มันไม่ถูกต้องที่ปฏิบัติ ที่ปฏิบัติกันอยู่นี้ เพราะว่ามันเป็นตำรา พอเป็นตำราปั๊บเนี่ยเราจะชักตำราเข้ามาแล้วจะอ้างนะ อ้างว่านี่ถูกต้องตามตำรา ถูกต้องตามตำรา ตำราไม่เถียง ตำราเป็นปริยัติ ตำราเป็นสภาวะจำ

ปฏิบัติเป็นสภาวะจริง สภาวะจำเนี่ย มันเป็นความจริงไปไม่ได้ แต่ถ้าเป็นความจำกับความจำมาคุยกัน จริงไหม จริงในสภาวะจำ จริงในสภาวะจำเพราะมีต้นขั้วมีที่มาที่ไป มีตำรับตำราเป็นที่ยืนยัน มันจริงในสภาวะจำ มันไม่จริงในสภาวะแก้กิเลส ในสภาวะที่เป็นจริงในจิต ถ้าสภาวะที่เป็นจริงในจิต มันจะเป็นธรรมะของมัน เป็นความจริงของมันที่เป็นสภาวธรรมในจิต มันเป็นการกระทำ ถ้าเป็นกระทำอย่างนี้ การกระทำมันเริ่มมาจากไหน การกระทำ จิตภาวนา ไม่ใช่สมองภาวนา

จิตภาวนา ถ้าไม่บังคับมันไม่ขู่เข็ญมันไม่ทำให้มันเปิดกว้าง ไม่ทำให้มันเป็นอิสรภาพ ไม่ทำให้มันเห็นอาการที่มีการกระทำของมัน มันจะภาวนาขึ้นมาได้อย่างไร มันก็เด็กอ่อนที่กินอึไง แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมานี่ เพราะมันไม่กิน เพราะมันรู้ตัวมันเอง มันได้เอาตัวมันเองมาซักฟอก มันได้เอาความเห็นของมันออกมาแยกแยะ แล้วมันแก้ไขในตัวของมันเองไปเรื่อย ๆ เห็นไหม แก้ไขในตัวมันเอง เห็นไหม เวลาครูบาอาจารย์ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ใครทรมานมา แล้วเราทรมานตนเรามาอย่างไร นี่ไงมันจะแก้ไขของมันเอง คือมันจะทรมานตัวมันเองแล้วเวลาคนเห็น

พิจารณากายเห็นกาย มันเหมือนกับเราทำงานแล้วได้ผลงาน เราจะมีความตั้งใจมีความอยากที่จะทำของเรามาก แล้วพิจารณาไปมันปล่อย ตทังคปหานมันปล่อย ปล่อยอย่างไร มันรับรู้อย่างไร มันรับรู้ มันรับรู้ เวลามันปล่อย ใครเป็นคนปล่อย จิตเป็นคนปล่อย พอจิตเป็นคนปล่อย พอจิตมันเผลอ จิตมันยังไปยึดอีก จิตทำไมยังไปยึดล่ะ จิตไปยึดเพราะอะไร เพราะสติปัญญาของเราไม่เท่าทัน เพราะสติปัญญาของเราไม่มั่นคง เราเอาความผิดความถูกเนี่ยเป็นข้อทดสอบในใจของเรา เป็นการทดสอบใจนะ พอทดสอบใจเนี่ยวิปัสสนามันไปบ่อยครั้งเข้า เพราะมันมี เวลาวิปัสสนาไป

หลวงตาจะพูดบ่อย เวลาใครภาวนาไปจะให้คะแนนตัวเองมาก ๆ ทั้งนั้น ใครมาก็ให้บวก ๆ ไปหมดเลย ให้บวกเพราะอะไร เพราะจิตมันเป็นนี่ไง พอมันปล่อยเราให้บวก พอมันเสื่อมนะ โอ้โห เสื่อม เสื่อมเริ่มต้นใหม่ เริ่มต้นใหม่ เริ่มต้นสร้างให้สติมั่นคงใหม่แล้วเอาวิปัสสนาใหม่ พิจารณาไป พอมันเสื่อม มันเสื่อมหมดเนี่ย เวลาทางโลกนะ ของอะไรที่มันเปลี่ยนที่ไปเอามาวัตถุมันยังอยู่นะ จิตเวลามันดีขึ้นมานี่ มันดีมาก ๆ เลย เวลาเสื่อมหายหมดเลย แล้วเวลาสร้างขึ้นมา มันก็ฟื้นขึ้นมาอีก เห็นไหม มันเป็นนามธรรม เวลามันเสื่อมไปนี่ดูสิ เวลาเขาเขียนเช็คกันนี่ เห็นไหม เป็นตัวเลข รู้มันจะกรอกตัวเลขเท่าไหร่ก็ได้ มันกระดาษนะ แต่มีตัวเลขให้เรานับจำนวนเงินนั้น จิตก็เหมือนกัน ตัวเลขคือว่ามีความเจริญขึ้นมานั้นคือตัวเลข ตัวเลขมันจะมากน้อยขนาดไหน เวลาลบตัวเลขหมดกระดาษมันก็อยู่อย่างเก่า หมดเลย เนี่ย

ฉะนั้นพอมันเสื่อม เวลาจิตมันเสื่อม พอเรารู้ว่าเสื่อมปั๊บ เพราะมันไม่มีผลตอบสนอง มีผลตอบสนองเวลาที่วิปัสสนาไป เห็นไหม ถ้ามีผลตอบสนองคือสังโยชน์ขาด สังโยชน์ขาดดั่งแขนขาด ถ้าใครเคยสังโยชน์ขาดนะ สังโยชน์ขาดคือพระโสดาบันอย่างต่ำ แล้วเวลาพระโสดาบันสังโยชน์ขาด อืม เป็นอย่างนี้ แล้วที่พิจารณามาร้อยหนพันหน ที่มันไม่ขาด มันเป็นอย่างนี้ มันมีความแตกต่างชัดเจนมากเลย แล้วถ้ามีความแตกต่างชัดเจนมาก คนนี้สังโยชน์ขาด ต้องบอกสังโยชน์ถูกต้อง ถ้าคนไม่เคยสังโยชน์ขาด เนี่ย สังโยชน์มันก็ปิด ๆ เปิด ๆ อย่างนั้น มันเป็นลักปิดลักเปิด เดี๋ยวก็มาเดี๋ยวก็ไป ไม่มีหรอก

สังโยชน์ขาดก็คือขาดเลย แต่ขณะที่เราวิปัสสนาไป จนกระทั่งขาดนี่ มันปล่อยแต่ไม่ขาด มันปล่อยแต่เราให้ค่าเอง เรามีสามัญสำนึกเรามีสมมุติฐานว่ามันขาด แต่ความจริงมันไม่ขาด แต่พอมันขาดนะ เราจะมีสมมุติฐาน มีความสำนึกว่าขาดหรือไม่ขาด ไม่เกี่ยว มันขาด มันขาดไปเลย สามัญสำนึกว่ามันมีอยู่มันก็ไม่มีมันนึกว่าสังโยชน์ มันจะรู้หมดล่ะว่าสังโยชน์เป็นยังไงแล้วมันขาดไปแล้วนี่ พอสังโยชน์ขาดแล้ววิปัสสนาไป ขณะสังโยชน์ขาดนะ สังโยชน์อย่างหยาบ สังโยชน์อย่างกลาง สังโยชน์อย่างละเอียดมันก็มีหลากหลาย แล้วพอเราสังโยชน์ขาดแล้วนี่ ถ้าเราพิจารณาไปจนมันปล่อย เราจะเอาตรงนี้เป็นหลัก เราจะเอาตรงนี้เป็นหลัก พอเราไปทำเนี่ย ผิดละเพราะหลักอันนี้มันเป็นหลักของขั้นนี้ หลักต่อไปเนี่ยมันละเอียดลึกซึ้งกว่านี้ มันใช้แง่มุมวิปัสสนาแตกต่างกันอย่างนี้ แล้วมันต้องเป็นปัจจุบันของข้างหน้า

มันเป็นปัจจุบันนี้ถูกไหม ถูก แต่ในปัจจุบันต่อไปเนี่ย จะเอาหลักอันนี้ไปใช้เป็นหลักข้างหน้า ผิดหมดเลย มันผิดเพราะอะไร เพราะมันไม่เข้าใจของมัน พอไม่เข้าใจของมัน มันจะผิดของมัน เนี่ย ที่พูดมาทั้งหมดเนี่ย เราจะบอกให้รู้ว่า เราทำแล้วนี้เอาผลของเราเป็นตัววัด ถ้าเราเอาหลักการเนี่ย อย่างนี้เขาเรียกคิดในกรอบเห็นไหม แล้วเมื่อไหร่เราต้องเปลี่ยนคำภาวนา คำภาวนาไม่ต้องเปลี่ยน คำภาวนาเนี่ยมันเป็นการอาศัย เนี่ย เราเป็นการอาศัย อย่างอาหารเรากินทุกวันกินทุกมื้อเลยเพื่อให้ร่างกายเราแข็งแรง คำภาวนาเนี่ยคือให้จิตมันเกาะไป

หลวงตาจะบอกว่าต้องมีคำบริกรรม ไม่มีคำบริกรรมเนี่ย ดูเฉย ๆ เวลามันเสื่อม มันเสื่อมหมด นี่ไงคำบริกรรมเป็นที่เกาะของจิต เป็นที่เกาะของจิต งั้นคำบริกรรมเนี่ย มันคำบริกรรมอะไรก็ได้ถ้าจิตมันสงบ เพราะมันเกาะสิ่งนี้เข้ามาสู่ความสงบ เราจะเปลี่ยน เปลี่ยนทำไม แต่ถ้าเราบริกรรม พุทโธ ๆ แล้วคำบริกรรมสิ่งใดที่เราบริกรรมแล้วมันไม่ได้ผล มันไม่ได้ผลเพราะอะไร ไม่ใช่มันไม่ได้ผลที่คำบริกรรม มันไม่ได้ผลเพราะ ๑. สติอ่อนไปไหม ๒. ความตั้งใจเราเนี่ยสมบูรณ์ไหม ๓. ร่างกายของเราเนี่ยมันมีอะไรกระทบมาบ้าง ๔. กิเลสตัวในหัวใจเรา มันกระตุ้นเตือนมันทำลายเยอะแยะเลย คำบริกรรมเนี่ยภาษาเราเลยคำบริกรรมไม่มีโทษเลยนะ

แล้วคำบริกรรมเนี่ยจะให้ผลอะไรเราไม่ได้เลย ถ้าพูดนี้คนตกใจนะ ก็คำบริกรรมมันก็เป็นสมมุติอันหนึ่ง คำบริกรรมนี้เป็นสมมุติอันหนึ่งนะ แต่เพราะจิตเรานี้เป็นความจริง กว่าที่มันจะเป็นความจริงเนี่ย มันต้องอาศัยสมมุติมันเพื่อแสดงตัวนะ คำบริกรรม ถ้าพุทโธ ๆ ๆ นี่นะแล้วสงบเนี่ยนะ เราจะเขียนพุทโธแล้วแขวนไว้บนหัวนี่ พุทโธกูอยู่บนนี้เลยนะ แล้วสงบไหมไม่สงบหรอก ไม่ พุทโธนี้เป็นคำบริกรรมจิตเราต่างหากเป็นความจริง เอาจิตเกาะไว้ เอาจิตเกาะไว้ให้จิตมันแสดงตัว ให้มันมั่นคงของมัน ไม่ใช่ว่าคำบริกรรมนี้จะเป็นจะบันดาลอะไรให้เรา ไม่ได้ งั้นคำว่าพุทโธกับมรณานุสสติมันต่างกันไหม คิดถึงความตายเนี่ย คิดถึงความตายไปเนี่ย

คิดถึงความตายมันจะสลดหดหู่เข้ามาเพื่อเป็นตัวของมัน แล้วพุทโธ ๆ ๆ เนี่ยเห็นไหม คำว่าพุทโธ ฉะนั้นว่า ถ้าบอกว่าคำบริกรรมมันเป็นเพชร แล้วเราจะทิ้งมันทำไม แล้วเวลาพุทโธ ๆ มันหายเนี่ย หายยังไง เวลาจิตเข้ามาเนี่ย เพราะจิตเป็นตัวจริง จิตเป็นตัวจริง จิตเป็นสมาธิ จิตยังไม่เป็นสมาธิไม่ได้ มันเข้ามาถึงตัวมันเองไม่ได้ มันต้องอาศัยคำบริกรรม

ถ้าไม่อาศัยบริกรรมมันมีจุดยืนไม่ได้ มันมีหลักการไม่ได้เพราะมันเป็นนามธรรม เหมือนไอน้ำเหมือนอากาศเนี่ย เราจะรวบรวมมันอย่างไร จิตเราเนี่ยเป็นนามธรรมจะให้ตั้งมั่นอย่างไร พอตั้งมั่นถึงเป็นสมาธิ งั้นถึงบอกว่า คำบริกรรมจะเปลี่ยนเมื่อไหร่ ถ้าเราคิดอย่างนั้น เราจะบอกว่า เหมือนกับเกียร์หนึ่ง เร่งเท่าไหร่ถึงใส่เกียร์สอง เร่งเท่าไหร่ใส่เกียร์สาม มันอยู่ที่ความชำนาญนะ มันอยู่ที่ความพอสมควร นี้คำบริกรรมเนี่ยเพราะไม่ถูกจริตกับเรา นี่พูดถึงคำว่าจริต จริตมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง จริตคือความชอบ จริตคือความชอบ แล้วไอ้คำบริกรรม ไอ้วิธีภาวนาเนี่ยมันเป็นกรรมฐาน ๔๐ ห้อง ที่พระพุทธเจ้าวางหลักเกณฑ์ไว้ให้เราเพื่อเราบำรุงจิตใจของเราขึ้นมา พอบำรุงจิตใจของเราขึ้นมาจนมันมีหลักมีเกณฑ์แล้วนี่เราจะวิปัสสนาเราจะใช้ปัญญานั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ถาม: ขออุบายในการปฏิบัติหรือการคิดเมื่อรู้สึกโกรธเคืองไม่พอใจ

ตอบ: สิ่งนี้เวลาดูแล้วนี่ มันเป็นเรื่องพื้น ๆ แต่ความจริงมันเป็นเรื่องใหญ่มาก เป็นเรื่องใหญ่เพราะอะไร เวลาโกรธเคืองไม่พอใจสิ่งต่างๆ นี่ คำว่าไม่พอใจมันมาจากไหนล่ะ มันมาจากใจทั้งหมดเลย ถ้ามันมาจากใจทั้งหมดเลยเนี่ย เวลาโกรธเคือง เวลาไม่พอใจเพราะมันเป็นผลไปแล้ว มันเป็นผลไปแล้ว แล้วใจมันอยู่ไหนล่ะ คำว่าไม่พอใจ เพราะใจมันโดนมารไง โดนมารเห็นไหม เหมือนกับจริตนิสัยของคน ถ้าจริตนิสัยคนโดนอะไรไปกระทบมันเนี่ย มันจะรุนแรงมาก

แต่ถ้าสิ่งที่มันพอใจหรือสิ่งที่มันไม่เกลียด ไม่ขัดขวาง มันโดนอยู่ตลอดเวลามันก็ไม่มีความรู้สึกเห็นไหม ทีนี้พอมันไม่มีความรู้สึก เราจะบอกว่าสุดท้ายแล้วมันก็ไปลงที่กิเลสไปลงที่ใจนั้น ถ้าลงที่ใจนั้นนะ อุบายวิธีการปฏิบัติเราใช้อุบายนี้มาตลอด เราใช้อุบายเวลามีสิ่งใดเกิดขึ้นมานะ เพราะเราเองนี่ เรายังไม่ทันตัวเรา เรายังควบคุมตัวเราไม่ได้หรอก เราจะบอกว่าเราไม่โกรธ เราจะไม่อยากไปขัดเคืองเขานี่ เราพูดไปนี่มันเป็นคำพูดจากข้างนอก เหมือนกับครูสอนนักเรียนเป็นอย่างนั้นนะ เป็นอย่างนั้นนะ ทำได้ไม่ได้อีกเรื่องหนึ่งเลย

นี่ก็เหมือนกัน ต้องประพฤติดี ต้องทำความดีนะ แต่กิเลสมันอยู่ในใจ กิเลสมันอยู่ในใจ ฉะนั้นอุบายของเรานะ เราจะบอกเลยเวลาเราปฏิบัติเราใช้อุบายของเราสรรพสิ่งในโลกนี้เขาเป็นญาติเราโดยธรรม คิดว่าเป็นญาติเป็นพี่เป็นน้องเลยล่ะ ถ้าพี่น้องเราทำอย่างนี้ล่ะ ใช่ พี่น้องมันก็มีปัญหากันอยู่ แต่ถ้าพี่น้องทำอย่างนี้ ด้วยคำว่าสายเลือดเราก็เบาลง ต้องหัดฝึกความเมตตาไว้ เราคิดอยู่ตลอดให้เป็นญาติเป็นพี่น้องเรา ถ้าเป็นญาติพี่น้องหรือเป็นเรา ถ้าเราทำอย่างนั้นล่ะ ๆ เราไม่พอใจเราทำอย่างนั้นเราจะพอใจไหม เนี่ยเพราะว่าเป็นเรา หรือเป็นคนใกล้ตัวเรา ความโกรธอย่างนี้มันจะเบาลง

การที่จะต่อสู้กับความโกรธเคือง ความไม่พอใจได้นี่ เขาเรียกความเมตตา ให้แผ่เมตตาไว้ เวลาเราสวดมนต์สวดพรเราแผ่เมตตาเนี่ย แผ่เมตตาก็เพื่อแบบนี้ไง แผ่เมตตาแผ่เมตตาเพื่อให้จิตใจเราเมตตาเปิดกว้างอะไรที่มากระทบกระเทือนเรานี่ กระทบกระเทือนเรา เรามีสติควบคุมได้ แต่ถ้าเราไม่มีสตินะ เราไม่มีสติเลยเวลามันกระทบกระเทือนเรานี่ โห มันจะรุนแรง มันรุนแรงนะความโกรธอยู่ที่โทสะจริต แล้วมันก็อยู่ที่โทสะ

เราเคยศึกษาเรื่องนี้เรื่องพืชสมุนไพร เรื่องพืชสมุนไพรนะเขาบอกว่า ธาตุสี่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ คนจะมีปัญญานี่ ส่วนใหญ่เป็นธาตุไฟ ถ้าคนเป็นธาตุดินนี่ ธาตุดินนะดินมันจะแบบว่า พูดทางโลกก็บอกว่า สมองจะช้าหน่อย คิดไม่ค่อยทันคนแต่ร่างกายจะแข็งแรง แต่คนเป็นธาตุไฟ ธาตุไฟเนี่ย ภาษาเราว่าเป็นคนฉุนเฉียว เป็นคนที่อารมณ์รุนแรง แต่ แต่ปัญญาไว เพราะมันเป็นธาตุไฟ ธาตุไฟมันได้ประโยชน์กับสมองได้อยู่กับความคิดใช่ไหม แต่ แต่ไฟ ไฟก็กลับมาเผาเราไง ไฟก็กลับมาเผาเราไง เราจะไม่โกรธเลยเราจะไม่มีอารมณ์ไม่มีความรู้สึกเลยนี่ ธาตุดิน ธาตุดินเย็น แต่ธาตุดินสมองจะไม่ดี ถ้าสมองดีนี่ นี่พูดถึงเรื่องของ เรื่องของพืชสมุนไพรที่เขาใช้สถิติมานะ

แต่ถ้ามาพูดถึงเรื่องเวรเรื่องกรรมล่ะ ๆ เรื่องอำนาจวาสนาล่ะ ทีนี้มันหลากหลายนะ คนคนหนึ่งมันมีแง่มุมให้วิเคราะห์ได้เยอะมากเลย นี้ถ้าแง่มุมให้วิเคราะห์ได้เยอะมาก แง่มุมอย่างนี้มันมาจากไหน ฉะนั้นแง่มุมอย่างนี้ ผล สถิติหรือข้อมูลของมันอยู่ที่ใจทั้งหมด หลับตาแล้วพุทโธ ๆ ๆ เข้าไปนะ ถึงตัวใจนี่มันจะไปเปิดเลย เหมือนหนังสือ ชาติที่แล้วชาติก่อนชาติต่อไป เหมือนเปิดหนังสือเลย นี้เปิดหนังสือ แล้วหนังสือไม่มีจะเปิดยังไง เปิดใจ ถ้าเปิดใจแล้วข้อมูลมันอยู่ที่นี่ ข้อมูลมันอยู่นี่ทำไมเป็นจริตนิสัยล่ะ ทำไมเป็นอำนาจวาสนาล่ะ

เนี่ยข้อมูลมันอยู่นี่แต่จิตเรามันลงไม่ได้ จิตเราลงไม่ถึง ถ้าลงได้ลงถึงถ้าไปเห็นข้อมูล ถ้าไปเห็นข้อมูลนะว่ามันเป็นเวรเป็นกรรมเราจะโกรธเคืองเขาไหม เราจะไม่โกรธเคืองใคร เราจะไม่พอใจใคร แต่นี่ข้อมูลมันไม่ถึง พอข้อมูลไม่ถึงมันก็เป็นเรื่องของขันธ์๕ เป็นเรื่องของสามัญสำนึกของเปลือกใช่ไหม สามัญสำนึกเนี่ย เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์ พอเราเกิดเป็นมนุษย์เนี่ย เรามีอำนาจวาสนา พอมีอำนาจวาสนาปั๊บเนี่ย เราศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ทางโลกเนี่ย ศักดิ์ศรีของมนุษย์ ทำไมของมนุษย์เนี่ยทุกอย่างต้องเสมอภาค แล้วมันไม่เกี่ยวกับเรื่องกรรมแล้วนะ พอไม่เกี่ยวกับเรื่องกรรม กรรมเวรของใครไม่รู้ ต้องสิทธิเสมอภาค ไม่มีทาง เป็นไปไม่ได้หรอก ถ้าสิทธิเสมอภาคเนี่ย ดูสิรัฐบาลเขาให้เบี้ยยังชีพคนแก่นี่ คนแก่ต้องได้เท่ากันเดะ ทำไมคนแก่ที่ได้ลงทะเบียนควรจะได้คนแก่ที่ไม่ลงทะเบียนอด แล้วศักดิ์ศรีมนุษย์มันอยู่ที่ไหน ศักดิ์ศรีของมนุษย์ก็มันบัญญัติขึ้นมา มันสามัญสำนึกพวกลงทะเบียนมันมีข้อมูลมันถึงได้รับเบี้ยยังชีพนี้ แล้วคนเหมือนกันแต่ไม่ได้ลงทะเบียน เพราะเขาตกสำรวจ เขาเป็นมนุษย์

ทำไมเขาไม่ได้เบี้ยยังชีพล่ะ ย้อนกลับมาที่กรรม ถ้าย้อนกลับมาที่กรรมเห็นไหม เนี่ย สิ่งที่ว่าศักดิ์ศรีของเราหรือความเป็นมนุษย์ต่าง ๆ เนี่ย ศักดิ์ศรีอันนี้มันไปกระตุ้นให้เราโกรธไง มันกระตุ้น ก็มนุษย์เหมือนกันเราก็ศักดิ์ศรีเหมือนกันทำไมเขาทำเรา แต่มันไม่ได้พูดเรื่องกรรม เห็นไหม สมเด็จโตท่านบอก ไม่ใช่คนที่ทำเขา คนที่รังแกคนนี้ทำก่อนนะ ท่านบอกว่าไอ้คนโดนทำทำเขาก่อน โดนทำทำเขาก่อนทำเมื่อไหร่ ทำเมื่อชาติที่แล้ว ชาติที่แล้วเราไปทำเขาไว้ แล้วพอชาตินี้พอเราโดนทำขึ้นมา

นี้คำว่าชาติอย่างนี้ปั๊บ พูดแบบว่าเลื่อนลอยเกินไป แล้วพวกเราไม่ยอมรับหรอก ว่าชาติที่แล้วจะมีผลอย่างนี้มันจะให้ผลต่อเมื่อความสุขความทุกข์ไง ความสุขความทุกข์ความเข้าใจความรู้สึกอันนี้ ถ้ามันรู้สึกถึงความรู้สึกอันนี้ เห็นไหม มันเหมือนในชาติปัจจุบันนี้ คติความดำรงชีวิตของเรา หรือการดำรงชีวิตของลูกศิษย์ที่มาหาเราเนี่ย เราบอกว่ามันอยู่ที่การกระทำ เราอยากจะมีชีวิตที่ราบรื่น

เราอยากมีชีวิตที่ไม่มีความกระทบกระเทือน เราก็ต้องควบคุมเราไม่ให้ไปทำร้ายเขา ไม่ให้เรานี่ไปพูดให้ขัดแย้งกับใคร ชีวิตเราก็จะไม่บาดหมาง แต่ถ้าเราควบคุมชีวิตของเราไม่ได้ ชีวิตของเรานี่มันไปกระทบกระเทือนใคร สิ่งที่กระทบกระเทือนใครสิ่งที่ตอบสนองมา เราเสียใจอย่างนั้นทำไมเพราะเรากระทำเอง เห็นไหม ดูที่กรรมสิ กรรมคือการกระทำ ไม่ต้องชาติที่แล้วชาติปัจจุบันเนี่ย แล้วถ้าเราดำรงชีวิตยังไง เราเป็นคนยังไงผลตอบสนองมันกลับมาหาเราทั้งนั้น เพราะเราเป็นคนทำออกไป

ในภาคปัจจุบันมันยังเป็นอย่างนี้ งั้นถึงบอกสิ่งใด ที่มันตอบสนองกลับมาหาเราไม่ต้องเสียใจเลย เราจะพลั้งเผลอ หรือว่าเราคิดไม่ถึงรู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำสิ่งใดไป สิ่งนั้นให้ผลทั้งนั้น เพราะเราทำให้ใครไม่พอใจ เขาจะพอใจเราไหมเขาก็ไม่พอใจเราทั้งนั้น เราทำโดยที่เราคาดไม่ถึง เรารู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่เขากระเทือนใจแล้ว เนี่ยสิ่งนี้มันก็ตอบกลับมา นี้พูดถึงผลในปัจจุบันนะ แล้วผลที่มันเป็นเวรเป็นกรรมล่ะ นี้ผลที่เป็นเวรเป็นกรรมเนี่ย ทีนี้เรื่องศาสนาพุทธมันสอนตั้งแต่ เวรกรรมมา

แล้วในกรรมปัจจุบันนี้ พระพุทธเจ้าถึงสอนว่า ถ้าเราเกิดมาแล้วให้เชื่อธรรมเพราะพวกเรานี้ยังตาบอดเราไม่เข้าใจสิ่งนี้ใช่ไหมแต่พระพุทธเจ้าบุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ ตั้งแต่อดีต ตั้งแต่อนาคต แล้วปัจจุบันนี้ อาสวักขยญาณ ทำลายแล้วนี่ ท่านเข้าใจเรื่องอย่างนี้หมด พอเข้าใจอย่างนี้หมดสอนพวกเราเอาไว้ เราถึงยึดหลักนี้ เป็นหลักดำรงชีวิตไง ถ้ายึดหลักนี้ดำรงชีวิต กิเลสมันไม่ยอม เวลาเราทำสิ่งใดเห็นไหม ไม่ได้ ไม่ยอม เราแพ้เขา ศักดิ์ศรีเราโดนเขาทำลาย ศักดิ์ศรี

ทีนี้พระพุทธเจ้าถึงสอนไว้ว่า แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร แพ้เป็นพระเห็นไหม แพ้เป็นพระ ทีนี้คำว่าแพ้พวกเรายอมรับไม่ได้ว่าแพ้เป็นพระ ไม่ยอมรับคำว่าพ่ายแพ้ เราต้องชนะเขา ชนะคือมาร กว่าจะชนะกันมันต้องมีเหตุปัจจัยขึ้นมา การทำให้เราชนะเขา แต่ถ้าแพ้ล่ะ แพ้โดยที่ไม่มีศักดิ์ศรีเลยนี่ มันเป็นแพ้แบบคนที่ไม่เข้าใจ แต่คำว่าแพ้เป็นพระเรานี่ เราไม่ใช่แพ้เขา พระคือผู้ประเสริฐ เราประเสริฐเพราะเราเข้าใจในสัจธรรม พอเราเข้าใจในสัจธรรมเห็นไหม การกระทบกระเทือน การสร้างกรรมเนี่ย เราจะไม่สร้าง เราจะทำคุณงามความดีของเรา สิ่งใดที่เรากระทบกระเทือนขึ้นมาเนี่ย เรารับได้ เรารับได้

พอเรารับได้นะก็แค่นั้นก็จบ เนี่ยแพ้เป็นพระ เราเข้าใจหมด เหมือนกับเราเข้าใจสถานการณ์ทั้งหมด เราเป็นคนคุมสถานการณ์เห็นไหม พระพุทธเจ้าสอนไว้เยอะมากเลยธรรมเนี่ย จะยกแง่ไหนก็ได้ เวลายกแง่เห็นไหม คนเขาโกรธเรา แล้วเขามาทำลายเรา ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะเราคุมได้หมดเลย แต่ถ้าเรามีอารมณ์โกรธตอบแล้วเรามีการปะทะกัน เราโง่กว่าคนที่โกรธมานี่สองเท่า ท่านบอกไม่ให้โกรธตอบ ไม่ให้มีอารมณ์ตอบสนองเขา แต่เราให้มีสติปัญญาของเรา แล้วควบคุมสถานการณ์นั้น ควบคุมสถานการณ์นั้นเห็นไหม ถ้าควบคุมสถานการณ์นั้นได้ เห็นไหม แพ้เป็นพระเราควบคุมสถานการณ์ได้หมดเลย แล้วเราไม่สร้างเวรสร้างกรรมด้วย ผู้ประเสริฐไง

พระผู้ประเสริฐไม่สร้างเวรสร้างกรรมกับจิตดวงนี้ จิตดวงนี้ยังเกิดยังตาย มันมีเวรกรรม ขนาดปัจจุบันก็ทุกข์ขนาดนี้ สิ่งที่ทุกข์ขนาดนี้ เพราะเราตามืดบอด เราถึงได้สร้างเวรสร้างกรรมมา แล้วปัจจุบันนี้ถึงจิตใจนี้ยังไม่เปิด เปิดกว้าง จิตใจนี้ยังไม่เข้าใจสัจธรรม แต่เราก็เป็นชาวพุทธ เราก็ประพฤติปฏิบัติ เรามีครูมีอาจารย์เห็นไหม ครูบาอาจารย์ของเราทำมาเป็นตัวอย่าง คำว่าตัวอย่างนะ หลวงตาท่านพูดซึ้งมาก เพราะเราไปศึกษา เราไปดูตามประวัติต่าง ๆ ที่เขาจดจารึกไว้นี่ ว่าหลวงปู่มั่นเห็นไหม ตอนที่ไปอยู่อุบล โดนสมเด็จหรือ เจ้าคณะจังหวัดจับเห็นไหม ทั้งจับทั้งกลั่นแกล้งทั้งอะไรเนี่ย เวลาหลวงตาท่านมาเขียนในประวัติหลวงปู่มั่น ไม่มีเรื่องอย่างนี้เลย

เรื่องที่หลวงปู่มั่นออกประพฤติปฏิบัติกับหลวงปู่เสาร์ แล้วออกไปนี่มีโดนเสียดสี โดนที่เขากลั่นแกล้งทำลาย เขาไม่ต้องการให้เกิดขึ้นมาเนี่ย เขารังแกมากนะ แล้วหลวงตาท่านบอกว่าหลวงปู่มั่นนะขนาดที่ว่าอยู่อุบลไม่ได้ เขาสั่งไม่ให้ใส่บาตร หนีมาสกล หนีมาตลอด เขาสั่งไปว่าห้ามใส่บาตร ๆ แม้แต่ไม่ให้ใส่บาตรแล้วพระอยู่ได้ยังไง นี่คำสั่งนี้มันก็อยู่ในพระในเมืองใช่ไหม หลวงปู่มั่นเวลาท่านมา ท่านไปอยู่ในป่าในเขา ในป่าในเขาคนชนบทเขาไม่รู้หรอก เขาเห็นพระมาก็คือพระเขาก็ใส่ของเขา แล้วเวลาท่านเอามาเล่าให้หลวงตาฟัง เล่าให้ครูบาอาจารย์ฟัง หลวงปู่มั่นท่านพูดด้วยเป็นคติธรรม

ท่านไม่มีความเสียใจน้อยใจ ท่านไม่เคยคิดว่าใครทำรังแกแล้วท่านจะไปคิดอะไร ไม่มีเลย แพ้เป็นพระ แพ้เป็นพระ แต่เวลาท่านทำประโยชน์กับพระศาสนา ประโยชน์กับ เห็นไหม หลวงตาบอกว่า หลวงปู่มั่นท่านบอกว่าท่านไม่เคยได้พักเลย ท่านทำประโยชน์กับเทวดา อินทร์ พรหม มากกว่าทำกับมนุษย์ ถ้ากระทำนึกดูสิ ตั้งแต่หลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว ลงมานี่ ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นทั้งนั้น ท่านสร้างมนุษย์ให้เป็นพระอรหันต์ ท่านทำมาเพื่อให้ศาสนามั่นคง

ท่านบอกว่าท่านสร้างประโยชน์ให้กับมนุษย์น้อยกว่าท่านสร้างประโยชน์ให้กับเทวดา อินทร์ พรหม น้อยกว่า เห็นไหม เพราะเทศน์ทุกคืน คนมาหามากมาย เทวดามาเป็นชั้น ๆ ๆ จนเทศน์ไม่ไหว จนต้องให้ลูกศิษย์นะ ให้หลวงปู่ชอบ หลวงปู่ฝั้นรับแทน แล้วหลวงปู่ชอบ หลวงปู่ฝั้นท่านมาหาหลวงปู่มั่น เมื่อคืนเทวดามาบอกว่าอาจารย์ให้ไปหาผมจริงหรือเปล่าครับ แน่ะ ขนาดว่ารับมันหลายคณะมากจนผ่อนถ่ายไปให้ลูกศิษย์รับแทนนะ นี่เวลาท่านสร้างประโยชน์ นี่ย้อนกลับมาที่ว่า คำว่าแพ้เป็นพระไง ท่านไม่มีผล ไม่มีความอาฆาต ไม่มีความเจ็บปวดเจ็บใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น มันก็เป็นเวรเป็นกรรมของคนทำ แล้วขณะที่ทำขึ้นมานี่

เราทำสิ่งใดที่ว่ามันขัดหูขัดตาเขา เพราะพระเขาอยู่วัดอยู่วา ไอ้นี่พระบวชขึ้นมาแล้วก็ออกป่าออกเขา ออกไปประพฤติปฏิบัติ มันแหวกแนวในความรู้สึกของสังคม ถ้าสังคมเขาเข้าใจไม่ได้ เห็นไหม กาลเวลานี่ ถ้าเราทำดีขึ้นมาสังคมเขาเข้าใจของเขาขึ้นมากันเอง เนี่ย พูดว่าแพ้เป็นพระ เห็นไหม คุมสถานการณ์ทั้งหมดเลย แล้วผลเป็นยังไง ผลว่าหลวงปู่มั่นท่านสร้างบุคคลากรในศาสนาไว้มากมายขนาดไหน ท่านสร้างสังคมให้สังคมเชื่อถือศรัทธา ให้สังคมมีมุมมองอย่างหนึ่งเลย แต่สมัยก่อนนั้น ก่อนที่หลวงปู่มั่นจะประพฤติปฏิบัติมันไม่มี แล้วใครปฏิบัติขึ้นมานี่ ใครจะเชื่อถือศรัทธา

ท่านใช้ชีวิตของท่านนะหมดไปแล้วหนึ่งชีวิต แล้วชีวิตของหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นล่ะ ชีวิตของหลวงปู่ฝั้น กับครูบาอาจารย์อีกชุดหนึ่ง เนี่ยแล้วหลวงตานะ ครูบาอาจารย์อีกชุดหนึ่ง แล้วพวกเรานี่อีกชุดหนึ่ง สามสี่ชั่วอายุคนนะ สามสี่ชั่วอายุคนในการประพฤติปฏิบัติ จากคำว่าแพ้เป็นพระ พระคือผู้ประเสริฐ ประเสริฐจากในหัวใจ ประเสริฐจากความรู้จริงอันนั้น ฉะนั้น เราเอาหลักเกณฑ์อันนี้ เราเอาหลักเกณฑ์อันนี้ ทีนี้เพียงแต่ว่าเวลาหลวงตาท่านพูดนะ ท่านเวลาท่านพูด เห็นไหม ให้สมานสามัคคีให้ต่าง ๆ แล้วเวลาท่านเอ็ดพระเอ็ดอะไรนี่ ท่านบอกว่าเวลาพูดถึงสมานสามัคคีพูดถึงความเป็นจริง ให้เราให้อภัยต่อกันแต่เวลามันมีความผิดความถูกของผู้นำเห็นไหม

ผู้ที่ต้องตัดสินผู้ที่ต้องแก้ไขเหตุการณ์นั้น ท่านก็ออกมา เวลาท่านพูด เห็นไหม เวลาท่านพูดถึงความสมานสามัคคี สังคมต้องสามัคคีกันหมด เวลาท่านออกมาเนี่ย เป็นสามัคคีไหมล่ะ เวลาท่านออกมาท่านออกมาจัดการสังคม สังคมที่มีมุมมองผิด มีความเห็นผิดให้เข้าสู่ระบบความถูกต้อง อันนั้นเวลาเราทำงานเนี่ย คือความกล้าหาญของหัวใจที่เวลามันมีเหตุการณ์วิกฤตขึ้นมา เราต้องออกไปจัดการ ถ้าออกไปจัดการนะ พอออกไปจัดการสร้างกรรมไหม สิ่งที่เขาจะทำเวรทำกรรมของเขา แล้วเขาไม่ได้ทำสมดังใจของเขาเนี่ย เขาจะมีความ มีความเจ็บปวดของเขาไหม เขาต้องมีความบาดหมางในใจของเขาไหม อันนั้นเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ เพราะ เพราะสังคมส่วนใหญ่ เพราะสังคมส่วนใหญ่ ความสงบสุขของสังคม มีคนมีความเห็นผิดบ้างเล็กน้อยที่เขาจะให้สังคมนั้นให้มันเปลี่ยนแปลงไป เราออกมาแก้ไขสิ่งนั้น นี่คือถึงเวลาจำเป็นเห็นไหม

ถ้าจะบอกว่าเราจะต้องไม่ทำสิ่งใดเลย แพ้เป็นพระ ๆ ใช่ แพ้เป็นพระขณะที่เราฝึกใจเรา เราฝึกใจเรา เราแก้ไขใจเรา เพื่อให้เราเป็นคนดี แต่ขณะที่สังคม หรือสิ่งต่างๆ เขาต้องการความช่วยเหลือจากผู้ที่มีวุฒิภาวะที่มองสังคมออกนะเรามองเรื่องเวรเรื่องกรรม เรื่องความเป็นไปของโลกออก เราจะแก้ไขสิ่งนั้นได้ ถ้าวุฒิภาวะของเรา สายตาของเราไม่ถึงนะ เราไปมองว่าสังคมที่เขาจะเจริญนั้นเป็นสิ่งที่เสื่อมทราม แล้วเราไปทำให้สังคมเสื่อมทรามคิดว่ามันเจริญเห็นไหม นี่มุมมองผิด แต่ถ้ามุมมองมันถูกนะ เขายกขึ้นมาเขาทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ แล้วสิ่งที่เป็นประโยชน์นั้นเห็นไหม หัวใจของสัตว์โลกมีคุณค่าที่สุด

ถ้าสัตว์โลกเห็นไหม พวกเรา มีหัวใจที่เป็นธรรม มีหัวใจที่เป็นสาธารณะ มีหัวใจที่เป็นประโยชน์กับโลก โลกจะมีความสุขขนาดไหน แต่ถ้าโลกเขาไม่เข้าใจ เห็นไหม ดูสิ สังคมของผู้ที่เห็นแก่ตัว เขาบอกผลประโยชน์ของเขา คือความดีของเขา แล้วเราบอกว่าให้เสียสละกับสังคมเพื่อประโยชน์กับสังคมกับเราเนี่ยเขามองไม่เห็นหรอก เวลาถ้าสิ่งที่ ทิฐิมานะหรือทิฐิหรือจริตที่แตกต่างกัน เขาไม่เห็นเราหรอกในการประพฤติปฏิบัติของเรา เห็นไหม เวลาเนี่ย สัปปายะสี่ อาจารย์เป็นสัปปายะ สถานที่เป็นสัปปายะ อาหารเป็นสัปปายะ หมู่คณะเป็นสัปปายะ

หมู่คณะเป็นสัปปายะ มีความเห็นทิฐิเสมอกัน มีความเห็นมุมมองเสมอกัน มีความเห็นหลากมีความที่จะเกื้อกูลกัน เห็นไหม เป็นสัปปายะ ต้องแสวงหานะ เราคิดว่า ถ้าเข้าไปในสังคมสงฆ์ สังคมพระ พระต้องเกื้อกูลกันหมด ยังไม่เข้าใจหรอก ต้องเข้ามาในวงปฏิบัติจะเข้าใจเลย เนี่ย คนที่จะสัปปายะ คนที่จะเกื้อกูลน่ะ เหมือนกับผู้ใหญ่เหมือนกับคนที่สูงกว่าชักนำคนที่ต่ำกว่า คนที่ต่ำกว่า คนที่มีปัญญาที่ด้อยกว่าเห็นไหม ปัญญาที่ด้อยกว่าเนี่ย มันจะรู้ปัญญาอย่างนั้นได้อย่างไร เห็นไหม เวลาเราพูดบ่อยมากว่า มันคนละมิติเลย

มิติของปัญญาทางโลกกับมิติปัญญาของธรรม แล้วมันมิติของโสดาบัน สกิทาคา อนาคา เนี่ย มันคนละมิติเลย คนละมิติเลย มันลึกซึ้ง หยาบ ละเอียด แตกต่างกันมากนัก แล้วลึกซึ้งแตกต่างกันมากนัก แต่เวลาพูดคือคำว่าปัญญา ปัญญาคำเดียว แต่ปัญญาของใคร ปัญญาขั้นตอนไหน แล้วปัญญาลึกซึ้งอย่างไร บอกว่าปัญญา ๆ ก็ใช้ปัญญาแล้วไง ทุกคนจะอ้างว่าก็ใช้ปัญญา ปัญญาคือความคิดไง ปัญญาคือโลกไง แต่ปัญญาของใจ ปัญญาเกิดจากการชำระกิเลส ปัญญาเกิดจากภายใน อันนั้นผู้รู้ แล้วถ้าคนไม่รู้ เวลาเข้าไปนะเหมือนกับเราไปอยู่ในโลกคนต่างดาวเลย มันเป็นคนแปลกมนุษย์เลย ฉะนั้นเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาถึงบอกว่า จะสอนใครได้อีกหนอ ใครจะรู้ได้หนอ ใครรู้ไม่ได้หรอก งั้นถ้าใครรู้ได้จิตมันจะลง จิตจะเข้าสมาธิ เข้าถึงฐาน แล้วไปแก้ไขตรงที่ฐานนั้น ถึงจะเป็นอริยบุคคล โสดาบัน สกิทาคา อนาคา จนถึงสิ้นสุดแห่งทุกข์เห็นไหม สมาธิถึงสำคัญอย่างนี้ไง การเข้าสู่จิตถึงสำคัญอย่างนี้ไง แต่เขาบอกสมถะไม่สำคัญ สมถะไม่สำคัญ ไม่ต้องทำ ใช้ปัญญาไปเลย เลยเป็นปัญญาโลก เป็นปัญญาที่เป็นสัญญา เป็นปัญญาลักษณะจำ ไม่ใช่เป็นปัญญาลักษณะจริงเกิดจากการวิปัสสนา เอวัง